ยกสูง โหลดเตี้ย มีผลอย่างไรกับรถบ้าง?
article created at icon11/07/61

|

อ่านแล้ว 1,291 ครั้ง

ยกสูง โหลดเตี้ย มีผลอย่างไรกับรถบ้าง?

แต่งรถยกสูง โหลดเตี้ย มีผลเสียมากกว่าสวย

 
      สำหรับคนไทย การดัดแปลงรถยนต์ ให้กลายเป็นรถทรงเตี้ย หรือ ทรงสูง เป็นที่นิยมมาก เพื่อปรับหน้าตาของรถให้เปรียบเสมือนรถแข่งในรูปแบบที่เจ้าของรถปรารถนา แต่หากคุณเพิ่งมีรถใหม่แล้วต้องการจะปรับเปลี่ยนเป็นรถโหลดเตี้ย หรือยกสูง มาดูข้อดีข้อเสียกันก่อน เมื่อเทียบกันแล้ว ข้อเสียอาจจะมีมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ ก่อนอื่นมาฟังนิยามของรถโหลดเตี้ย ยกสูง กันก่อน ว่าเป็นอย่างไร
 
 
แต่งรถยกสูง โหลดเตี้ย ส่งผลแบบไหนต่อตัวรถ
 

นิยามของรถโหลดเตี้ย – ยกสูง

 
รถโหลดเตี้ย : คือ รถยนต์ที่ระยะห่างจากกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนน ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร
รถยกสูง : คือ รถยนต์ที่ระยะห่างจากกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนน มากกว่า 135 เซนติเมตร
 
จากข้อมูลส่วนใหญ่ คนที่ชื่นชอบรถโหลดต่ำ บอกว่ารถยนต์จะมีสมรรถนะในการเกาะพื้นถนนได้ดีกว่า ซึ่งหากเป็นรถแข่งก็คงจะเป็นเช่นนั้น แต่ในกรณีที่เป็นรถยนต์สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวัน ฟังแล้วอาจจะไม่อยากเอารถไปทำให้เตี้ยลงเลยจริง ๆ
 

5 ข้อเสีย ของรถโหลดต่ำ

 

1. ช่วงล่างพังง่าย
 
ยังไม่เกี่ยวกับลูกระนาด การที่รถโหลดต่ำถูกขับออกนอกถนน แรงกระแทกต่าง ๆ อาจจะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกดัดแปลงยึดตัวรถกับ โช๊ค, ยาง, และลูกหมากศูนย์ถ่วงของรถค่อย ๆ ได้รับความเสียหายไปเรื่อย ๆ ถือว่าเพิ่มการทำงานให้กับส่วนยึดติดเหล่านี้ และหากรถยนต์มีระบุการดัดแปลงนี้ไว้ ก็จะมีผลต่อเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระทุกปี  (และหากความสูงน้อยกว่าที่ กรมการขนส่งทางบกกำหนด ก็ต้องปรับเปลี่ยนสภาพรถให้เหมือนรถปกติก่อนออกวิ่ง)
 
2. เกิดการกระแทกกับลูกระนาด
 
ลูกระนาดทำให้เกิดการกระแทกมหาศาล ทั้งตัวล้อ กันชน และอุปกรณ์ช่วงล่างที่เราต้องมาเสี่ยงดวงว่าจะขูดลากเอาชิ้นส่วนไหนไปกับความสูงของลูกระนาดนั้น เนื่องจากแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ก็กำหนดขนาดของลูกระนาดมาไม่เหมือนกัน บางที่ก็ชัน บางที่ก็นูน รถยนต์ปกติยังเสียหายกันมาแล้วนับประสาอะไรกับรถโหลดต่ำ
 
3. น้ำท่วมเสียหายง่ายกว่า
 
เมื่อจอดรถไว้ในซอยที่ง่ายต่อการถูกน้ำขังอยู่แล้ว เมื่อเจ้าของรถย้ายรถหนีไม่ทัน ต้องรองรับความเสี่ยงเจอน้ำท่วม ปล่อยรถแช่น้ำอยู่นาน ระดับน้ำอาจสูงเข้ามาในตัวรถ ทำให้รถได้รับความเสียหายหนัก
 
4. แรงปะทะเปลี่ยนมากลางรถ
 
เมื่อเกิดอุบัติเหตุสำหรับรถยนต์บางรุ่น แรงปะทะจะถูกเปลี่ยนมาอยู่ที่กลางรถ นั่นก็หมายความว่าผู้ที่อยู่ในรถมีโอกาสบาดเจ็บและสูญเสียมากกว่ารถยนต์ที่ไม่ได้โหลดต่ำ
 
5. ขึ้นลานจอดรถยาก
 
รถที่โหลดต่ำมีความเสียเปรียบเมื่อต้องขึ้นลานจอดรถที่ระดับความสูงของแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน รถบางคันด้านหน้าติดของแต่งรถ ล้อรถส่งความสูงให้การขึ้นเนินได้ไม่มากพอจึงต้องวนจอดอยู่แต่ชั้นล่าง
 
 

5 ข้อเสีย ของรถยกสูง

 

1. หลังคาติดหลังคาจอดรถ
 
อาคารจอดรถต่าง ๆ มีกำหนดระดับความสูงเพื่อป้องกันไม่ให้หลังคารถติดอยู่กับเพดานลานจอดรถ อย่างเช่น 1.5 เมตร / 1.8 เมตร แล้วแต่สถานที่ รถยนต์ที่เสี่ยงต่อการขูดกับอาคารจอดรถมากที่สุด คือ กระบะยกสูง
 
2. หลังคาติดที่กลับรถใต้สะพาน
 
นอกจากความสูงของหลังคารถยนต์ รถบางคันมีเหล็กสำหรับยึดบรรทุกสัมภาระเดินทาง ซึ่งที่กลับรถใต้สะพานบางแห่งก็จำกัดความสูงไว้เช่นกัน หากถอยรถทันก็ต้องค่อย ๆ ถอยออก แต่หากถอยไม่ทัน ก็ต้องใช้ตัวช่วยบริการรถลาก หรือ ปล่อยลมยางรถออกก่อนจึงจะเคลื่อนย้ายรถได้
 
3. อุปกรณ์ยึดต่อช่วงล่างพังเร็ว
 
ยกตัวอย่างอุปกรณ์ยึดติดช่วงล่างกับ ลูกหมาก โช๊ค เสี่ยงพังเร็ว เพราะต้องรับแรงกระแทกตลอดเวลา ที่มากขึ้นจากการออกแบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งหากคุณออกรถใหม่ป้ายแดงเพื่อมายกสูง ก็ไม่คุ้มเสี่ยง
 
4. ต้องเปลี่ยนยางเป็นขนาดใหญ่
 
เพราะยางเดิมต้องรับน้ำหนักมากขึ้น เนื่องจากรถต้องการแรงยึดเกาะที่มากขึ้นเมื่อขับขี่ หากใช้ยางขนาดเดิมจะพังเร็ว ทั้งยาง และอุปกรณ์ยึดติดช่วงล่างตามข้อ 3
 
5. เปลืองน้ำมัน
 
เมื่อรถต้องใช้ยางที่ใหญ่ขึ้น และรองรับกำลังยึดเกาะที่มากขึ้น การใช้พลังงานก็มากขึ้นไปด้วย  บางท่านที่เคยนำรถยนต์ไปยกสูงก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า รถกินน้ำมันมันขึ้น  ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นก็แล้วแต่รุ่นรถยนต์และของตกแต่งรถรุ่นนั้น ๆ ด้วย
 
 
ฟังอย่างนี้แล้วอาจจะรู้สึกไม่ดีกับการโหลดเตี้ย ยกสูง แต่อย่างไรก็ดีหากยังอยู่ในกฎหมายกำหนด บริษัทประกันภัยก็ยังรองรับให้ความคุ้มครองแก่รถของคุณอยู่ พี่หมีอยากให้ทุกคนปลอดภัยกับการใช้รถใช้ถนน ดังนั้นหากคิดจะดัดแปลงรถอยู่ล่ะก็ อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยของคนใช้รถเป็นที่ 1 นะครับ!
 
 
 READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา