ทริคเอาตัวรอดจาก 4 สถานการณ์อันตราย
article created at icon24/01/60

|

อ่านแล้ว 95 ครั้ง

ทริคเอาตัวรอดจาก 4 สถานการณ์อันตราย

ทริคเอาตัวรอดจาก

4 สถานการณ์อันตราย

 

  เพราะอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ว่าเราจะระวังแค่ไหน ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ การเรียนรู้หรือหาข้อมูล เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์ขับขันไว้เบื้องต้นถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริงๆ เราต้องตั้งสติให้มั่น แล้วค่อยๆ ดึงสิ่งที่หมีกำลังจะบอกต่อไปนี้ออกมาปรับใช้นะครับ

 

 

ที่มา : www.now26.tv/view/65350/วิธีเอาตัวรอดเมื่อยางรถระเบิดขณะขับขี่.html

 

1. ยางระเบิด ขณะรถวิ่ง

  ยางระเบิด เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง 7 วันอันตรายที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ยางระเบิดก็มาจาก หมดอายุการใช้งาน ขับเร็วเกินพิกัดยาง บรรทุกน้ำหนักเกิน สูบลมยางผิดวิธี และยางร้อนจัด ดังนั้นเบื้องต้นก่อนออกเดินทางควรจะเช็คลมยางให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน และเช็คอายุของยางให้ดีว่าควรเปลี่ยนยางเมื่อไหร่

 

แล้วระหว่างขับจะรู้ได้ยังไง ว่ายางกำลังจะระเบิดแล้ว ?

พวงมาลัยจะเริ่มสั่น และรู้สึกบังคับรถลำบากเวลาเลี้ยว ทั้งที่ตอนแรกที่ขับมาไม่มีปัญหาอะไร อาการแบบนี้แสดงว่ายางเริ่มมีอาการบวมแล้ว ให้ชะลอรถและจอดในที่ปลอดภัยทันที แต่ถ้ายางระเบิดไปแล้ว ทำยังไง ?

  1. ตั้งสติ ค่อยๆ ถอนคันเร่งออก แล้วบังคับพวงมาลัยให้คงที่

  2. แตะเบรกเบาๆ อย่าแตะทีเดียวแรงๆ เพราะจะทำให้รถหมุน

  3. สิ่งที่ห้ามทำเลยเป็นอันขาด คือ ห้ามเหยียบคลัตช์ และดึงเบรกมือ เพราะจะทำให้รถเสียหลัก

  4. เมื่อความเร็วลดลงแล้วให้เปิดไฟเลี้ยว

  5. เมื่อควบคุมได้แล้ว รถชะลอความเร็วจนใกล้จะหยุด ให้เปิดไฟเลี้ยวเข้าข้างทาง แล้วหาทางหยุดรถในที่ปลอดภัย

 

2. เบรกแตก

  เบรกแตก เป็นอีกหนึ่งอาการผิดปกติของรถที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ซึ่งขณะขับรถเราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีปัญหาที่ผ้าเบรก จะมีอาการอย่าง มีเสียงแปลกๆ หรือ รู้สึกเหยียบเบรกได้ไม่สุด เมื่อสัมผัสได้ถึงความผิดปกติทางที่ดีควรรีบนำรถไปเช็คสภาพผ้าเบรกทุกๆ 3 เดือน หรือไม่เกิน 50,000 กม.  แต่ถ้าเกิดอาการเบรกแตกขึ้นมาขณะขับ จะทำยังไงดี ?

  1.  ตั้งสติ ใจเย็นๆ ค่อยๆ ควบคุมรถเข้าเลนด้านซ้าย

  2.  ลดคันเร่ง - ความเร็ว ใช้แรงเสียดทานให้เป็นประโยชน์ หรือใช้วิธี Engine Brake ให้เครื่องยนต์เกิดอาการหน่วง ช่วยให้ชะลอความเร็วกะทันหัน โดยการเหยียบคลัทช์ ลดตำแหน่งเกียร์ สำหรับรถเกียร์ธรรรมดา ส่วนถ้าเป็นเกียร์ออโต้ ให้ใช้ปุ่ม Overdrive on เปลี่ยนเกียร์ จาก D เป็น 3 โดยห้ามเปลี่ยนเป็น L โดยเด็ดขาด

  3.  ใช้ Emergency Brake หรือเบรกมือช่วย โดยค่อยๆ ดึง เพื่อช่วยชะลอความเร็ว แต่ห้ามดึงทีเดียวจนสุดเป็นอันขาด 

 

 

3. เหตุเกิดเมื่อรถจมน้ำ

  หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินไม่สามารถบังคับรถได้จนรถเกิดพลาดตกลงไปในแม่น้ำ คู คลองที่ค่อนข้างลึก จนรถค่อยๆ จมลงเรื่อยๆ แน่นอนว่าหลายคนคงเกิดอาการตระหนกตกใจทำอะไรไม่ถูก แต่พี่หมีแนะนำให้ตั้งสติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินแค่ไหน สติ จะเป็นตัวช่วยให้เราเรียบเรียงความคิดและหาทางเอาตัวรอดได้ แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.    อย่าพึ่งปลดเข็มขัดนิรภัยจนกว่ารถจะหมดแรงกระแทก

2.    เมื่อรถค่อยเคลื่อนลงไปในน้ำอย่างช้าๆ ให้หาทางออกทางหน้าต่างเท่านั้น เพราะประตูรถไม่สามารถเปิดได้จากแรงดันน้ำภายน้ำ

3.    พยายามลดกระจกด้านข้างลงทั้งรถระบบไฟฟ้าและธรรมดา  ซึ่งระบบไฟฟ้าภายในรถจะสามารถใช้งานได้อีกประมาณ 10 นาที แม้เครื่องยนต์จะดับ แต่ไม่ต้องกลัวถูกช็อต เพราระบบรถยนต์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง 

4.    สูดลมหายใจให้เต็มที่แล้วค่อยๆ เอาตัวออกทางหน้าต่างให้ไวที่สุด

5.    ถ้าไม่สามารถออกทางหน้าต่างได้ ให้ใช้วิธีปลดล็อกประตูทางออก เมื่อน้ำเข้ามาในรถจนเกือบถึงหลังคา ความดันภายนอกและภายในรถใกล้เคียงกันแล้ว ให้ผลักประตูออกให้กว้างสุดแล้วดันตัวออกจากรถให้ไวที่สุด แล้วปล่อยตัวลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติ หรือลองเป่าฟองอากาศลอยไป แล้วค่อยว่ายตามฟองอากาศเพื่อหาทางขึ้นสู่เหนือน้ำ

6.    ถ้าไม่สามารถทำตามวิธีที่ 4 - 6 ให้พยายามหาของแข็งมาทุบกระจกด้านข้าง เพราะกระจกหน้า - หลังจะเป็นกระจกที่ถูกออกแบบให้เป็นแบบนิรภัยทุบให้แตกยาก แต่ต้องรอให้แรงดันด้านในและด้านนอกเท่ากันก่อนจึงจะสามารถทุบให้แตกได้ แต่ถ้ากระจกข้างไม่แตกให้เลือกทุบกระจกหลัง เพราะเป็นส่วนที่จมน้ำช้าที่สุด 

4. รถเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้

  ไฟไหมรถยนต์ นับเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงและโอกาสรอดน้อยมากแทบจะที่สุด เพราะการที่รถจะเกิดไฟลุกไหม้ได้นั้นแสดงว่าต้องได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงมากจนถังน้ำมันรั่ว หรือเกิดประกายไฟ ซึ่งผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่มักจะได้รับแรงกระแทกจนหมดสติ และไม่สามารถพาตัวเองออกมาจากสถานการร์ฉุกเฉินได้ แล้วถ้าเกิดยังมีสติรู้ตัวจะเอาตัวรอดยังไงดี ?

 

1.    ตั้งสติ รีบปลดเข็มขัดนิรภัย

2.    บิดสวิทช์ปิดกุญแจ เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ แต่ถ้าเกิดได้กลิ่นควันไฟหรือรับรู้ได้ถึงความร้อนรีบข้ามขั้นตอนนี้ไปทันที

3.    รีบเอาช่วยตัวเองออกจากตัวรถให้ไวที่สุด พยายามทุบกระจกรถ หาทางออกมา เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเฟรมประตูรถอาจจะเสียได้

4.    เมื่อออกมาได้แล้วก็ให้รีบออกห่างจากรัศมีตัวรถให้ไกลที่สุด หากยังมีเพื่อนหรือใครที่ติดอยู่ในตัวรถ ให้ออกมาขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หรือคนที่อยู่แถวนั้น

 

ถ้าเป็นกรณีรถยนต์ติดแก๊ส แน่นอนว่าจะมี “กลิ่น” เป็นสัญญาณเตือนก่อนเมื่อแก๊สรั่ว ให้รีบหยุดรถเข้าข้างทาง แล้วรีบออกห่างจากตัวรถให้ไวที่สุด วิธีป้องกันให้ดีที่สุดควรเช็คสภาพรถให้พร้อมอยู่เสมอ และควรพกถังดับเพลิงขนาดเล็กติดรถไว้เผื่อฉุกเฉิน

 

อย่างที่พี่หมีบอกทุกครั้งและเน้นย้ำเสมอว่า ไม่ว่าเกิดสถานการณ์อะไร ให้พยายาม “ตั้งสติ” ใจเย็นๆ แล้วคิดหาทางออกจากสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยไม่ต้องนั่งกังวลถึงความเสียหายของทรัพย์สิน ให้ห่วงชีวิตตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก เพราะส่วนของทรัพย์สินนั้นหากทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ไว้ รับรองว่าได้รับการเยียวยาอย่างคุ้มค่าแน่นอน ถ้ามีข้อสงสัยเรื่องประกันภัยรีบโทรหาพี่หมีได้ตลอด 24 ชม. ที่ Hotline 1737 หรือที่นี่ www.tqm.co.th พี่หมีรออยู่เสมอน้า ~

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

·  www.tiretruckintertrade.com

·  www.wiseknow.com

·  auto.sanook.com/2041

·  auto.sanook.com/5649

·  auto.sanook.com/1532

·  careasy.blogspot.com

·  www.autodeft.com

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา