หลักเกณฑ์ประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษี  2561
article created at icon18/12/61

|

อ่านแล้ว 138 ครั้ง

หลักเกณฑ์ประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษี 2561

หลักเกณฑ์ ลดหย่อนภาษี 2561 ที่ผู้เสียภาษีควรรู้

 
ในช่วงสิ้นปีถือเป็นช่วงที่ มนุษย์เงินเดือน หรือ บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ ต้องจัดการวางแผนในเรื่องของการจ่ายภาษี สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาของปี 2561 ในช่วงต้นปี 2562 ที่จะถึงนี้ การลดหย่อนภาษี คืออะไร? การลดหย่อนภาษี คือการที่ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเพื่อบรรเทาภาระสำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีให้ การเสียภาษีนั้นน้อยลง หรือ อาจเป็นรูปแบบของภาษีเงินคืนที่เพิ่มขึ้น เมื่อคำนวณตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหากต้องการลดในส่วนของค่าภาษีลงนั้นก็ต้องใช้จ่ายในรูปแบบอื่น เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษีนั้นเองโดยมีเกณฑ์กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การทำประกัน การช้อปช่วยชาติ หรือ แม้แต่การเลี้ยงดูบุตรเป็นต้น
 
หลักเกณฑ์ประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษี
 
ซึ่งไม่ใช่ใครก็สามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่จ่ายภาษีต้องมีการคำนวณในส่วนของรายได้สุทธิตลอดทั้งปีของผู้ยื่นภาษี ว่าอยู่ไหนขั้นไหนสำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องใช้ยื่นในแต่ละปี แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีเงินเดือนน้อยแล้วไม่ต้องยื่น เพราะทางกรมสรรพากรได้มีการกำหนดให้ผู้มีรายได้ แม้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องมีการเสียภาษี และยื่นแบบแสดงรายได้เช่นเดียวกัน
 
สำหรับคนโสด
หากมีรายได้จากการจ้างงาน เพียงประเภทเดียวต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินเกินได้ 120,000 บาท หรือหากมีเงินได้ประเภทอื่น หรือ ในกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
 
สำหรับคนมีคู่
หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียวต้องยื่นแบบภาษี เมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท หรือหากมีเงินได้ประเภทอื่น หรือ ในกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
 
สำหรับปี 2561 จะยังใช้โครสร้างในส่วนของภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 ซึ่งกำหนดอัตราการเสียภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ 5 – 35 % เช่นเดิม สำหรับผู้ที่มีรายได้สุทธิที่ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉกเช่นเดิม โดยมีการเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้อยู่ที่ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับการเลี้ยงดูบุตร 30,000 บาท
 

ตารางภาษี 2562 (ปีภาษี 2561)

 
เงินได้สุทธิ
อัตราภาษี
0 – 150,000
ยกเว้น
150,001 - 300,000
5%
300,001 - 500,000
10%
500,001 - 750,000
15%
750,001 – 1,000,000
20%
1,000,001 - 2,000,000
25%
2,000,001 - 5,000,000
30%
5,000,001 – 9,999,999,999
35%
 
 
นอกจาการลดหย่อนภาษีในส่วนเงินได้สุทธิของตัวเองแล้วนั้น ยังมีในส่วนการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมเข้ามาอีกหลายประเภท จะแบ่งเป็นอะไรบ้าง และ มีเกณฑ์แบบไหนไปดู
 
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
• ลดหย่อนส่วนบุคคล ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท
• ลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส โดยเลือกนำมาคำนวนภาษีพร้อมกัน
• ลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 3 คน ในช่วงปีภาษีนั้น บุตรต้องมีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปี หากมีอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป ในปีภาษีนั้น
 
อุปการะเลี้ยงดูบิดา - มารดา
• ลดหย่อนจากบิดา – มารดาของตัวเอง และ บิดา-มารดา ของคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดไม่เกิน 4 คน บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
• อุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ใช้ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 60,000 บาท หากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย
• ฝากครรภ์และคลอดบุตร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล จากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ค่าตรวจครรภ์ รับฝากครรภ์ ค่าทำคลอด  ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ หักค่าใช้จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท
 

กลุ่มประกัน การลงทุน และ เงินออม

ประกันสังคม
• ลดหย่อนได้ตามจริงตามที่จ่ายไป สูงสุดปีละ 9,000 บาท
 

ประกันชีวิต
• ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้ผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม
• ประกันชีวิตบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ ซึ่งจะไม่เกิน 200,000 บาท ต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นกรมธรรม์จากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
 

ประกันสุขภาพ
• ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี ซึ่งเมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องเป็นประกันที่ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยในส่วนของการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นต้น

 
เบี้ยประกันสุขภาพบิดา - มารดา
• ประกันสุขภาพของบิดา-มารดาสำหรับผู้มีเงินได้ ก็สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
 
 
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long term equity fund (LTF)
• สามารถนำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
 
 
สำหรับในด้านของการเลือกทำประกันเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี สามารถเลือกดูในส่วนผลิตภัณฑ์ของ TQM เพราะมีรองรับ ในส่วนของประกันมนุษย์เงินเดือน ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต ที่ให้คุณได้เลือกประกันที่ดีที่สุด เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีของคุณในปี 2562
 
 
 READ MORE : 
 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา