สาวปาร์ตี้ต้องรู้ GHB ยาเสียสาวคืออะไร
article created at icon25/09/62

|

อ่านแล้ว 2,132 ครั้ง

สาวปาร์ตี้ต้องรู้ GHB ยาเสียสาวคืออะไร

นอกจากมอมเหล้าแล้วก็ควรระวังถูกมอมยา

     มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราจะเห็นฉากในละครเวลาตัวร้ายฝ่ายชายต้องการล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง ไม่ว่าจะนางเอก หรือเพื่อนนางเอกด้วยวิธีการหยอดยา ก็จะหยดอะไรบางอย่างใส่ไปในแก้วน้ำของผู้หญิงแล้วหลอกในเธอดื่ม ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้ยาลักษณะนี้ก็ยังมีอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในสาวสายปาร์ตี้ หรือมีเหตุการณ์ที่ต้องเที่ยวกับเพื่อน ๆ แม้แต่น้ำเปล่าเองก็ต้องระวัง ด้วยความปรารถนาดีต่อสาว ๆ พี่หมีจึงขอนำเรื่องราวของยานี้มาฝากกันครับ
ยาเสียสาวคืออะไร?
ภาพการใช้ยาในการรักษาพยาบาล
ภาพการใช้ยาในการรักษาพยาบาล
 
     เซ็กส์ เป็นสิ่งที่ต้องยินยอมทั้งสองฝ่าย และบางครั้งก็มีคนที่อยากได้มา เพราะว่าอีกฝ่ายหน้าตาดี หรือเพื่อแค่ความสนุก (วาทกรรมนี้พี่หมีเอามาจากละครหลังข่าว) การใช้เทคนิคแพรวพราวของคนที่ไม่หวังดีจึงเกิดขึ้น ซึ่งยานี้ไม่ได้ใช่แค่กับผู้หญิงเท่านั้น ยังออกฤทธิ์กับผู้ชายด้วย โดยผู้ใช้หวังผลที่จะต้องการให้อีกฝ่ายสลบไม่รู้สึกตัว หรือ ต้องการให้มีอารมณ์ร่วม ซึ่งยา 1 หลอดอาจผสมมาจากสารเคมีหลายชนิด ได้แก่
 
• Midazolam (ชื่อทางการค้า Dormicum)
• Alprazolam
• Flunitrazepam (ชื่อทางการค้า Rohypnol)
• GHB (Gamma- Hydroxybutyric)
• Ketamin
 
โดยวิธีการใช้ยาต่าง ๆ นั้น มีตั้งแต่สูดดม, ป้ายยาให้สัมผัสที่ผิวหนัง หรือหยอดลงไปผสมกับเครื่องดื่มให้เหยื่อรับประทานเข้าไปโดยตรง
 
GSB (Gamma- Hydroxybutyric) คืออะไร ?
     เหตุผลที่ยาหยอดนั้นเป็นที่นิยม ก็เพราะใช้รสชาติของเครื่องดื่มกลบได้ โดยเฉพาะตัวยาที่ชื่อว่า GSB ที่มีชื่อเรียกกันไม่เป็นทางการว่า “น้ำปลา” เพราะวิธีใช้คือการหยอดหยด แล้วรสชาติต้นฉบับจะเค็ม ๆ ดังนั้นจึงมีการหยอดไปในเครื่องดื่มเหลว ๆ เพื่อให้ผลออกฤทธิ์เร็วเพียงแค่ 5 – 10 นาทีเท่านั้น ยาตัวนี้กลายเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาดมืดกัน เพราะว่า GHB เป็นยาควบคุมที่ใช้เฉพาะการผ่าตัด วางยาสลบ ผลจากการใช้ยา GSB นั้นมีดังนี้
 
1) ยาจะออกฤทธิ์ 5 – 10 นาที โดยผู้รับยาจะมีอาการมึนงง
2) อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อยากจะอาเจียน
3) เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก ประคองตัวเองไม่ได้
4) รู้สึกง่วงจนหลับสลบ หรือหมดสติไปเลย
5) หากได้รับยาในปริมาณมากเกินไปมีโอกาสระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
โดยทางแพทย์รามา เคยนำเสนอวิธีการดูแลตัวเองผ่านรายการพบหมอรามา เมื่อปี พ.ศ. 2559 ไว้ดังนี้
1) เพื่อป้องกันการถูกหยอดยา จะต้องหลีกเลี่ยงการรับเครื่องดื่ม (โดยเฉพาะแอลกอฮอล์) จากคนแปลกหน้า
2) ไม่ดื่มเครื่องดื่มหมดแก้วทีเดียวในรวดเดียว เพื่อจะได้สังเกตความผิดปกติของตัวเองด้วย
3) ควรรู้ตัวว่าตัวเองดื่มเท่าไหร่ถึงจะเมา จะได้ป้องกันตัวเองให้มีสติได้ถูก
4) ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงคนเดียว ควรมีเพื่อนไปด้วย
5) ไม่ควรละสายตาจากแก้วของตัวเอง 
 
ด้วยรูปแบบของการใช้ยาที่สามารถใช้แบบน้ำ หรือ แบบผงก็ได้ จึงยังคงมีข่าวการใช้ยาป้ายที่ผิวหนังหรือผสมกับเครื่องดื่มให้กับเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับยาอีกตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาสลบ ที่ชื่อว่า “เคตามีน (Ketamin)” ซึ่งให้ความรู้สึกง่วงซึม มึนงง เคลิบเคลิ้ม และถูกขึ้นบัญชีเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2
 
โดน GSB บ้วนใส่แก้วได้ไหม?
ภาพการสังเคราะห์ยาในห้องปฏิบัติการ
ภาพการสังเคราะห์ยาในห้องปฏิบัติการ
 
     เทคนิคการอมไว้ในปากแล้วเอาไปบ้วนใส่แก้วอื่นนั้น ใช้ไม่ได้กับ GSB เพราะตัวยาที่หยอดนั้นมีโอกาสซึมเข้าทางเซลล์เยื่อบุผิวในช่องปากแล้ว เนื่องจากยา GSB ที่มีปริมาณเข้มข้นมากก็มีฤทธิ์สูง ออกฤทธิ์เร็ว ไม่เหมือนกับแอลกอฮอล์ที่ยังสามารถบ้วนทิ้งได้อย่างไม่เมา
 
     นอกจากการหยอดแล้ว ยังเคยมีข่าวพบการฉีดเข้าไปที่ขวดเครื่องดื่มที่เป็นพลาสติกสามารถใช้เข็มฉีดยาเจาะทะลุขวดได้ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้าให้มาไม่ว่าจะเป็นน้ำจากขวดที่ปิดปากสนิทแล้วก็ตามก็มีโอกาสพลาดจากการโดนยาได้เหมือนกัน
 
 

 
 READ MORE  : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลการเดินทาง

เส้นทางการเดินทาง *

ในประเทศ
ในประเทศ
ต่างประเทศ
ต่างประเทศ

รูปแบบการเดินทาง *

รายเที่ยว
รายเที่ยว
รายปี
รายปี

จำนวนคนเดินทางทริปนี้

ประเภทการเดินทาง *

ออกจากจังหวัด *

ไปยังจังหวัด *

วันเดินทางไป *

วันเดินทางกลับ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา