ป่วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน หลังกินไส้กรอก!
article created at icon16/03/65

|

อ่านแล้ว 850 ครั้ง

ป่วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน หลังกินไส้กรอก!

เตือนภัยไส้กรอก ทำป่วยได้

    ไส้กรอก เนื้อแน่นๆ เป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ แต่เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเตือนภัยหลังพบว่าเด็ก 6 รายป่วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน จากการกินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ เป็นใครก็คงตกใจ เพราะไส้กรอกที่เคยทานประจำ กลับมาทำให้เราป่วยแบบไม่รู้ตัว วันนี้พี่หมี TQM จึงจะพาไปทำความรู้จักกับ ภาวะเมทฮีโมโกลบินคืออะไร ทำไมไส้กรอกถึงเป็นต้นเหตุของโรคนี้ และอาการรุนแรงแค่ไหน ไปดูกันครับ
 

ภาวะเมทฮีโมโกลบินคืออะไร

     เมธฮีโมโกลบิน คือฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ดี โดยปกติร่างกายจะมีระดับความเข้มข้นของเมทฮีโมโกลบินประมาณ 1% หากร่างกายมีสัดส่วน(ร้อยละ) ของเมธฮีโมโกลบินมากขึ้น สัดส่วนของฮีโมโกลบินปกติที่ทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและอวัยวะจะลดลงและเพิ่มความรุนแรงของภาวะขาดออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย และสีเม็ดเลือดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ
 
อันตรายของไส้กรอก
 

ทำไมไส้กรอกถึงเป็นต้นเหตุของภาวะเมทฮีโมโกลบิน

     โดยทั่วไปในไส้กรอกที่ผ่าน อย. จะมีสารประเภทไนไตรท์ในปริมาณที่กำหนด เพื่อใช้ในการคงสภาพสีแดงอมชมพูและถนอมอาหาร แต่ในไส้กรอกที่ไม่มียี่ห้อหรือไม่ได้รับมาตรฐาน อาจมีการใช้สารไนเตรทและไนไตรท์ เพื่อเป็นวัตถุกันเสียมากเกินกำหนด ส่งผลเสียต่อร่ายกายโดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่  ซึ่งปกติร่างกายคนเราได้รับสารออกซิแดนต์ในขนาดน้อยๆ จากแหล่งต่างๆ แต่ไม่เกิดปัญหา เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเมทฮีโมโกลบิน กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติได้ แต่หากมีปริมาณเมทฮีโมโกลบินสูงมากๆ (ได้รับสารออกซิแดนท์เยอะเกินไป) ร่างกายจะเปลี่ยนเมทฮีโมโกลบินคืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งในเด็กความสามารถในการเปลี่ยน จะน้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเกิดเมทฮีโมโกลบินได้ง่ายกว่า
 
     นอกจากสารจำพวกไนไตรท์ ยังมีสารเคมีอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะเมทฮีโมโกลบินได้เช่นกัน ได้แก่  สารกำจัดวัชพืชบางชนิด อาหารที่มีปริมาณดินประสิวเกินขนาด สีย้อม ลูกเหม็น น้ำดื่มที่ปนเปื้อนปุ๋ยไนเตรท คลอโรเบนซีน เป็นต้น
 
อาการของภาวะเมทฮีโมโกลบิน
 

อาการของภาวะเมทฮีโมโกลบิน

     การแสดงอาการของภาวะเมทฮีโมโกลบิน ได้แก่ หายใจลำบาก เหนื่อยล้า อาเจียน ซึม สับสน ปากเขียวคล้ำ ซีด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะปลายมือเขียวคล้ำ ตรวจพบออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ และหมดสติ แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงกว่า คือมีอาการชัก อาการโคม่าและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งสุขภาพของผู้ป่วยมีผลต่ออาการที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดภาวะติดเชื้อหรือมีฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอื่นๆ (เช่นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ซัลเฟโมโกลบิน หรือเคียวเฮโมโกลบิน) อาจมีอาการปานกลางถึงรุนแรง
 
     ระดับสัดส่วนเมธฮีโมโกลบินในเลือด (%) แสดงอาการแตกต่างกัน ดังนี้
  • < 3 ไม่มีอาการ
  • 3-15 ระดับออกซิเจนจาก pulse oximeter ต่ำลง
  • 15-19 ผิวหนัง ปลายมือและเท้า ริมฝีปาก สีคล้ำ
  • 20-49 หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายขึ้น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นลม
  • 50-60 ชีพจรเร็ว หายใจเร็ว ภาวะ metabolic acidosis ซึม ชัก หมดสติ
  • >70 เสียชีวิต

การตรวจพบและการรักษา

     กาารรตรวจวินิจฉัยภาวะเมทฮีโมโกลบิน คือการตรวจสัญญาณชีพและการตรวจวัด pulse oximetry ซึ่งเป็นเครื่องมือทางคลินิกที่มีประโยชน์มากในการประเมินและติดตามอาการของผู้ป่วยเบื้องต้น
 
     การรักษาประคับประคองและตามอาการ
  • ผู้ป่วยบางรายจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อเตรียมการให้ยารักษาในภาวะฉุกเฉิน
  • ผู้ป่วยบางราบได้รับการรักษาด้วยออกซิเจนเสริมหากผู้ป่วยมีสัญญาณของภาวะเมธฮีโมโกลบินนีเมีย เช่นอาการ cyanosis อาการเหนื่อย
  • ผู้ป่วยบางรายจะได้รับการทดแทนสารน้ำทางหลอดเลือดดำและยาเพิ่มความดันโลหิตหากมีภาวะความดันโลหิตต่ำ 
  • ผู้ป่วยบางรายอาจต้องการใส่ท่อช่วยหายใจและการช่วยหายใจหากมีภาวะหมดสติหรือการหายใจไม่เพียงพอ
  • สำหรับรายที่รุนแรงอาจพิจารณาใช้ยา methylene blue (มีในระบบยาต้านพิษ) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงจากการได้รับสารออกซิแดนท์ร่วมด้วยต้องมีการติดตามระดับเกลือแร่ ให้สารน้ำและเลือดทนแทน
 
     ฉะนั้นเมื่อมีควรเลือกไส้กรอกยี่ห้อที่ผ่าน อย. แล้ว เพื่อเป็นการรับรองว่าจะไม่พบสารประเภทไนไตรท์ในปริมาณที่เกินกำหนด ป้องกันการเกิดภาวะเมทฮีโมโกลบิน แต่หากตรวจสอบดีแล้วกลับมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว ควรรีบไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียในที่สุด ทั้งนี้สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ อาการป่วยไม่เคยบอกล่วงหน้า ฉะนั้นการมีประกันสุขภาพไว้อุ่นใจกว่า อย่างน้อยมีประกันช่วยแบ่งเบาค่ารักษา ไม่กระทบเงินเก็บ ช่วยดูแลค่ารักษา ค่าห้อง ค่ายา และยังคุ้มครองโควิดทุกสายพันธุ์ สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทรสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application