รถความร้อนขึ้นต้องทำไง
article created at icon02/03/62

|

อ่านแล้ว 6,467 ครั้ง

รถความร้อนขึ้นต้องทำไง

รถยนต์ร้อนทำไงดีเป็นอันตรายต่อรถยนต์ไหม

     ถือเป็นยานพาหนะที่มอบความเป็นส่วนตัว และอำนวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์ที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหนด้วยรถยนต์ จึงไม่แปลกที่เรามักจะเห็นรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้การจราจรติดขัด เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การขับขี่รถยนต์บนท้องถนนจะต้องมีสติและไม่ประมาท เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง ทุกครั้งที่ต้องเดินทางควรตรวจเช็คสภาพรถ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่และเพื่อนร่วมทาง
 

จอด หรือ ไปต่อ เมื่อพบว่ารถความร้อนขึ้น

 

รถความร้อนขึ้นควรจอดหรือไปต่อ

     วันนี้พี่หมีมาพร้อมปัญหารถยนต์ที่พบบ่อยมากที่สุด กับ รถความร้อนขึ้นต้องทำไง ขับต่อไหม๊ หรือ จอดก่อนดี เพราะปัญหารถร้อนสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ หากปล่อยไว้ไม่ทำการแก้ไข รับรองเครื่องยนต์มีปัญหาแน่  “ความร้อนขึ้น” ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบว่ารถยนต์ของคุณเริ่มมีปัญหา และเป็นสิ่งอันตรายต่อการใช้งานซึ่งปัญหาความร้อนเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องยนต์ ที่มีความผิดปกติ ทำให้ความร้อนขึ้นไม่สามารถรักษาอุณภูมิให้อยู่ในระดับที่ทำงานได้ปกติ สาเหตุของความร้อนสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ รถยนต์บางรุ่นมีการเตือนผ่านทางมาตราวัดที่มีมากับรถ  หรือสัญญาณไฟเตือนที่เป็นสีแดง ว่ารถยนต์ของคุณอยู่ขั้นฉุกเฉิน หรืออันตราย หากปล่อยให้ความร้อนขึ้นสูงอาจทำให้เครื่องยนต์ “Over Heat” ดับกลางทาง ไม่สามารถขับเคลื่อนได้  แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย
 

ระดับความร้อนเท่าไหร่ ถึงเรียกว่า "ความร้อนขึ้นสูง"

เครดิตภาพ: http://www.gaeglong.com/
 
“ความร้อนขึ้นสูง” ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์ สามารถสังเกตการแจ้งเตือนความร้อนของเครื่องยนต์ได้ง่ายๆ มีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ 
แบบที่ 1 แบบเกจ 
การทำงานของเกจจะอยู่ในช่วงอุณภูมิที่ไม่เกินครึ่งของมาตรวัด หากเข็มเกจชี้มาทาง H (Hot=ร้อน) เกินครึ่ง นั่นคือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระบบหล่อเย็น หรือ อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงอย่างแน่นอน 
แบบที่ 2 แบบไฟเตือน 
- ถ้าไฟขึ้นสีแดง หมายถึง เครื่องยนต์ร้อน  หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิสูง (สูงกว่า 117 oC)
- ถ้าไฟขึ้นสีเขียว (ฟ้า) หมายถึง เครื่องยนต์เย็น เครื่องยนต์ หรือระบบหล่อเย็นมีอุณหภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 60 oC)
*สำหรับรุ่นรถยนต์ที่ใช้ไฟเตือนสัญญาณต่างๆ ต้องสังเกตสีของการเตือนด้วยว่ารถยนต์ของคุณปกติ หรือ ไม่ปกติ
 

รถยนต์ความร้อนขึ้น ขับต่อ หรือ จอดดี ?

     เมื่อพบว่ารถยนต์ของคุณเกิดความร้อน ให้หาที่จอดรถในที่ปลอดภัยทันที พร้อมเปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์เย็นลงให้คุณทำการเปิดฝาหม้อน้ำ ห้ามเปิดในขณะที่เครื่องยังร้อนอยู่ เพราะแรงดันน้ำในหม้อน้ำ อาจพุ่งขึ้นมาโดนหน้าจนได้รับบาดเจ็บ ในขณะที่เปิดให้สวมถุงมือเพื่อป้องกันความร้อน เช็คดูปริมาณน้ำในหม้อหากพบว่าปริมาณน้ำน้อย ให้เติมน้ำลงไป แล้วสังเกตดูระดับน้ำประมาณ 5 นาที หากน้ำลดลงนั่นหมายความว่า หม้อน้ำแตก ให้คุณทำการเรียกช่างมาตรวจสอบแก้ไขในกรณีบริเวณที่รถเสียไม่มีอู่ซ่อม แต่ถ้ามีการรั่วเล็กน้อย สามารถขับต่อไปยังร้านซ่อมรถได้เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
 
รถยนต์ความร้อนขึ้น ขับต่อ หรือ จอดดี
 
     เพราะฉะนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาหม้อน้ำแตก รั่วซึม ให้คุณหมั่นตรวจเช็คสภาพรถยนต์เป็นประจำ หรือเข้าศูนย์เช็คสภาพรถยนต์ให้รถอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน วิธีสังเกตง่ายๆให้ดูที่หน้าปัดว่าความร้อนอยู่ในระดับปกติหรือไม่  ในกรณีฉุกเฉินคุณสามารถเรียกใช้บริการจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่คุณเลือกทำไว้ เพื่อขอความช่วยเหลือ
 
     หากคุณมีการใช้งานรถยนต์อย่างหนัก หรือ รถยนต์มีอายุการใช้งานมานาน ไม่แปลกที่จะประสบกับปัญหาเครื่องยนต์ร้อน ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปว่าหากความร้อนขึ้นไม่ควรทำการขับต่อ ให้คุณหาที่ปลอดภัย เพื่อตรวจเช็คสภาพรถก่อนนำไปสู่ปัญหาภายหลัง แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และการสูญเสีย
 
RAED MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา