ปวดหัวไมเกรนเกิดจากอะไร พร้อมอาการที่ใช่
article created at icon29/07/64

|

อ่านแล้ว 230 ครั้ง

ปวดหัวไมเกรนเกิดจากอะไร พร้อมอาการที่ใช่

    อาการปวดหัวข้างเดียว คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นอาการของ ไมเกรน ซึ่งนั่นไม่ผิด เพราะนั่นคือหนึ่งในอาการของโรคไมเกรน เพียงแต่อาจไม่เสมอไป เพราะบางคนอาจปวดหัวทั้ง 2 ข้าง วันนี้พี่หมี TQM จึงรวบรวม สาเหตุของโรคไมเกรน พร้อม อาการที่บ่งชี้แน่ชัดว่าคือ ไมเกรน อย่างแน่นอนมาฝากกัน
 
    ไมเกรน (Migraine) คือโรคหนึ่งที่เกิดจากระดับสารเคมีในสมองมีความผิดปกติชั่วคราว ส่งผลให้ก้านสมองถูกกระตุ้นจนเกิดการบีบตัวและคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ เมื่อหลอดเลือดแดงถูกเกิดอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง 
 
อาการไมเกรน
 

อาการไมเกรน เป็นอย่างไร

    ปวดหัวไมเกรนมักมีอาการเหล่านี้
  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวครึ่งซีก หรือปวดหัวข้างเดียว แต่บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้างพร้อมกัน หรือ ปวดแบบสลับข้างกัน
  • อาการปวดหัวตุ๊บๆ ตื้อๆ ส่วนมากจะปวดนานๆ ครั้ง หรือปวดนานเกิน 20 นาที แต่บางครั้งอาการรุนแรง อาจปวดเป็นวันๆ หรือสัปดาห์
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • บางรายปวดหัวรุนแรง และมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้
  • มีอาการแพ้แสงแพ้เสียง
  • บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ หรือที่เรียกว่า อาการออร่า (migraine aura) ผู้ป่วยจะเห็นเป็นแสงไฟสีขาว ๆ มีขอบหยึกหยัก เป็นอาการเตือนนำมาก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดหัว
สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวไมเกรน
 

สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวไมเกรน (MIGRAINE)

    สาเหตุหรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการของโรคไมเกรนกำเริบมากขึ้น ได้แก่
  1. แสงไฟสว่าง ไฟกระพริบ  หรือแดดจ้า
  2. อากาศที่ร้อนชื้น เช่น ช่วงก่อนฝนจะตก
  3. ภาวะเครียด
  4. การนั่งหน้าคอมหรือก้มหน้าใช้มือถือเป็นเวลานานๆ จนกล้ามเนื้อเกิดพังผืด กล้ามเนื้อคอตึง ซึ่งก็คือ อาการของโรคออฟฟิศซินโดรม และโรคฮิตติดมือถือ 
  5. การอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ
  6. การขาดการพักผ่อน หรือทำงานมากเกินไป
  7. การมีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว
  8. เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิด
  9. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
  10. อาหารบางชนิดที่กระตุ้นไมเกรน เช่น กล้วยหอม เนยแข็ง ช็อกโกแลต คาแฟอีน ผงชูรส อาหารที่ผสมไนไตรท์ เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม น้ำตาลเทียม
ยาไมเกรน
 

ยารักษาหรือช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน

    โรคไมเกรนสามารถรักษาและบรรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยา โดยจะต้องประเมินจากอาการ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
 
  1. ปวดหัวไมเกรนแบบปกติ แนะนำให้ทานยา พาราเซตามอล จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  2. ปวดหัวไมเกรนขั้นรุนแรง แนะนำให้ทานยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen และ ibuprofen เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ปวดหัวไมเกรนขั้นรุนแรง โดยสามารถทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร แต่อย่างไรก็ตามควรกินภายใต้คำสั่งของแพทย์ เนื่องจากยากลุ่ม NSAIDs สามารถมีผลข้างเคียงต่อตับและไตได้ หากกินติดต่อกันเกิด 4 - 10 เม็ดต่อเดือน
    นอกจากนี้ ยังมียากลุ่ม Triptan เช่น eletriptan และ sumatriptan เป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า กลุ่ม NSAIDs และให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการออกฤทธิ์ต่อสารเซโรโทนินในสมอง ช่วยให้หลอดเลือดในสมองหดตัว
 
    อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวไมเกรนจะไม่เกิดอันตรายต่อสมอง แต่ก็สร้างความรำคาญและรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้มาก แถมยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ ดังนั้น เมื่อรู้จักโรคนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ และปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาและทานยา นอกจากนี้พี่หมีขอแนะนำ ประกัน mobile syndrome ที่คุ้มครองค่ารักษาจาก 11 โรคฮิตจากการใช้มือถือ ได้แก่ อาการนิ้วล็อก,โรคเอ็นข้อมืออักเสบ,อาการอักเสบของกล้ามเนื้อมือหรือข้อมือ กระดูกสันหลังเสื่อม โรควุ้นสายตาเสื่อม หมอนรองกระดูกเสื่อม ภาวะกระดูกคอเสื่อม กระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท การอักเสบของกล้ามเนื้อคอ ไมเกรน และปวดศีรษะเรื้อรัง คุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ราคาเริ่มเพียง 999.-/ปี เพียงเท่านี้จะช็อปหรือจะแชทจนปวดหัว ก็ไม่กลัวเรื่องค่ารักษา สนใจประกันคลิกที่นี่เลย
 
ประกัน Mobile Syndrome
 

READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา