โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
article created at icon07/06/62

|

อ่านแล้ว 153 ครั้ง

โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม

เคยไหม..ทำงานจนไม่มีเวลาไปหาหมอ
     ในชีวิตมนุษย์ออฟฟิศ หากไม่ได้มีบัตรประกันสุขภาพแบบกลุ่มที่บริษัททำให้ เวลาป่วยไข้ทีก็ไม่อยากจะไปโรงพยาบาล ขอนอนพักนิดหน่อยแล้วค่อยลุยกันต่อ เพราะบางคนกลัวการต่อคิวนาน ๆ กลัวการพูดคุยกับหมอ รวมไปถึงคิดว่าอาการที่เป็นอยู่ไม่หนัก ไม่ร้ายแรง ถ้าปีนี้คุณรู้สึกว่าป่วยบ่อยเป็นพิเศษด้วยโรคเดิม ๆ อย่าลืมไปตรวจเช็คสภาพร่างกายว่ากำลังเป็น Office Syndrome ยอดฮิตเหล่านี้หรือเปล่า?
 

5 อาการที่ต้องเช็คตัวเอง มนุษย์เงินเดือนหาหมอครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่กันนะ?

1) กรดไหลย้อน ปวดท้อง กระเพาะอาหาร
โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
     
     สาเหตุที่ทำให้ชาวออฟฟิศมีอาการปวดท้องบ่อย และเป็นกรดไหลย้อนกันมากก็คือ การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และความเครียด ซึ่งทำให้ร่างกายของคุณไม่รู้สึก Relax เมื่อเกิดภาวะอาหารไม่ย่อย มันจะสวนขึ้นมาที่หลอดอาหารเป็นบางครั้ง และบวกกับรับประทานแต่ ชา กาแฟ และขนมปังเพื่อรองท้อง ตัวคาเฟอีนนี้กระตุ้นให้กระเพาะผลิตกรดเพิ่มกว่าปกติอยู่แล้ว ควรลดปริมาณกาแฟ ไม่กินติดกัน 3 เวลาหลังอาหาร และความเครียดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณไม่อยากรับประทานอาหาร หรืออยากกินอาหารแบบหยุดไม่อยู่ ซึ่งหากคุณมีอาการ ปวดท้องเพราะเป็นโรคกระเพาะอาหารบ่อย ๆ อาจจะทำให้กระเพาะอักเสบเป็นแผล ผิวกระเพาะบางจนน้ำย่อยกัดกระเพาะทะลุได้
 
2) ปวดหัว
โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
     
     อาการปวดหัว เริ่มต้นตั้งแต่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ปวดหัวเพราะความเครียด และปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้องคอมพิวเตอร์นาน ๆ และอยู่กับแสงที่ไม่เหมาะสม ควรเดินไปผ่อนคลายหาพื้นที่สีเขียว สูดอากาศ และคิดอะไรสบาย ๆ บ้าง ความเครียดนั้นเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้ปวดหัวถี่เป็นพิเศษ ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ จนเรื้อรัง มีผลต่อการคิดตัดสินใจ และทำให้สารเคมีในสมองไม่สมดุลย์กัน ทำให้อารมณ์ของคุณเปลี่ยนแปลง ในอนาคตอาจร้ายแรงถึงขั้นที่ต้องรับประทานยาตลอด และหากไม่ดูแลตัวเอง มีโอกาสเส้นเลือดในสมองแตกได้
 
3) ปวดหลัง
โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
   
     หากคุณมีอาการปวดหลังติดต่อกัน อาจจะมาจากการนั่งโต๊ะทำงานที่ความสูงและระยะวางแขนไม่พอดีกับร่างกาย นั่งเก้าอี้ก็ต้องปรับระดับให้พอดี การก้ม ๆ เงย ๆ หรือค้างอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ มีผลทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง อีกสาเหตุหนึ่งอาการปวดหลังอาจมาจากการยกของหนัก หากงานของคุณต้องยกของหนักเป็นประจำ ควรหาเครื่องทุ่นแรง และปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเมื่อมีโอกาส อาการปวดหลังที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเป็นโรคที่ร้ายแรงขึ้น อย่างเช่น กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นต้น
 
4) นิ้วล็อค
โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
     
     หากคุณต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และงานที่ต้องใช้การพิมพ์ และปั๊มตรายางตลอดทั้งวัน มีโอกาสเป็นนิ้วล็อคสูง เนื่องจากกล้ามเนื้อนิ้วมีเส้นเอ็นและข้อต่อหลายชุด การทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันอาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบและตีบแคบ ให้เอ็นติดขัดเคลื่อนไหวไม่ปกติ ต้องไปให้คุณหมอดามกัน บางท่านมีอาการหนักเป็นเอ็นนิ้วอักเสบ ต้องเข้าเฝือก ใช้งานไม่ได้หลายวันเลยทีเดียว แต่ไม่รวมถึงอาการชาปลายนิ้ว ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจและระบบการเชื่อมโยงของประสาทที่คุณต้องสังเกตตัวเองหากมีอาการชาปลายนิ้วต้องรีบให้คุณหมอเช็คร่างกายโดยเร็วที่สุด
 
5) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคร้ายสุดอันตรายจาก ออฟฟิศซินโดรม
     
      การกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ทำให้การกลั้นปัสสาวะของสาว ๆ นั้นผิดปกติ (ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชาย) และอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบหากเป็นบ่อย ต้องเข้ารับการรักษาด้วยการตรวจอัลตร้าซาวน์หน้าท้องเพื่อส่องดูการอักเสบภายใน โดยเริ่มต้นคุณหมอจะตรวจจากผลเลือด และให้ยาฆ่าเชื้อเมื่อพบการติดเชื้อ แต่หากเป็นติดต่อกันปีละหลายครั้งไม่หายสักที อาจทำให้มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และปัสสาวะเป็นเลือดได้ วิธีการป้องกันคือต้องดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะของสาว ๆ ด้วยการเช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ และไม่สวนล้างด้วยยาฆ่าเชื้อ ซึ่งอนาคตหากเป็นวัยหมดประจำเดือน ก็จะส่งผลให้ติดเชื้อได้บ่อยมากขึ้นอีกด้วย
 
 
     อย่างไรก็ดี โรคต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี และหากคุณพบว่าร่างกายของคุณมีอาการผิดปกติ รักษาตอนอาการเพิ่งเริ่ม ดีกว่าเจอตอนอาการบานปลายเข้าไปแล้ว (เช็คสิทธิ์รักษาพยาบาลของตัวเอง ทั้งบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ประกันสังคม, ประกันกลุ่ม และประกันสุขภาพเพิ่มเติม) ที่สำคัญคือต้องหมั่นออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติด้วยตัวเองก่อน ดีกว่าต้องกินยาไปตลอดชีวิตนะครับ
 
ที่มา
1) โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) : http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696/Officesyndrome
2) โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ : https://www.bumrungrad.com/th/conditions/uti-urinary-tract-infection
3) นิ้วล็อคอาการที่พบบ่อย รักษาหายขาดได้ : https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/december-2018/orthopedic-surgery-trigger-finger
 
READ MORE :
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา