ป้ายจราจรหน้าตาแปลกๆ ที่ควรรู้จัก
article created at icon07/09/62

|

อ่านแล้ว 2,432 ครั้ง

ป้ายจราจรหน้าตาแปลกๆ ที่ควรรู้จัก

33 ป้ายสัญญาณ ที่สาวๆ ควรรู้ความหมาย

     ป้ายสัญลักษณ์สำคัญต่างๆ เมื่อประกาศใช้แล้วไม่ได้มีกฎหมายยกเลิกก็ยังถือว่ามีผลบังคับใช้อยู่ แม้ว่าจะไปเจอป้ายจราจรโบราณตามถนนที่ไม่คุ้นชิน ก็ยังคงต้องทำตามกฎจราจร และบางป้ายแม้เห็นกันบ่อย ๆ ก็ถูกเข้าใจผิด ๆ ซึ่งสาว ๆ ควรรู้ไว้เป็นทริคขับรถ เพื่อจะบอกกับคนอื่น ๆ ได้ด้วย แม้ว่าจะสอบใบขับขี่ผ่านแล้ว (และผ่านมานานมากแล้ว) แต่ก็มีบางป้ายสัญญาณจราจรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่มีออกในข้อสอบใบขับขี่ด้วย แต่ในพื้นที่ประเทศไทยหลายจังหวัดก็มี 33 ป้ายนี้ให้พบเห็นอยู่ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูกันเลยครับว่ามีป้ายอะไรบ้าง?
 
1
ป้ายง่วง จอดพัก
 
ป้ายง่วง จอดพัก
 

     คุณอาจจะสงสัยว่าขับรถอยู่จะต้องมีป้ายแบบนี้เพื่อเตือนด้วยหรือ? อย่าทำเป็นเล่นไปครับ บางจังหวัดที่มีถนนราบยาว ๆ ขณะเดินทางไกล คนขับอาจจะเพลินหลับในได้ ในเส้นทางที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งทางหลวงก็จะใช้ป้ายนี้ติดเพื่อเตือนใจไว้ให้คนขับได้ประเมินร่างกายตัวเอง โดยจอดพักข้างทาง หรือตามจุดแวะพักต่าง ๆ ได้ครับ
 
2
จำกัดความกว้าง
 
 
จำกัดความกว้าง
 
 
     สำหรับหนุ่ม ๆ อาจจะไม่แปลกใจหากเห็นป้ายนี้ แต่สำหรับสาว ๆ มือใหม่หัดขับอาจจะงงนิดหนึ่งเมื่อเห็นเครื่องหมายอะไรสักอย่างที่ดูเหมือนทางแคบ และกำหนดระยะเป็นเมตรแบบนี้ไว้ ป้ายลักษณะนี้คือการบอกว่าทางข้างหน้ามันแคบนะ กว้างเพียง 2.5 เมตรเท่านั้น ซึ่งเรามักจะเจอกับทางลอดใต้สะพาน หรือลานจอดรถนั่นเอง
 
3
จำกัดความสูง
 
จำกัดความสูง
 
 
     อีกหนึ่งป้ายที่คนขับรถมานาน ๆ จะรู้จักแล้ว แต่คนที่เพิ่งหัดขับรถยนต์ หรือยังขับไม่คล่อง อาจจะไม่ค่อยได้เจอ ป้ายนี้บอกจำกัดความสูงของตัวรถที่จะผ่านทางข้างหน้าไปได้ ซึ่งกำหนดความสูงจำกัดทำให้เจ้าของรถต้องทราบว่ารถของตัวเองสูงเท่าไหร่ ไม่เช่นนั้นแล้วหลังคาอาจจะติดกับทางเข้าได้
 
4
จำกัดความยาว
 
จำกัดความยาว
 
 
     สัญลักษณ์นี้คนขับรถเก๋งอาจจะไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่ แต่คนขับรถบรรทุกเขาจะรู้กันว่าเป็นการจำกัดความยาวของตัวรถนับตั้งแต่ส่วนหัวพ่วง ไปจนถึงด้านท้าย เพื่อวัตถุประสงค์ใดบางอย่างเช่น การเข้าไปบนเครื่องชั่งน้ำหนักของทางหลวง ก่อนผ่านเข้าเมือง
 
5
จำกัดน้ำหนัก
 
จำกัดน้ำหนัก
 
 
     และนอกจากจำกัดความยาวแล้วยังมีการจำกัดน้ำหนักของรถบรรทุกด้วย เพราะถนนบางเส้นทางราดยางเพื่อรองรับน้ำหนักที่กำหนดเท่านั้น หากน้ำหนักเกินกว่านี้ถนนจะพังได้ จึงต้องกำหนดไม่ให้รถบรรทุกน้ำหนักเกินผ่าน และหากผ่านแล้วจะมีความผิดเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามป้ายสัญญาณอีกด้วย
 
6
ช่องขวาเฉพาะแซง
 
6 ช่องขวาเฉพาะแซง
 
 
     นอกจากป้ายเลี้ยวซ้ายผ่านตลอดแล้ว คุณอาจจะต้องรู้จักกับป้ายนี้ด้วย “ช่องขวาเฉพาะแซง” มักจะพบเจอตามต่างจังหวัดที่มีไหล่เขาลดเลี้ยว หรือตามถนนต่างจังหวัดที่เดินรถสวนกันได้ไม่กี่ช่องทาง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่รีบได้แซงทางขวาไปก่อนได้เสมอ
 
7
รถช้าชิดซ้าย
 
รถช้าชิดซ้าย
 
 
     นอกจากป้ายให้รถแซงทางขวาแล้วยังมีป้ายบังคับให้รถช้าชิดซ้าย เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเป็นอันตรายกับบริเวณนั้น โดยเรามักจะเห็นป้ายนี้ตามทางหลวงชนบทเวลาออกต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่
 
8
ห้ามใช้เสียง
 
ห้ามใช้เสียง
 
 
     ป้ายงดใช้เสียงเรามักจะเห็นติดตามถนนใกล้เขตพระราชฐาน ยกตัวอย่างในกรุงเทพมหานครจะเห็นในเขตดุสิต และต่างจังหวัดจะเห็นในเขตถนนใกล้พื้นที่พระตำหนักต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงแตรรถรบกวนการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ภายใน
 
9
ป้ายห้ามรถบรรทุกวัตถุอันตราย
 
ป้ายห้ามรถบรรทุกวัตถุอันตราย
 
 
 
     บางพื้นที่กำหนดไม่ให้รถบรรทุกสารอันตรายเข้า อาทิ นิคมอุตสาหกรรม หรือใกล้แหล่งชุมชน ซึ่งมักจะห้ามไม่ให้รถบรรทุกน้ำมัน หรือ สารเคมีอันตรายบางอย่างผ่าน เพราะพื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ป้ายลักกษณะโค้ง ๆ กลม ๆ แบบนี้แม้ว่าจะเป็นสัญญาณเตือนรถบรรทุก แต่คนขับรถเก๋งก็ควรรู้จักไว้
 
 
10
ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย
 
ห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย
 
 
     ป้ายนี้ถ้าคนไม่คุ้นกับการใช้ถนนจะไม่รู้ความหมาย โดยหัวลูกศรหันซ้ายหรือหันขวาจะมีความหมายว่าห้ามเปลี่ยนช่องไปทางนั้น เพราะจะทำให้เลนใกล้เคียงเสียทัศนวิสัย และป้องกันการเข้าใจผิดขณะเปลี่ยนเลนด้วย
 
11
ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือกลับรถ
 
ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือกลับรถ
 
 
     ป้ายนี้เป็นการฟิวชั่นระหว่างการห้ามกลับรถและห้ามเลี้ยวไปพร้อม ๆ กัน ในถนนที่มีทางเลี้ยวและกลับรถที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ ทางเจ้าหน้าที่จราจรจึงต้องติดเครื่องหมายนี้ไว้เตือนใจ
 
12
ข้างหน้ามีการเบี่ยงการจราจร
 
ข้างหน้ามีการเบี่ยงการจราจร
 
 
     เห็นรูปเครื่องหมายจราจรเหมือนยีราฟคอยาว ๆ นี้ ไม่ใช่สัญลักษณ์กรงสวนสัตว์ แต่เป็นการเตือนบอกว่าข้างหน้ามีทางเบี่ยง อาจจะให้ปเลี่ยนจากการทำถนนก่อสร้างก็ได้
 
13
ฝนตกถนนลื่น
 
ฝนตกถนนลื่น
 
 
      นอกจากสัญลักษณ์เตือนพวกทางเบี่ยงแล้ว บางเส้นทางที่ถนนมักเกิดอุบัติเหตุจากฝนตกบ่อยครั้ง ก็จะเห็นป้ายสัญญาณเตือนถนนลื่นด้วย ซึ่งป้ายแบบนี้จะเขียนยาวหน่อยเพื่อการอ่านแล้วเข้าใจง่าย ภาพสวยเหมือนกับอ่านการ์ตูนทีเดียว
 
14
สลับกันไป
 
สลับกันไป
 
 
     หากเดินทางในเส้นทาง 2 เลนแล้วถูกบีบเป็นคอขวดให้สลับกันไป ซึ่งบางท่านไม่เคยเป็นป้ายจราจรแบบนี้ เพราะคิดว่าการให้ทางเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
 
 
15
ระวังเครื่องบินต่ำ
 
ระวังเครื่องบินต่ำ
 
 
     ในบางจังหวัดมีสนามบินอยู่ใกล้ ๆ กับถนน และเสียงเครื่องบินขึ้นอาจจะรบกวนการได้ยินสัญญาณต่าง ๆ ของผู้ขับขี่ ซึ่งเห็นป้ายนี้แล้วต้องระวังด้วย
 
 
16
ช่องการจราจรปิดด้านขวา
 
ช่องการจราจรปิดด้านขวา
 
 
     ป้ายแบบนี้มีปิดด้านซ้ายและด้านขวา ขับ ๆ มา 2 เลน ด้านหน้าปิดเฉยเลย ก็จะเจอกับป้ายจราจรหน้าตาแบบนี้นะครับ (ยังดีที่บอกกล่าวกันก่อน)
 
17
โรงเรียนระวังเด็ก
 
โรงเรียนระวังเด็ก
 
 
     บางท่านเห็นกันครั้งแรกไม่ทราบจริง ๆ ว่าจูงกันมา 2 คนแบบนี้คือสัญลักษณ์อะไร? แล้วเราต้องทำอะไรกับรถดี.. ก็ต้องเบรกสิครับ เพราะนี้คือป้ายสัญญาณที่บอกว่าอยู่ในเขตชุมชนหน้าโรงเรียน ให้ระวังเด็ก ๆ ข้ามถนนกันด้วย ในกรุงเทพและต่างจังหวัดก็มีให้เห็นบ่อย ๆ ครับ
 
 
18
สะพานแคบ
 
สะพานแคบ
 
 
     บอกตรง ๆ ว่าถ้าไม่เคยข้ามสะพานก็ไม่รู้จริง ๆ ว่าสัญลักษณ์นี้บอกว่าข้างหน้ามีสะพานนะ เพราะบางเส้นทางป้ายชำรุดบ่อย หล่นหายไปจนมองไม่เห็น หากใครยังไม่ทราบก็จะได้บอกกล่าวกับหน่วยงานท้องที่ได้ว่าป้ายหาย ให้หน่วยงานกลับมาติดด้วยด่วน
 
19
ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้น
 
ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้น
 
 
     เนื่องจากบางจังหวัดไม่มีทางรถไฟบางท่านจึงไม่คุ้นชินกับป้ายนี้ ป้ายนี้จะบอกเราคร่าว ๆ ว่าทางข้างหน้าก่อนข้ามให้ระวังทางรถไฟก่อน โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยเปิดปิดทางกั้นให้ แต่บางทางข้ามถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่รถไฟคอยดูทาง ก็ต้องดูแลกันเองนะครับ
20
ทางข้ามทางรถไฟทางแยก
 
ทางข้ามทางรถไฟทางแยก
 
 
     ในทางรถไฟใกล้เคียงจะมีทางแยกที่อยู่ใกล้ ๆ กับทางรถไฟ หากคุณขับรถอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟจะได้สังเกตทางถูก
 
21
ทางขึ้นทางลาดชัน
 
ทางขึ้นทางลาดชัน
 
 
      ทางขึ้นทางลงทางลาดจะมีสัญลักษณ์บอกถึงทางลาด ยิ่งถ้าเข้าใกล้กับถนนที่ต้องขึ้นเขาจะเจอบ่อยมาก โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีป้ายนี้ประมาณ 100 ป้ายได้ เขาไม่ได้ติดไว้สวย ๆ แต่ติดไว้บอกแก่รถบรรทุกของว่าให้เตรียมเปลี่ยนเกียร์
 
22
ทางคู่ข้างหน้า
 
ทางคู่ข้างหน้า
 
 
     สำหรับการบอกทางเลนสวนที่ทางข้างหน้ามีเกาะกลางถนน จะเป็นสัญลักษณ์นี้เพื่อให้ผู้ขับขี่ระวังการขับรถชนข้างทาง

23
ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย
 
ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย
 
 
     สำหรับถนนสายรองที่แยกออกมาจากถนนสายหลัก ที่เรียกว่า ทางโท ที่จะแยกกันออกไปข้างหน้า จะมีป้ายหน้าตาแบบนี้บอกเราก่อนล่วงหน้า เพื่อให้เราเตรียมตัวก่อนจะเลี้ยว ซึ่งหากเปิด GPS วิ่งมาแล้วอาจจะเลี้ยวไม่ทัน ต้องดูป้ายบอกทางไปด้วย
 
24
ช่องเดินรถจักรยานยนต์
 
ช่องเดินรถจักรยานยนต์
 
 
     หลายท่านทราบแล้ว แต่บางคนไม่รู้จริง ๆ ว่าป้ายที่มีคนขับรถจักรยานยนต์แบบนี้แปลว่าอะไร? สัญลักษณ์แบบนี้คือช่องทางที่เปิดให้วิ่งอยู่เป็นช่องทางของรถจักรยานยนต์ ซึ่งหากรถยนต์จะเข้าไปจอดขวาง จอดล้ำ จะทำให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สะดวก เพราะฉะนั้นต้องระวังกันให้มาก
 
25
ช่องเดินรถจักรยาน
 
ช่องเดินรถจักรยาน
 
 
     ในบางจังหวัดที่มีเส้นทางท่องเที่ยวปั่นจักรยาน จะมีเลนสำหรับผู้ขับขี่จักรยานโดยเฉพาะ ในกรุงเทพมีให้เห็นในรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และตามชายหาดจะเห็นป้ายลักษณะนี้บ่อยมาก เพราะฉะนั้นอย่าเอารถยนต์ไปจอดขวางนะคะ
 
26
เฉพาะคนเดิน
 
เฉพาะคนเดิน
 
 
     เช่นเดียวกัน คนที่เดินถนนก็มีช่องพิเศษบอกไว้ เพื่อป้องกันรถเข้ามาในช่องนี้ พื้นที่ที่จะพบเห็นป้ายนี้ก็คือสวนสาธารณะ หรือ ถนนที่ให้คนเดินออกกำลังกายได้นั่นเอง
 
27
วงเวียน
 
วงเวียน
 
 
     บางชุมชนไม่ได้พบเจอวงเวียนบ่อย ๆ จนผู้ขับขี่อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสัญลักษณ์รีไซเคิลก็ได้ อย่าเข้าใจผิดกันนะครับ
 
28
ให้ชิดซ้ายหรือชิดขวา
 
ให้ชิดซ้ายหรือชิดขวา
 
 
     มีคนสงสัยว่าลูกศรทิ่มหัวลงแบบนี้แปลว่าอะไร คุณจะเจอกับสัญลักษณ์นี้กับการบอกทางให้เบี่ยงชิดซ้ายหรือชิดขวาออกจากช่องทางหลัก และต้องสังเกตดี ๆ เพราะบางเครื่องหมายวงกลมมีศรเดียวครับ
 
 
29
ช่องเดินรถมวลชน
 
ช่องเดินรถมวลชน
 
 
     สัญลักษณ์นี้บ่งบอกถึงการเดินรถช่องทางรถประจำทาง ซึ่งบางถนนหมายถึงเส้นทางประจำสำหรับรถประจำทางสายนั้น มักจะเจอป้ายนี้ในกรุงเทพเท่านั้น
 
30
ป้ายชี้ทางไปท่าแพขนานยนต์
 
ป้ายชี้ทางไปท่าแพขนานยนต์
 
 
     ตามจังหวัดที่ใช้เรือเฟอร์รี่ขนส่งรถยนต์ไปตามเกาะต่าง ๆ จะใช้ป้ายนี้บอกทางไปท่าเรือเฟอร์รี่ หรือท่าแพขนานยนต์ซึ่งเป็นชื่อที่ออกข้อสอบบ่อย ๆ นี่เอง
 
 
31
ป้ายชี้ทางไปท่าเรือโดยสาร
 
ป้ายชี้ทางไปท่าเรือโดยสาร
 
 
 
     สำหรับป้ายบอกทางไปท่าเรือจะใช้รูปเรือที่ดูลำเล็กกว่าเรือเฟอร์รี่ ซึ่งมักจะเป็นเรือโดยสารประจำทางนั่นเอง
 
 
32
ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ กิจกรรม และแหล่งชุมชน
 
ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ กิจกรรม และแหล่งชุมชน
 
 
     ป้ายลักษณะนี้ไม่ได้หมายถึงให้ระวังน้ำตกข้างหน้า แต่เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารว่าข้างหน้ามีแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแนะนำ และบอกระยะทางว่าอยู่ห่างอีกเท่าไหร่ ซึ่งมักจะพบเจอกันได้ตามจังหวัดท่องเที่ยวต่าง ๆ นั่นเอง
 
33
ป้ายบอกระยะทาง
 
ป้ายบอกระยะทาง
 
     ป้ายนี้สำคัญมาก อาจจะไม่ใช่ป้ายแปลกแต่อย่างไร แต่ขนาดไซส์มักจะเห็นไม่เท่ากัน บางป้ายใหญ่มาก บางป้ายเล็กมาก บ้างก็เป็นพื้นสีเขียว หรือสีขาว ส่วนตัวเลขข้างหลัง มือใหม่หัดขับก็ไม่ทราบว่าเป็นตัวเลขอะไร? นั่นคือเลขบอกระยะทางที่จะไปถึงตัวเมืองนั้น (ซึ่งก็มีการนำไปตีเป็นเลขเด็ดกันบางป้าย)
 
     นอกจากนี้เวลาต้องการจอดรถริมถนนต้องระวังต้นไม้ใหญ่หล่นทับโดยเฉพาะเวลาฝนตกหนัก เพราะอาจจะเกิดความเสียหายกับรถและตัวผู้โดยสาร และ ป้ายทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีโอกาสที่คุณจะพบเจอได้กับถนน หรือ ทางชนบทบางเส้นทาง หากคุณคิดว่าบทความนี้ให้ความรู้กับเพื่อน ๆ ที่อาจจะยังไม่ทราบ ก็สามารถแชร์ไปให้เพื่อน ๆ อ่านได้ครับ แต่หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการซื้อประกันภัยรถยนต์ ก็อย่าลืมนึกถึงพี่หมี TQM โดยแวะมาทิ้งเบอร์ไว้ให้เราติดต่อกลับได้ที่ช่อง Live Chat หรือโทร 1737 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
 
 
READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา