คำนวณเบี้ยประกันบ้าน ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?
article created at icon05/04/62

|

อ่านแล้ว 951 ครั้ง

คำนวณเบี้ยประกันบ้าน ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าประกันบ้านให้เราเท่าไหร่? หากเกิดเหตุไฟไหม้?

 
     ในปัจจุบันมี บริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองบ้าน และอาคาร ทั้งที่อยู่อาศัย และร้านค้า อาทิ AXA, ทิพยประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย เป็นต้น รวมถึงธนาคารต่าง ๆ ที่ออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยบ้านและคอนโดสำหรับผู้ขอสินเชื่อบ้าน แต่การทำประกันภัยนี้จะมีเบี้ยประกันสูงมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างคุณกับบริษัทประกันภัย แต่จะมีราคากลางที่เข้ามาสร้างมาตรฐานอย่างยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายครับ
 

เลือกรับความคุ้มครองได้แบบเดียว จาก 2 วิธี

1) จำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นมูลค่าตามทรัพย์สินที่เป็นของใหม่
2) จำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าของทรัพย์สินทู่กหักค่าเสื่อมราคาไปแล้ว
 
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย
     ไม่ว่าจะเป็น บ้านพัก รีสอร์ท ที่อยู่อาศัยหรือเปิดให้เช่า ทางเจ้าของสามารถทำประกันภัยให้กับอาคารของตัวเองได้ทั้งหมด รวมถึงพวกห้องชุด คอนโดมิเนียมด้วย โดยที่มีราคากลางจาก คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) เป็นผู้ตั้งราคากลางประเมิน โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
 
[(จำนวนเงินเอาประกันภัย/มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ณ เวลาเกิดความเสียหาย) x มูลค่าความเสียหาย]
 
     โดยราคา ณ ปัจจุบัน จะมีการคำนวณค่าเสื่อมราคาเข้าไปด้วย ค่าเสื่อมราคาก็คือมูลค่าของตัวทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาอาคารทั้งส่วนโครงสร้าง การตกแต่งทางสถาปัตยกรรม และงานระบบประกอบอาคาร
 
• ค่าเสื่อมราคาของอาคารอายุต่ำกว่า 60 ปี ราคาลดลงปีละ 1.16 – 1.6 % ต่อปี
• ค่าเสื่อมราคาของอาคารอายุมากกว่า 60 ปี ราคาลดลงปีละ 20 – 40 % ต่อปี
 
เช็ค “ค่าเสื่อมราคา” คร่าว ๆ ได้จากตารางมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง

เช็ค “ค่าเสื่อมราคา”
 
     เพื่อความชัดเจนระหว่างบริษัทและผู้เอาประกันภัย ในแต่ละปี คปภ. จะกำหนดราคาสิ่งปลูกสร้างมาไว้ในเว็บไซต์เพื่อให้บริษัทต่าง ๆ เอาไปใช้คำนวณเบี้ย โดยจะแบ่งลักษณะของราคาออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ระดับ สูง, กลาง และ ต่ำ โดยพิจารณาจากพวกของตกแต่ง และราคาของวัสดุก่อสร้าง แบ่งออกเป็น อาคารไม้ และ อาคารปูน ทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด ดังนี้
 
ทราบราคาประเมินด้วยตัวเองคร่าว ๆ ก่อนได้ โดยใช้โปรแกรมคำนวณเงินเอาประกัน
     เพื่อการพิจารณาราคาที่ง่ายขึ้น ทาง คปภ. ได้ระบุจำนวนเงินเอาประกันโดยอิงจากอัคคีภัยไว้เพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัท ในกรณีเกิดความเสียหายทั้งหมดจากเพลิงไหม้ โดยเลือกวิธีกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ทั้งแบบสร้างใหม่ หรือ หักค่าเสื่อมราคา ได้จากทรัพย์สินที่เหลืออยู่ ณ เวลาขณะประสบเหตุ โดยเข้าไปลองใช้ โปรแกรมคำนวณเบี้ยประกันภัยบ้านและอาคารของเว็บ คปภ. ได้
 
ขั้นตอนที่ 1
เลือกประเภทอาคารและการชดใช้ค่าสินไหม
เลือกประเภทอาคารและการชดใช้ค่าสินไหม
 
     ในที่นี้เราลองเลือกกรอกข้อมูลเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ที่ยอมให้หักค่าเสื่อมราคา ยกตัวอย่างเป็นอาคารที่ใช้งานมา 20 ปีแล้ว โดยสามารถเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบก่อนหรือหลังทำประกันภัย และต้องเลือกระดับราคา จาก ต่ำ / กลาง / สูง ดังนี้
 
• ระดับต่ำ รูปแบบอาคารเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีของตกแต่งมาก พื้นเป็นพื้นขัดมัน กระเบื้องเป็นกระเบื้องยาง เป็นต้น
• ระดับกลาง รูปแบบอาคารใช้วัสดุที่มีราคาสูงขึ้น เช่น กระเบื้องแกรนิต หินอ่อน หรือปาร์เก้ เป็นต้น
• ระดับสูง เป็นอาคารที่สร้างด้วยรูปแบบซับซ้อนยิ่งขึ้น และมีช่วงเสาเกิน 5 เมตร มีการติดตั้งฝ้า และใช้วัสดุก่อสร้างเกรดดีพิเศษ
 
 
ขั้นตอนที่ 2 เลือกพื้นที่ใช้สอย
และอายุการใช้งานเพื่อคำนวณหาค่าเสื่อมราคา
หาค่าเสื่อมราคาจากพื้นที่ใช้สอย
   
     หาค่าเสื่อมราคาจากพื้นที่ใช้สอย และคำนวณเป็นหน่วยตารางเมตร โดยกรอกระยะเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จ และอายุการใช้งาน ข้อมูลส่วนนี้มีประโยชน์เพื่อวางแผนการกำหนดวงเงินเอาประกันกับบริษัทประกันภัยนั่นเอง
 
ขั้นตอนที่ 3
คำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัย
คำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัย
   
     หลังจากกรอกข้อมูลทั้งหมด ระบบจะเลือกมูลค่าที่แท้จริง ที่ได้จากการคำนวณมาแจ้งบอกทางหน้าเว็บ แต่หากคุณคิดว่ากรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออยากเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างระดับสูง กับระดับอื่น ๆ ใหม่ ก็ล้างข้อมูลเพื่อกรอกค่าต่าง ๆ เริ่มต้นใหม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้งานประเมินราคาเอาประกันภัยที่ง่ายและสะดวก ก่อนที่จะตัดสินใจวางแผนทำประกัน
 
ทั้งนี้ราคาอาจจะแตกต่างกันตามที่ผู้ประเมินแต่ละคนพิจารณาไม่เหมือนกัน เพราะต้องดูวัสดุ และโครงสร้างต่าง ๆ ว่ายังใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงความรู้ด้านการประเมินที่แตกต่างกันของเจ้าหน้าที่พิจารณาการเคลมวงเงินด้วย ทั้งนี้หากคุณเป็นผู้เอาประกันภัยและคิดว่าได้รับความไม่เป็นธรรม สามารถติดต่อไปยัง คปภ. เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับต่อไปได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
 
ข้อมูลจาก : http://www.oic.or.th
 
 READ MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา