9 โรคร้ายที่พบบ่อยในผู้หญิงสูงอายุ
article created at icon09/08/62

|

อ่านแล้ว 313 ครั้ง

9 โรคร้ายที่พบบ่อยในผู้หญิงสูงอายุ

โรคไหนบ้างที่ผู้หญิงสูงอายุ ควรระวัง!

     ยิ่งนับวันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ "เพศหญิง" ก็ยังเป็นผู้พิชิตความสูงวัยมากกว่าผู้ชาย แม้ว่าสถิติจะบอกแบบนั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ร่างกายที่เสื่อมลง ทำให้มีโรคมากมายตามมา โดยสำหรับผู้หญิงวัยสูงอายุแล้ว จะมีอยู่ 9 โรค ที่พบบ่อยในผู้หญิงสูงอายุ พร้อมสาเหตุของโรคและอาการ ซึ่งลูกหลานอย่างเราควรดูแลอย่างใกล้ชิด ว่าแต่จะมีโรคอะไรบ้างไปดูกันครับ

1. โรคความดันโลหิตสูง

     ความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 120-129/80-84 มิลลิเมตรปรอท แต่ถ้ามากกว่านี้จะถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นโรคหนึ่งที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก และยังนำพาไปสู่โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจอีกด้วย
 
โรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 

1. พันธุกรรม
2. เกิดจากโรคอ้วน หรือน้ำหนักของร่างกายที่มากเกินไป
3. เกิดจากโรคไตเรื้อรัง
4. เกิดจากการสูบบุหรี่
5. เกิดจากการดื่มสุรา
6. ไม่ออกกำลังกาย

อาการของความดันโลหิตสูง 

     อาการของภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงออกให้เห็น แต่จะแสดงอาการเมื่อความดันสูงมากจนถึงขั้นวิกฤต โดยจะมีอาการปวดหัว เวียนหัว เลือดกำเดาออก เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

2. โรคเบาหวาน

     โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ในปัจจุบันโรคเบาหวานพบมากในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุของโรคเบาหวานคือ 1. ความอ้วน 2. ความผิดปกติของตับอ่อน 3. กรรมพันธุ์ หากมีความเสี่ยงแนะนำให้ตรวจน้ำตาลในเลือดว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีภายในเวลาที่เหมาะสม
 
โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

อาการของเบาหวาน

1. มีอาการปัสสาวะบ่อยและออกครั้งละมากๆ
2. กระหายน้ำบ่อย
3. หิวบ่อยหรือกินจุ
4. เหนื่อยง่าย

3. โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

     ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต มักเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ หรือหากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก็เสี่ยงเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด

     เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้เลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจไม่พอ และเมื่อเลือกไม่ไปเลี้ยงหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจก็จะเสื่อมสภาพและเริ่มตาย โดยสาเหตุจากพฤติกรรม เช่น การใช้ยาเสพติด ความเครียด หรืออาการเจ็บปวด การอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นมาก และการสูบบุหรี่
 
โรคหัวใจขาดเลือด

อาการของโรคหัวใจขาดเลือด

1. รู้สึกแน่นและเจ็บหน้าอก
2. หายใจถี่ ๆ
3. วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
4. เหงื่อออกขณะที่ร่างกายเย็น
5. รู้สึกวิตกกังวลมากผิดปกติ
6. ไอ หรือหายใจมีเสียง
7. มีอาการเหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

4. โรคอัลไซเมอร์

     จากสถิติเพศชายมีอายุสั้นกว่าเพศหญิง ผู้หญิงจึงเป็นเพศที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ชาย พบได้ตั้งแต่อายุ 60 ขึ้นไป อาการคือหลงลืมเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน พูดเรื่องเดิมซ้ำๆ และถ้าอาการหนักขึ้นจะไม่สามารถทานอาหารและเดินได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้โรคอัลไซเมอร์ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อมอีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์

1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม
2. ประวัติของบุคคลในครอบครัว
3. อายุที่เพิ่มขึ้น
4. ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 
5. เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
 
โรคอัลไซเมอร์

อาการของโรคอัลไซเมอร์

1. ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
2. ทำอะไรซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ
3. อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง
4. มีปัญหาด้านการนอนหลับ
5. มีอาการประสาทหลอน
6. กลืนและรับประทานอาหารลำบาก
7. น้ำหนักลดลงมาก 
8. เคลื่อนไหวตัวเองลำบาก
9. มีอาการชัก

5. โรคข้อเข่าเสื่อม

     โรคนี้มักพบในผู้หญิงสูงอายุมากกว่าชายถึง 2-3 เท่า เริ่มเป็นตั้งแต่อายุ 40 ปี สาเหตุมาจาก 1. อายุที่เพิ่มขึ้น 2. ใช้ข้อเข่ามาก 3. น้ำหนักตัวมาก 4. ได้รับบาดเจ็บ 5. พันธุกรรม 6. การติดเชื้อโรคข้อทางเมตาบอลิค 7. เป็นโรคข้ออักเสบและรูมาติซึ่ม เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาท์ การอักเสบของข้อบ่อยๆ 
 
โรคข้อเข่าเสื่อม

อาการข้อเข่าเสื่อม

     เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้ำในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด

6. โรคกระดูกพรุน

     โรคกระดูกพรุน มักเกิดกับผู้หญิงสูงอายุ โดยเฉพาะช่วงหมดประจำเดือนหรือฮอร์โมนเพศหญิงลดน้อยลง ส่งผลให้การสร้างและทำลายมวลกระดูกผิดปกติ กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง เปราะหักง่ายขึ้น อาการของโรค เช่น เสียวฟัน ฟันร่วงง่าย เดินหลังค่อม ส่วนสูงลดลง ปวดบริเวณสันหลัง สโพก และข้อต่อต่างๆ โรคกระดูกพรุนยังเกิดอาการแทรกซ้อน และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
โรคกระดูกพรุน

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

1. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน 
2. ขาดวิตามินดีหรือแคลเซียม 
3. ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ 
4. สูบบุหรี่ 
5. น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจากการโหมออกกำลังกายหรืออดอาหาร 
6. ใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด 
7. ฮอร์โมนไม่สมดุล 
8. เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นต้น

7. โรคไต

     โรคไตในผู้หญิงสูงอายุ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน โครงสร้างและการทำงานโดยรวม ทำให้ไตมีขนาดเล็กลง น้ำหนักลดลง โดยปกติช่วงสาวๆ ไตหนักประมาณ 245-290 กรัม แต่ถ้าอายุ 80 น้ำหนักไตจะลดลงถึง 15% แล้วเมื่อถึงขั้นนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของไตก็จะลดลงเช่นกัน
 
โรคไต

อาการของโรคไต

1. มีอาการบวมทั้งตัว
2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ซีด
3. ปวดหลัง ปวดบั้นเอว
4. ปัสสาวะบ่อยหรือน้อยกว่าปกติ
5. ปัสสาวะเป็นเลือด
6. ความดันโลหิตสูงมาก ๆ 

8. โรคตาแห้ง

     ดวงตาเป็นอวัยวะที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พออายุมากขึ้นสุขภาพตาแย่ลง ทำให้เกิดโรคตาในผู้สูงอายุ เช่น โรคต้อกระจก โรคต้อหิน โรคสายตายาว และโรคตาแห้งที่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ดวงตาจะผลิตน้ำตาน้อยลง จะมีอาการเคืองตา และมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่แห้งหรือห้องแอร์ บางคนถึงขั้นต้องกะพริบตาบ่อยๆ เนื่องจากมองเห็นไม่ชัด

สาเหตุของโรคตาแห้ง

1. คุณภาพของน้ำตาไม่ดี ความชุ่มชื้นไม่เพียงพอ 
2. กระพริบตาน้อย
3. ยาบางชนิด สามารถทำให้ตาแห้ง
4. ใส่คอนแทคเลนส์ที่ใช้เกินระยะเวลาที่กำหนด
5. พวกฝุ่นละอองและเครื่องปรับอากาศ
 
โรคตาแห้ง

อาการของโรคตาแห้ง

1. ตาแดง หรือตาบวม
2. แสบตา ตาแห้งบริเวณผิวตา
3. ตาล้า รู้สึกอยากหลับตานานๆ
4. คันตาตลอดเวลา ระคายเคืองตา
5. ตามัว มองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัด
6. น้ำตาไหล ต่อมน้ำตาผลิตน้ำตามากเกินไป 

9. โรคมะเร็ง

     โรคมะเร็งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตเป็นอับดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้าสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อเรื้อรังใดๆ ก็สามารถตรวจพบว่าเป็นมะเร็งได้ ด้วยเหตุผลของอายุที่มากขึ้นส่งผลให้ร่างกายมีความเสื่อมชราและเซลล์กลายพันธ์เกิดเป็นก้อนเนื้อที่ร้ายแรงอย่าง "มะเร็ง" ส่วน มะเร็งที่ผู้หญิงสูงอายุต้องระวัง ก็คือ 1. มะเร็งเต้านม (พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย) 2. มะเร็งปากมดลูก 3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 4. มะเร็งปอด 5. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็ง ซึ่งบางสาเหตุก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น กรรมพันธุ์ แต่หากเราคอยสังเกตอาการ รู้โรคเร็วก็จะรักษาได้ทันถ่วงที และสิ่งที่ผู้เสี่ยงต่อมะเร็งควรทำไว้ก็คือ "ประกันมะเร็ง"
 
โรคมะเร็ง
 
     เห็นแบบนี้แล้วเพื่อนๆ คนไหนที่มีคุณแม่หรือญาติที่เข้าสูงช่วงวัยสูงอายุ จะต้องดูแลสุขภาพพวกเขาเป็นพิเศษ ใส่ใจในเรื่องอาหารที่ถูกสุขลักษณะ จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและน่าอยู่ และที่สำคัญเลือกทำ ประกันสุขภาพอุ่นใจรักษ์ดีไลท์ ไว้เป็นของขวัญสุดพิเศษสำหรับวันแม่ปีนี้ ให้คุณและคุณแม่อุ่นใจยามเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ มีประกันสุขภาพ ที่พร้อมดูแล 24 ชั่วโมง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อครั้ง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย ประกันสุขภาพอุ่นใจรักษ์ดีไลท์
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา