ทริคเช็ครถมือสอง
article created at icon02/02/61

|

อ่านแล้ว 552 ครั้ง

ทริคเช็ครถมือสอง

 

ซื้อรถมือสองอย่างไร 

ไม่ให้โดนย้อมแมว

 
    การจะซื้อรถสักคัน ก็คงมีหลายเรื่องที่ต้องคิด และยิ่งเป็นรถมือสองแล้วด้วย พี่หมีขอบอกเลยนะครับว่า ต้องตรวจสอบและเช็ครถให้ดีเพิ่มเป็น 2 เท่า เพราะไม่อย่างนั้น อาจจะโดนย้อมแมวได้ง่ายๆ นอกจากจะต้องเสียเงินเพิ่มแล้ว อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากรถบางคันที่นำมาขายต่อเป็นมือสอง อาจเคยประสบอุบัติเหตุมาก่อนหรือผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน ทำให้รถเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆหรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สมบูรณ์ วันนี้พี่หมีจึงนำเอาวิธีการเช็ครถมือสองของช่างมาฝากกัน รับรองว่าเช็คเองได้และไม่ถูกย้อมแมวอย่างแน่นอน จะต้องเช็คตรงไหนบ้าง ตามมาดูกันเลยครับ
 
1. รูปทรง
 
 
    ขั้นแรก เริ่มจากการสำรวจคร่าวๆด้วยตาว่า เวลาจอดรถบนพื้นราบว่ารถเอียงไหม ทรงรถสมส่วนหรือเปล่าและที่สำคัญให้ลองมองไปที่ช่องไฟของประตูว่า เสมอกันหรือไม่ ถ้าไม่เสมอกัน แปลว่ารถคันนี้ต้องเคยถูกชนและถอดประตูออกมาซ่อมแล้วนั้นเอง
 
2. สี
 
 
    ลองสำรวจดูสีรอบๆคันว่า มีลักษณะเป็นคลื่นหรือดูใหม่ผิดปกติหรือเปล่า แล้วลองเคาะเบาๆ ถ้ายังไม่เคยทำสี เสียงจะโปร่งๆ แต่ถ้าเป็นเสียงทึบๆละก็ ให้ฟันธงไปเลยครับว่ารถคันนี้เคยผ่านการทำสีมาใหม่หรืออาจเคยชนจนสีถลอกมาก่อน
 
3. คาน
 
 
    ต่อมาเราลองมาเปิดฝากระโปรงรถดู ให้มองดูที่คานหน้ารถ ว่ามีรอยบุบ รอยขันหัวน็อตหรือสติ๊กเกอร์ของบริษัทว่ายังติดอยู่ไหมและใหม่เกินไปรึเปล่า เพราะช่างบางอู่อาจจะเปลี่ยนใหม่ให้ทั้งอัน ดังนั้นการที่สติ๊กเกอร์ยังใหม่อยู่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เคยชนมาก่อนนะครับ
 
4. แก้มข้าง
 
เครดิตภาพ : www.one2car.com
 
    ที่นี้ให้เรามองไปที่ขอบด้านข้างฝากระโปรง ว่ารอยนูน ทั้ง 2 ฝั่งเหมือนกันไหม ถ้ามีด้านไหนยุบหรือบิดเบี้ยวไป ก็สันนิษฐานได้เลยครับว่าด้านนั้นเคยชนมาแล้วแน่ๆ
 
5. ประตูและขอบประตู
 
เครดิตภาพ : content.icarcdn.com
 
    ให้เราลองเปิดประตู และดึงขอบยางออกมาดู ถ้ารถที่ไม่เคยซ่อม ตรงขอบประตูจะมีรอยกลมๆ หรือ “อาร์ค” อยู่รอบประตู อย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้ารอยหายไปหรือบิดเบี้ยวไปจากเดิม ก็แปลว่าข้างนั้นเคยถูกชนไปแล้วเรียบร้อยครับ
 
6. ตะเข็บหลัง
 
เครดิตภาพ : www.one2car.com
 
    ลองมาดูที่ฝาท้ายกันบ้างนะครับ ให้เปิดฝาท้ายขึ้นมาแล้วดูที่ขอบข้างว่า รอยอาร์คทั้งสองฝั่ง มีสภาพเหมือนกันไหม ถ้ารอยอาร์คข้างไหนหายไป ให้ชั่งใจก่อน เพราะรถคันนี้อาจเคยโดนชนท้ายมาแล้ว
 
7. เครื่องยนต์
 
 
    พอสำรวจด้านนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่นี้ลองมาดูเครื่องยนต์กันบ้าง ให้เราลองสตาร์ทเครื่อง แล้วดูที่เกจ์วัดรอบเครื่องยนต์ว่าคงที่ไหม ถ้ารอบเครื่องยนต์ไม่คงที่แสดงว่าลูกสูบทั้ง 4 สูบ ของเครื่องยนต์ทำงานไม่ครบวงจรหรืออาจมีส่วนใดส่วนหนึ่งของลูกสูบทำงานผิดปกติไปอย่างแน่นอนครับ
 
8. เกียร์
 
 
    ต่อมาให้ลองเข้าเกียร์ ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ ให้ลองเข้าเกียร์ D เพื่อเดินหน้า ลองดูว่ารถเดินหน้ารึเปล่า หรือถ้าเป็นเกียร์กระปุก ก็ให้ขับไปเรื่อยๆ เข้าเกียร์ 1 แล้วขึ้นเป็นเกียร์ 2 ดูว่าเข้าได้เลยทันทีไหม มีเสียงแปลกๆรึเปล่า ถ้ามีอาการเหล่านี้ ให้ปฏิเสธรถคันนี้ไปได้เลยครับ เพราะว่า ถ้าเอาไปซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ที่หลัง อาจจะแพงกว่าราคารถก็ได้นะครับ
 
9. ช่วงล่าง
 
 
    ช่วงล่าง เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง สามารถเช็คได้จากการเลี้ยวหรือลองขับเข้าโค้ง ให้สังเกตว่าพวงมาลัยหมุนกลับมาเองได้ไหม หรือมีเสียงดังกุกๆกักๆรึเปล่า เพราะว่าถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้น แปลว่า คุณอาจจะต้องเสียเงินเปลี่ยนเพลา ลูกหมาก หรือโช้ค ก็เป็นได้
 
10. เลขตัวถังและเลขเครื่องยนต์
 
 
    สุดท้าย คือให้เช็คเลขตัวถังและเลขเครื่องยนต์ว่าตรงกับเล่มรถหรือไม่ ซึ่งตำแหน่งเลขของรถยนต์แต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน ถ้าหาไม่เจอ พี่หมีแนะนำให้ดูที่เล่มรถ เพราะจะมีเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า เลขเครื่องอยู่ตรงไหน
 
 
    เป็นยังไงกันบ้างครับ กับวิธีเช็ครถไม่ให้โดนย้อมแมวที่พี่หมีได้นำมาฝากกัน ใครที่กำลังคิดจะซื้อรถมือสองก็ลองไปทำตามกันดูนะครับ จะได้ไม่ต้องเสียเงินซ่อมเพิ่มอีกภายหลัง ส่วนครั้งหน้าพี่หมีจะมีทริคอะไรดีๆมาฝากกันอีก ติดตามกันต่อนะครับ
 
ขอบคุณข้อมูลจาก 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา