นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?
article created at icon28/03/63

|

อ่านแล้ว 68 ครั้ง

นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?

นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย พบยอดผู้ป่วยจากหลักสิบสู่หลักพันภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ซึ่งยอดผู้ป่วยสะสม 1,524 คน  รักษาอยู่ 1,406 รักษาหายแล้ว 111 คน เสียชีวิต 7 คน (อัพเดตข้อมูลวันที่ 30/03/63)หลายบริษัทมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน (work from home) หรือหยุดโดยไม่ได้รับเงินเดือน (leave without pay) แต่สำหรับบางคนเชื่อว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นจะต้องเดินทางไปทำงาน อยู่ในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ จนกลายเป็นความรู้สึกกังวลและเกิดคำถามในใจว่า นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?
 
     แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราติดโควิดหรือยัง ต้องเริ่มต้นจากการ เช็คอาการด้วยตัวเองก่อน หากมีความสุ่มเสี่ยงสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรเดินทางตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างละเอียดที่โรงพยาบาล และถ้าผลตรวจออกมาว่า เราคือผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้นมาจริงๆ เราจะเข้ารับรักษาที่ไหน มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาอะไรบ้าง วันนี้พี่หมี TQM มีคำตอบครับ

ขั้นตอนที่ 1 เช็คอาการ เราเสี่ยงโควิด-19 หรือเปล่า

     อาการโควิด-19 สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยจะมีอาการหลักๆ ดังนี้ (อ่าน เช็กอาการติดไวรัสโคโรนาหรือแค่ป่วย)
กรณีที่ 1 ไม่มีอาการ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 ไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 2 ไม่มีอาการ แต่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 3 มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 ไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 4 มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ แต่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ควรไปตรวจ
กรณีที่ 5 มีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย ควรไปตรวจ
กรณีที่ 6 มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย + อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เจ็บหน้าอกฉับพลัน วูบหมดสติ ควรไปตรวจ
     ทั้งนี้หากมีอาการเข้าข่าย กรณีที่ 4-5 ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ถ้าอาการหนักมากอาจทำให้อวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลวได้
 
เช็คอาการ เราเสี่ยงโควิด-19 หรือเปล่า

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาล 

     ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเพิ่มความชัวร์ว่า เราติดโควิด19 จริงๆ หรือเปล่า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลนั้นๆ แต่สำหรับผู้เข้าตรวจมีอาการหรือประวัติตรงตามเกณฑ์จะสามารถเข้าตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี
 
     ตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้
1. เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
2. มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
3. มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
4. มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุ
5. มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ (อ่าน 37สถานที่เสี่ยงใครไปต้องกักตัว)
6. ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
 

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมค่าตรวจ

     ค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ตรวจหาเชื้อในทางเดินหายใจ) 
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราคา 3,000 – 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ราคา 3,000 – 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคา 5,000 บาทขึ้นไป
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ราคา 7,500 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ราคา 6,100 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 3 ราคา 6,100 บาท
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ราคา 8,000 บาท
  • สถาบันบำราศนราดูร ราคา 2,500 - 14,000 บาท
  • โรงพยาบาลพระราม 9 ราคา 8,000 – 10,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ราคา 5,000 - 13,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4 ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลเกษตร ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ราคา 9,900 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ราคา 5,000 - 10,000 บาท
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ราคา 10,500 บาท

ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาล
ภาพจาก https://www.mcot.net/

ขั้นตอนการตรวจร่างกายหาเชื้อไวรัสโควิด-19

1. ควรอยู่ในพื้นที่รองรับผู้ป่วยที่มาตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้เท่านั้น
2. เมื่อเข้าพบแพทย์แล้ว ให้บอกอาการและประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงประวัติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลก่อนหน้า 14 วัน (ผู้ป่วยควรตอบตามความเป็นจริง)
3. หากประเมินอาการแล้วเสี่ยงติดเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อด้วย 2 วิธี
- ใช้สำลีพันก้านยาวๆ สอดเข้าไปในจมูก
- ใช้สำลีพันก้านยาวๆ ป้ายลึกเข้าไปในปากตรงต่อมทอนซิล และคอด้านหลัง
4. แพทย์จะนำสำลีก้านนั้นไปตรวจหาเชื้อโควิด 19 ห้องแล็ป ใช้เวลากว่าจะรู้ผล 8-12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากมีผู้เข้าตรวจจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหลายวัน
5. ระหว่างที่รอผล หากผู้ป่วยมีอาการหนัก แพทย์จะให้พักรักษาตัวตามอาการอยู่ที่โรงพยาบาลพร้อมรอฟังผลตรวจ แต่หากผู้ป่วยคนไหน มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถกลับบ้านได้โดยจะต้องกักตัวเอง ไม่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้อื่น ใส่หน้ากากอนามัยและดูแลตัวเองอย่างดีที่สุด และเมื่อรู้ผลจะมีเจ้าหน้าที่โทรไปแจ้ง
6. หากผลตรวจออกมาเป็น negative หรือผลลบ แสดงว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ถ้าผลตรวจออกมาเป็น positive หรือผลบวก คือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลทันที

ขั้นตอนที่ 3 เข้ารับรักษาโควิด-19 กับโรงพยาบาล

     นาทีที่รู้ว่าป่วยโควิด-19 จริงๆ คุณจะกลายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน และมีเจ้าหน้าที่ขับรถมารับผู้ป่วยที่บ้านเพื่อนำผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะมีทั้งโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หากเลือกเข้ารักษากับโรงพยาบาลรัฐ เราจะถูกส่งตัวไปรักษาตามที่ทางรัฐกำหนดให้ แต่ถ้าโรงพยาบาลรัฐมีเตียงรองรับไม่เพียงพอ การเข้ารับรักษากับทางโรงพยาบาลเอกชนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
     การเลือกเข้ารักษาในโรงพยาบาลนั้น ควรเลือกโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิการรักษาของตนเองก่อน เช่น มีประกันสุขภาพเอกชนส่วนตัว ให้ใช้สิทธิประกันสุขภาพส่วนตัว แต่ถ้าไม่มีประกันสุขภาพจะต้องใช้โรงพยาบาลที่อยู่ในเครือประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมเช็คจำนวนเตียงที่รองรับกับทางโรงพยาบาลก่อนเสมอนะครับ
 
เข้ารับรักษาโควิด-19 กับโรงพยาบาล
ภาพจาก https://www.matichon.co.th/

รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างไร

     เมื่อผู้ป่วยถึงมือหมอแล้ว ทางการแพทย์จะมีวิธีการรักษาดังนี้
1. สิ่งแรกที่แพทย์จะทำคือ ส่งตัวผู้ป่วยไปพักในห้องแยกโรคเดี่ยวหรือห้องเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมประเมินอาการ และรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดทั่วไป
2. ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านไวรัสในปริมาณที่เหมาะสมกับของแต่ละคน 
3. ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น จะถูกย้ายไปที่ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (AIIR) และมีแพทย์คอยดูแล เฝ้าระวัง ติดตามอาการ และรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น
4. หากผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง ถ้าผลออกมาไม่พบเชื้อ จะมีการตรวจซ้ำครั้งที่สอง เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่พบเชื้อจริง โดยจะต้องเว้นระยะห่างจากการตรวจแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

     เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าค่ารักษาพยาบาลที่ต้องใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชนเมื่อเราเจ็บป่วย และแพทย์ลงความเห็นว่าควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนนั้น ค่ารักษาพยาบาลซึ่งเฉพาะเพียงค่าห้องพักผู้ป่วยของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเรานั้น เฉลี่ยเริ่มต้นที่ 2,400 – 10,600 บาท / คืน 
 
     แต่หากท่านต้องเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อโควิค-19 ซึ่งกำลังเป็นโรคติดต่ออันตรายในปัจจุบัน แผนการรักษาที่เราจะได้รับนั้นต้องแตกต่างไปจากผู้ป่วยปกติ และต้องได้รับการรักษาที่เฉพาะทางเป็นกรณีพิเศษมากกว่าโรคทั่วไป เราต้องนอนห้องแยกที่จัดเตรียมไว้เฉพาะสำหรับผู้ป่วยโควิค-19 ซึ่งเป็นห้องแยก Negative pressure ที่ต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์พิเศษ และต้องมีแพทย์ พยาบาลเฉพาะทางเป็นผู้ดูแลเรียกได้ว่าการดูแลนั้น เทียบเท่าห้อง ICU เลยทีเดียว หรือหากอาการหนักอาจต้องนอน ICU นั่นหมายถึงเราต้องเสียค่าห้องเฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่เฉลี่ย 7,000-80,000/ คืน หากนอน 7 คืนค่าห้อง เฉลี่ย 49,000-560,000 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าบริการ อื่นๆ อีกมากมาย  เช่น ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด  ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสี ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ ค่าบริการพยาบาล ค่าบริการโรงพยาบาล/วัน  ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางแพทย์ ค่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน กรณีไปรับตัวที่บ้าน ค่าบริการอื่นๆ...
 
     ดังนั้นหากประมาณการค่ารักษาพยาบาล เมื่อเราเจ็บป่วยด้วยโรคโควิค-19 และต้องนอนโรงพยาบาลเอกชนรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเตรียมไว้ คาดว่าเกิน 1 แสนแน่นอน (แต่ละโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอาการ โรคแทรกซ้อนของผู้ป่วย และอัตราค่ารักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ)
 
     พี่หมีขอแนะนำ ประกันภัยที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโควิด-19 เบี้ยหลักร้อนคุ้มครองหลักล้าน คลิก ประกันภัยโควิด-19
 
     การรักษามักมาพร้อมค่าใช้จ่าย ซึ่งการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษา (แบบคร่าวๆ) ดังนี้
1. ค่าห้องและค่าอาหาร (ราคาตามประกาศของแต่ละโรงพยาบาล)
2. ค่าห้องผู้ป่วยหนัก กรณีต้องนอน ICU ค่าห้องปกติ ค่าห้องICU (ราคาตามประกาศของแต่ละโรงพยาบาล)
3. ค่ารักษาพยาบาล  ได้แก่ 
ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด 
ค่ายากลับบ้าน 
ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสี 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีพิเศษ ตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ เช่น  CT 
ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ 
ค่าบริการพยาบาล/วัน (ราคาห้องปกติกับห้องICU ห้องแยกราคาต่างกัน) ราคาขึ้นอยุ่กับประกาศของโรงพยาบาลนั้น ๆ
ค่าบริการโรงพยาบาล/วัน  
4. ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางแพทย์ ได้แก่ 
ค่าแพทย์ตรวจผู้ป่วยนอกครั้งแรก 
ค่าแพทย์ตรวจรักษากรณีผู้ป่วยในครั้งแรก 
ค่าตรวจรักษากรณีผู้ป่วยในครั้งต่อไป (ค่าแพทย์ตรวจทุกวัน) 
ค่าสรุปเวชระเบียนเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน 
ค่าแพทย์ที่ปรึกษาเฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ
5. ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน กรณีไปรับตัวที่บ้าน
6. ค่าบริการอื่นๆ
 
     ไขข้อสงสัยกันไปแล้วกับคำถามในใจที่ว่า นี่เราติดโควิด-19หรือยัง แล้วถ้าติดเชื้อจะทำอย่างไร แต่จะดีกว่าถ้าเราระมัดวังตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ใช้เจลแอลกอฮอล์ยามจำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุกแล้ว กินร้อนช้อนกลาง งดไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือแออัด เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเราเองได้รับเชื้อไวรัส และสุดท้ายนี้พี่หมี TQM ขอส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงคนไทยทุกคนผ่านวิกฤติหนีไปด้วยกันนะครับ
 
 
 
READ MORE : 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา