ประมาทสองฝ่ายหรือประมาทร่วม ใครรับผิดชอบ
article created at icon21/08/63

|

อ่านแล้ว 3,312 ครั้ง

ประมาทสองฝ่ายหรือประมาทร่วม ใครรับผิดชอบ

ประมาทสองฝ่าย “หรือประมาทร่วม” ใครต้องรับผิดชอบกันแน่?

     ในทุกวันเรามักจะได้เห็นข่าวสารเกี่ยวกับ “อุบัติเหตุ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อุบัติเหตุทางรถยนต์” เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุเราจึงควรขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ประมาท และต้องมีแผนสำรองอย่างการซื้อประกันภัยรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา กรณีที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ คือ อุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ถูกตัดสินว่าเป็น “การประมาทร่วม”

“ประมาทร่วม” หมายถึงอะไร

     สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ความหมายของคำว่า “ประมาทร่วม” คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์และรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ชนกันหรือเบียดกันจนทำให้รถของทั้งคู่เสียหายยับเยินและทำให้คนขับและผู้โดยสารบาดเจ็บ ผู้ที่เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยอย่างตำรวจหรือตัวแทนประกันภัยได้ลงความเห็นว่าทั้งเราและฝ่ายตรงข้ามต่างประมาทและมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุทำให้รถยนต์ รถจักรยานยนต์เสียหายและต้องเจ็บเนื้อเจ็บตัวกันในครั้งนี้

ตัวอย่างอุบัติเหตุรถชนที่เกิดจากความประมาทร่วม

     ตัวอย่างกรณีประมาทร่วมที่เราพบกันได้บ่อย เป็นอุบัติเหตุที่เกิดบริเวณทางร่วมทางแยกที่ทั้งสองฝ่ายใจตรงกัน อยากไปทางเดียวกันไม่ได้นัดหมาย หรือขับขี่ด้วยความเร็วทำให้เบรคไม่ทัน จนเกิดอุบัติเหตุชนกับอีกฝ่าย ทั้งสองฝ่ายซึ่งอีกฝ่ายอาจจะเป็นมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ หรือในบางครั้งคู่กรณีก็มีมากกว่า 2 ฝ่ายขึ้นไปเรียกว่าเป็นปาร์ตี้ใหญ่ และอีกกรณีที่พบได้บ่อยคือรถยนต์กับรถยนต์ หรือ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ขับคู่กันมาแล้วเบียดหรือปาดกันไม่มีใครยอมใครทำให้เกิดความเสียหายคาเส้นถนนด้วยกันทั้งคู่ก็เรียกว่าเป็นการประมาทร่วมเช่นกัน

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์

     สิ่งที่ตามมาจากการขับขี่รถยนต์โดยประมาทแน่นอนว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของทั้งสองฝ่ายต้องเสียหายแน่นอน นอกจากนี้ยังมีความเสียหายที่อาจเกิดกับร่างกายจากแรงกระแทกทำให้บาดเจ็บหรือพิการและหากอุบัติเหตุรุนแรงอาจทำให้ร่างกายของผู้ขับขี่รวมถึงผู้โดยสารถึงขั้นเสียชีวิตก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว โชคดีที่ซ่อมแซมความเสียหายของรถยนต์ในกรณี “ประมาทร่วม” และค่ารักษาพยาบาลนั้นก็ในความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ที่ชาว Priceza ได้ทำเอาไว้นั่นแหละ โดยในแต่ละแบบก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันไป

ความคุ้มครองของประกันชั้น 1, ชั้น2 และ ชั้น3 ในกรณีประมาทร่วม

     ว่าด้วยหลักการตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด ประกับกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 2535 กล่าวคือ “ผู้ขับขี่รถฝ่ายที่กระทำความผิด หรือเป็นฝ่ายประมาท เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่เมื่อได้ทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประภัยจากรถไว้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อ ชีวิต ร่างกาย ของผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทรับประกันภัยจะทำหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประสบภัยจากรถทุกคน” ซึ่งแปลว่าถ้าทำประกันไว้ก็สบายล่ะ เพราะประกันจ่ายจ้า

     หากทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้ทั้ง 2 ฝ่าย การซ่อมแซมตัวรถสามารถเคลมค่าซ่อมรถยนต์ของตนเองได้จากบริษัทประกันภัยที่เราได้ทำไว้ แต่อาจไม่ได้ยอดค่าซ่อมทั้งจำนวนเนื่องจากเราทั้งสองฝ่ายผิดด้วยกันทั้งคู่ประมาทร่วมในอุบัติเหตุครั้งนี้ ส่วนค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ต่อชีวิต ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองของแต่ละบริษัท

แล้วในกรณีที่เราและคู่กรณีมีประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และชั้น 3 ล่ะ?

     ถ้าเป็นประกัน 2 แบบนี้ละก็ จะให้ความคุ้มครองค่าซ่อมแซมรถของอีกฝ่ายเท่านั้นและคู่กรณีต้องอยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อตัวแทนจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ไปถึงด้วย การซ่อมแซมตัวรถเราไม่สามารถเคลมค่าซ่อมรถของเราจากประกันที่เราทำไว้ได้ได้แต่ประกันภัยของฝ่ายตรงข้ามจะจ่ายค่าซ่อมรถให้เรา ส่วนค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บบริษัทประกันภัยรถยนต์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ต่อชีวิตของผู้ที่ประสบภัยรถยนต์ในครั้งนี้ตามเงื่อนไขและวงเงินคุ้มครองของแต่ละบริษัท

     หากโชคร้ายชาว Priceza ไม่ได้ซื้อประกันภัยรถยนต์ติดไว้เลย มีเพียงพรบ. หมายความว่าเราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถครั้งนี้ทั้งหมด และผู้โดยสารที่ไม่ใช่ผู้ขับขี่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เบื้องต้นคันละ 30,000 บาท

     ในบางครั้งมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทร่วม ญาติผู้เสียชีวิตไม่ยอมรับค่าสินไหมที่ตกลงกัน ถ้าเรามีประกันภัยรถยนต์ทางบริษัทประกันภัยจะจัดเตรียมทนายต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของเรา แต่หากไม่มีประกันภัยก็อาจต้องหาทนายด้วยตนเอง ค้นหาประกันรถยนต์ที่ใช่ เปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์ และ ความคุ้มครอง กับ TQM เพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในทุกการเดินทางของคุณและครอบครัว

 

READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา