วิธีคำนวณภาษีฉบับฟรีแลนซ์ แสนง่าย
article created at icon18/05/63

|

อ่านแล้ว 1,094 ครั้ง

วิธีคำนวณภาษีฉบับฟรีแลนซ์ แสนง่าย

     ไม่ใช่แค่กลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น แต่อาชีพอิสระอย่าง ฟรีแลนซ์ ก็ต้องยื่นภาษีด้วยเช่นกัน แต่สำหรับกลุ่มฟรีแลนซ์มือใหม่ ที่พึ่งผันตัวเองมาทำงานนี้ในยุคโควิด-19 อาจจะสงสัย ว่าเขาคำนวณภาษีอย่างไร วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปหาคำตอบกันครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฟรีแลนซ์จะโดนหักภาษี 2 รอบ

1. หักภาษี ณ ที่จ่ายทันที เป็นจำนวน 3% ของเงินที่จ่ายให้ผู้ว่าจ้างทุกครั้ง 
2. คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง คือการคำนวณเงินได้สุทธิ ว่าอยู่ในลำดับขั้นใดแล้วคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย หากมากกว่า 3% ที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว ฟรีแลนซ์จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือถ้าน้อยกว่าก็สามารถขอคืนภาษีได้
 

สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี

1. ต้องคอยจดบันทึกไว้อย่างละเอียดว่า ได้เงินมาจากที่ใดบ้าง และแต่ละที่ได้จำนวนเท่าไร
2. เก็บเอกสาร "ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย" หรือที่เรียกว่า "ใบ 50 ทวิ" ไว้ด้วยทุกครั้งที่ได้เงินจากการทำงาน เนื่องจากต้องนำเอาข้อมูลในเอกสารนี้ไปยื่นภาษี โดยกรณีนี้จะต้องเป็นรายได้ที่เกิน 1,000 บาทขึ้นไป

วิธีคำนวณรายได้สุทธิฉบับมนุษย์ฟรีแลนซ์

     สำหรับมนุษย์ฟรีแลนซ์ จะใช้เกณฑ์เงินได้สุทธิในการคำนวณเหมือนมนุษย์เงินเดือน คือรายได้ทั้งหมดที่ได้รับตลอดปี หักลบด้วยค่าใช้จ่าย และหักลบด้วยค่าลดหย่อนเพิ่มเติม  โดยเขียนเป็นสมการดังนี้
 
รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ
 
     โดยเงินได้ของฟรีแลนซ์จะเข้าข่าย "เงินได้ประเภทที่ 2" ตามประมวลรัษฎากร หรือ "เงินได้มาตรา 40 (2)" ซึ่งเงินได้มาตรานี้จะคือ
 
มาตรา 40 (2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน หรือจากการรับทำงานให้นั้นไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ฯลฯ
 
     ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับฟรีแลนซ์นั้น จะใช้การหักแบบเหมา คือ หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อนภาษีนั้นมีหลายรายการ โดยขึ้นอยู่กับสถานภาพและภาระของแต่ละคน เช่น ซื้อกองทุน LTF RMF ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เป็นต้น
 

วิธีคำนวณภาษีฉบับมนุษย์ฟรีแลนซ์

     เมื่อเราคำนวณเงินได้สุทธิออกมาแล้ว จะนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อ โดยใช้วิธีคำนวณภาษีแบบเดียวกับมนุษย์เงินเดือนคือ เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี ซึ่งทางกรมสรรพากรจะกำหนดเกณฑ์อัตราภาษีตามขั้นเงินได้สุทธิต่อปี ดังนี้
 
คำนวณภาษีฉบับมนุษย์ฟรีแลนซ์
เงินได้สุทธิต่อปี อัตราภาษีเงินได้มนุษย์ฟรีแลนซ์
0-150,000 ได้รับการยกเว้น
150,001-300,000  5%
300,001-500,000
10%
500,001-750,000 15%
750,001-1,000,000 20%
1,000,001-2,000,000 25%
2,000,001-5,000,000 30%
> 5,000,001 35%
 
     และนี่คือวิธีการคำนวณภาษีฉบับมนุษย์ฟรีแลนซ์เช่นคุณ แนะนำให้เพื่อนๆ เก็บเอกสารหรือหลักฐานสำคัญไว้ให้พร้อมเสมอ เมื่อถึงเวลายื่นภาษีคือ ช่วงต้นปี ตั้งแต่มกราคม-มีนาคมของปีถัดไป จะได้ไม่วุ่นวายเพียงแค่คำนวณตามที่พี่หมีบอกและยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลย
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application