รถหลุดจำนำ ราคาถูกซื้อต่อมีความผิดไหม
article created at icon03/05/62

|

อ่านแล้ว 3,617 ครั้ง

รถหลุดจำนำ ราคาถูกซื้อต่อมีความผิดไหม

รถหลุดจำนำ ราคาถูกๆ ซื้อมาใช้ต่อจากเขา จะมีความผิดตามกฏหมายหรือไม่

     หลายต่อหลายครั้งที่เราเคยได้ยินข่าวหลอกขายรถหลุดจำนำแล้วไฟแนนซ์ตามมายึด หากใครเคยเปิดเจอคนขายรถมือสอง ขึ้นโพสต์ว่า “รถหลุดจำนำ” ราคาถูกกว่ารถเต็นท์ แต่ก็กลัวว่าซื้อมาแล้วจะเป็นรถไม่ถูกกฎหมาย กลัวว่าขับอยู่ดี ๆ แล้วจะถูกตำรวจจับ รถแบบนี้ถูกกฎหมายไหมนะ วันนี้พี่หมีมีคำตอบมาฝากกันครับ
 

รถหลุดจำนำ คือรถแบบไหน?

รถหลุดจำนำ ราคาถูกซื้อต่อมีความผิดไหม
 
 
      รถหลุดจำนำมีตั้งแต่รถราคากลาง ๆ จนถึงรถราคาสูงอย่างรถสปอร์ต เหตุผลที่เจ้าของรถเอามาขายแบบจำนำ (คือจอดแล้วก็รับเงินไป) อาจจะมีหรือไม่มีสัญญากระดาษอย่างเป็นทางการ และบางคนก็ยังผ่อนไม่หมดด้วย ส่วนใหญ่จะราคาถูกกว่าราคาตามเต็นท์รถยนต์มือสองที่มีทะเบียนเล่มอย่างถูกกฎหมาย เพราะว่าทางเจ้าของรถต้องการเงินด่วนโอนไวจึงยอมเสียค่าส่วนต่างนี้ให้กับนายหน้า รถหลุดจำนำประเภทนี้มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายครับ
 
ทำไมเจ้าของรถถึงเอารถมาปล่อยขายในราคาถูก
     เนื่องจากบางท่านมีความประสงค์จะต้องใช้เงินสดด่วน ๆ ก็อยากจะเอารถไปเปลี่ยนเป็นเงินสดมา แต่หากเอาเข้าสินเชื่อลิสซิ่งจะใช้เวลาหลายวัน และลิสซิ่งก็ไม่รับรถที่ยังผ่อนไม่หมดด้วย ดังนั้นจึงกลายเป็นทางเลือกสีเทาให้กับเจ้าของรถที่ต้องการเงินด่วนครับ เหตุผลส่วนใหญ่ที่เจ้าของรถปล่อยรถในราคาถูก มีดังนี้
 
1) ไม่อยากทำสัญญากับบริษัทลิสซิ่ง เพราะใช้เอกสารเยอะ
2) ขาดความรู้ว่าถ้าเอารถยนต์ที่ยังผ่อนไฟแนนซ์ไม่หมดไปจำนำต่อกับบุคคลอื่น แล้วไม่ผ่อนต่อจะทำให้เสียประวัติชำระหนี้
3) รถยังมีสัญญาผ่อนกับธนาคารอยู่หลายปี และเจ้าของอยากได้เงินด่วน
 
รถหลุดจำนำเอาออกมาขับได้หรือเปล่า?
รถหลุดจำนำเอาออกมาขับบนถนนทั่วไปได้ครับ ตราบใดที่ยังมีทะเบียน และ ต่ออายุ พ.ร.บ. อย่างถูกต้องได้ แต่ปัญหาก็คือ ผู้ที่ไปซื้อรถหลุดจำนำมาแล้วไม่มีทะเบียนเล่ม เมื่อ พ.ร.บ. หมดอายุก็จะไปต่อภาษีไม่ได้ ก็เหมือนกับว่าซื้อมาใช้ได้ปีเดียว แล้วหากเอาออกไปขับขณะ พ.ร.บ.หน้ารถหมดอายุก็จะถูกจับปรับได้ หรือหากไปทำป้าย พ.ร.บ. ปลอมมาติด ก็จะยิ่งมีความผิดหนักไปกันใหญ่ ส่วนใหญ่จึงค่อยข้างไม่ถูกกฎหมายครับ
 
สรุปแล้ว..รถหลุดจำนำผิดกฎหมายไหม?
รถหลุดจำนำที่ถูกกฎหมาย ก็เหมือนกับบ้านหลุดจำนำแล้วถูกเอามาประมูลขายทอดตลาด จะถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อเจ้าของผ่อนหมดแล้ว ไม่ได้เป็นรถที่มีชื่ออยู่กับธนาคาร และมีการส่งมอบเล่มทะเบียนรถที่ถูกต้อง แต่จะเป็นรถที่ผิดกฎหมายหากเข้าเงื่อนไขดังนี้ครับ
 
1) เป็นรถที่ขโมยมาและมีการปลอมทะเบียนเล่ม, ปลอม พ.ร.บ. ซึ่งผู้ซื้อจะมีความผิดฐานซื้อของโจร โทษก็หนักเหมือนกันครับ
2) เป็นรถที่ยังผ่อนกับไฟแนนซ์ไม่หมด เจ้าของที่ถูกต้องคือธนาคารก็ไม่สามารถโอนสิทธิ์ใด ๆ ให้ผู้ซื้อได้
3) เป็นรถที่ทะเบียนเล่มยังอยู่กับเจ้าของรถ เอาไปต่อทะเบียนไม่ได้
 
     ดังนั้นทางออกของการขายรถในราคาถูกและถูกกฎหมาย ก็คือขายให้กับญาติพี่น้อง แล้วโอนทะเบียนเล่มกันอย่างถูกต้องที่ขนส่งจังหวัดที่รถอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีทั้งวิธีที่เรียกว่าโอนลอย โดยทำหนังสือจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนแล้วค่อยไปแจ้งชื่อเปลี่ยนผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยดูว่าต้องไปทำเรื่องที่ขนส่งจังหวัดใดจากคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบนั้น ๆ
 
     รถหลุดจำนำ แม้แจ้งว่ามีเล่มแต่ราคาถูก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นรถผิดกฎหมาย ไม่แนะนำให้ซื้อรถหลุดจำนำจากผู้ขายที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน รถประเภทนี้หากไม่ได้มาจากเจ้าของที่ร้อนเงิน หรืออาจจะเป็นรถยนต์ที่เคยผ่านการก่อเหตุ ผู้ซื้อต้องคิดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนะครับ
 
 
READ MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา