น้ำท่วมไทยปี 65 มีเกณฑ์เกิดขึ้นมากแค่ไหน
article created at icon28/06/65

|

อ่านแล้ว 211 ครั้ง

น้ำท่วมไทยปี 65 มีเกณฑ์เกิดขึ้นมากแค่ไหน

     ปฎิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ฝนตกหนักก่อนถึงฤดูในปี 65 นี้ ทำให้หลายคนกังวลจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยมหาอุทกภัยปี 54 ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านต่างออกมาประเมินความเสี่ยง จะจับตาดูแนวโน้มเพื่อรับมือกับผลกระทบ เช่นเดียวกับทาง งานวิจัยกรุงศรี เผยแพร่บทความเรื่อง ความเสี่ยงอุทกภัยในปี 2565 ไว้ วันนี้พี่หมี TQM จึงขออนุญาตหยิบยกมาให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึง สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65 จะเผชิญน้ำท่วมใหญ่หรือไม่ มาฝากกันครับ

สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65

     สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65 จะเผชิญอุทกภัย มีดังนี้

ค่าดัชนีชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทร ONI

     ค่าดัชนีชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแนวเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เริ่มบ่งชี้ภาวะลานีญา มาต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายว่า อุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณฝนเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ทั้งนี้ ข้อมูลดัชนีฯ ล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ -1.1 แสดงถึง ภาวะลานีญาในระดับปานกลาง
 

คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในประเทศ

     ใน ปี 2565 มีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนมากกว่าระดับปกติ 3% โดยอยู่ที่ประมาณ 1,635 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าปี 2564 แต่ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติจะเติมปริมาณน้ำในเขื่อนให้สูงขึ้น

ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง

     ช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 ปริมาณน้ำทั้งหมดในเขื่อนขนาดใหญ่อยู่ที่ 40,045 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56.5% ของปริมาตรความจุน้ำในอ่างเก็บกัก ซึ่งเป็นระดับน้ำที่สูงสุดในรอบ 3 ปี และสูงกว่าปี 2554 (ปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่) ที่มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 38,132 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55% ของปริมาตรความจุฯ เช่นเดียวกับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ 63.9% ของปริมาตรความจุฯ
 

 

ปริมาณพายุ

     กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าประเทศไทย ในปี 2565 จะเผชิญพายุหมุนเขตร้อนจำนวน 2 ลูก โดยเคลื่อนที่ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม สถิติปริมาณพายุที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยย้อนหลังพบว่ามาตรฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ลูกต่อปี และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 2.6 ลูก

อิทธิพลของพายุ 

     นอกจากปริมาณพายุแล้ว ยังเผชิญความเสี่ยงจากอิทธิพลของพายุ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่อาจจะสลายตัวในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านหรือเปลี่ยนทิศทางเข้าสู่ประเทศไทยได้ สะท้อนจากค่าดัชนีสมุทรศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ PDO และ IOD มีค่าเป็นลบที่ -2.1 เมื่อเดือนเมษายน 2565 และ -0.4 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มจะมีค่าเป็นลบต่อเนื่องถึงสิ้นปี สะท้อนถึงปริมาณฝนที่จะตกในประเทศเพื่อนบ้านและเข้าสู่ไทยมากขึ้น
 

 

สถานการณ์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวัง

ประเทศจีนน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี

     สำนักข่าวรอยเตอร์นำเสนอรายงานของสำนักข่าวซินหัว ซึ่งระบุว่า 2 มณฑลของจีนได้ยกระดับการเตือนภัย ได้แก่ เมืองเฉากวน มณฑลกวางตุ้ง ประกาศเหตุฉุกเฉินจากอุทกภัยขึ้นเป็นระดับ 1 ซึ่งเป็นระดับที่มีความรุนแรงสูงสุด หลังจากปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนับตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค. แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน หน่วยงานท้องถิ่นประจำมณฑลเจียงซีของจีนได้ออกประกาศฉุกเฉินในระดับสูงสุด เนื่องจากน้ำท่วมถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์และแม่น้ำล้นตลิ่งหลังจากฝนตกหนักมาหลายสัปดาห์
 
     อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสัญญาณความเสี่ยงที่ควรจับตามอง เช่น ภาวะน้ำทะเลหนุน หรือปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้น ฉะนั้นเราควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดการเตือนภัย และมีหลักประกันอย่าง ประกันบ้าน ประกันรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม ช่วยผ่อนหนักกลายเป็นเบาได้ ในวันที่ภัยมา
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

รายละเอียดที่อยู่อาศัย

เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *

บ้านเดี่ยว

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

บ้านแฝด

ทาวน์โฮม

ทาวน์โฮม

คอนโด

คอนโด

ตึกแถว

ตึกแถว

โครงสร้างบ้าน *

จำนวนชั้น *

ลักษณะการใช้งานบ้าน *

ตำแหน่งบ้านของคุณ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา