จังหวัดไหนโดนพายุฤดูร้อนถล่ม 10-13 พ.ค.
article created at icon11/05/63

|

อ่านแล้ว 37 ครั้ง

จังหวัดไหนโดนพายุฤดูร้อนถล่ม 10-13 พ.ค.

 

กรมอุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่ม

     กรมอุตุฯ ประกาศเตือน "พายุฤดูร้อน" ถล่ม 57 จังหวัด (ประเทศไทยตอนบน รวมกทม.และปริมณฑล) ให้ประชาชนระวังผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ล่าสุด กทม. หลายพื้นที่พบฝนตกเล็กน้อยสลับปานกลาง เสี่ยงหลังคาบ้านปลิว-ต้นไม้ล้มบ้านพัง

     วันที่ 11 พ.ค. 2563 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 8 โดยระบุว่า ช่วงวันที่ 11-13 พ.ค. 2563 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

     ทั้งนี้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า

พายุฤดูร้อน คืออะไร

      พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนอง จะเกิดขึ้นในฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายนหรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน อากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นจะมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ในระยะนี้ถ้ามีลมเหนือ (อากาศเย็น) พัดลงมาจากประเทศจีน จะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่ารวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้นมีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง

ผลกระทบจากพายุฤดูร้อน

  • แผ่นป้ายโฆษณาและต้นไม้ยักโค่นล้ม
  • บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย กระเบื้องหลังคาหลุดปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน แนะนำให้ ทำประกันบ้าน
  • ฝนตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  • มีลูกเห็บตกได้ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงๆ
  • ขณะเกิดจะมีฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้คนและสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • สำหรับเกษตรกร ควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้

 

วันที่ 11-13 พ.ค. 63 พายุฤดูร้อนถล่มจังหวัดไหนบ้าง

ช่วงวันที่ 11 พ.ค. 2563

  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, น่าน, แพร่, ลำพูน, ลำปาง, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, ตาก, กำแพงเพชร, พิจิตร และเพชรบูรณ์ = 15 จังหวัด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด เลย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, สกลนคร, นครพนม, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, อำนาจเจริญ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี = 20 จังหวัด
  • ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัด นครสวรรค์, ลพบุรี, สระบุรี, ชัยนาท, อ่างทอง, สิงห์บุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, อุทัยธานี, และสุพรรณบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล = 11 จังหวัด
  • ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัด นครนายก, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และตราด = 8 จังหวัด

ช่วงวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2563

  • ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัด นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดพายุฤดูร้อน

1. ในขณะพายุถล่ม ควรอยู่แต่ภายในอาคารที่บ้านเรือนที่แข็งแรง และปลอดภัยจากน้ำท่วม จนกว่าพายุฝนฟ้าคะนองจะยุติลง

2. หากอยู่ในรถยนต์ ควรจอดรถให้อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่น้ำอาจท่วมได้

3. ควรอยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นน้ำ ออกห่างจากชายหาด เมื่อปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากน้ำท่วม และฟ้าผ่า

4. หากอยู่ในที่โล่ง ควรคุกเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น เนื่องจากพื้นเปียกเป็นสื่อไฟฟ้าและไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ ไม่ควรอยู่ในที่โดดเดี่ยวหรืออยู่สูงกว่าสภาพสิ่งแวดล้อม

5. ควรออกให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน รถแทรกเตอร์ จักรยานยนต์ เครื่องมืออุปกรณ์ทําสวนทุกชนิด รางรถไฟ ต้นไม้สูง ต้นไม้โดดเดี่ยวในที่แจ้ง

6. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ฯลฯ และควรงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน

7. ไม่ควรใส่เครื่องประดับโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง ฯลฯ ในที่แจ้ง หรือ ถือวัตถุโลหะ เช่น ร่ม ฯลฯ ในขณะปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ ควรดูแลสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง และปลอดภัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะสิ่งของที่อาจจะหักโค่นได้ เช่น หลังคาบ้าน ต้นไม้ ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า

8. แนะนำให้ทำประกันบ้าน หรือ ประกันอัคคีภัย ที่คุ้มครองบ้านและทรัพย์สินภายในบ้านจากภัยธรรมชาติ เช่น ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม และภัยลูกเห็บ 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือ สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนเพื่อนๆ คนไหนสนใจปรึกษาเรื่องประกันบ้าน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ แชทกับพี่หมีที่ Line Tqm insurance broker นะครับบบ

 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

รายละเอียดที่อยู่อาศัย

เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *

บ้านเดี่ยว

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

บ้านแฝด

ทาวน์โฮม

ทาวน์โฮม

คอนโด

คอนโด

ตึกแถว

ตึกแถว

โครงสร้างบ้าน *

จำนวนชั้น *

ลักษณะการใช้งานบ้าน *

ตำแหน่งบ้านของคุณ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application