รักษาอาการนิ้วล็อคของมนุษย์เงินเดือน
article created at icon02/11/62

|

อ่านแล้ว 67 ครั้ง

รักษาอาการนิ้วล็อคของมนุษย์เงินเดือน

วิธีรักษาอาการนิ้วล็อคของมนุษย์เงินเดือน

 
     อาการ “นิ้วล็อค” ถือเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานออฟฟิศ เนื่องจากต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมถึงการเกร็งนิ้วมือในขณะที่ทำงาน อีกทั้งการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เปลือกหุ้มเส้นเอ็นมีอาการอักเสบ หรือบวม ทำให้ขาดความยืดหยุ่น และนิ้วไม่สามารถยืด หรืองอได้ จึงทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคโดยมีอาการเบื้องต้น ดังนี้
 
- เมื่องอนิ้ว หรือยืดนิ้วจะรู้สึกดังกึก
- เกิดอาการนิ้วแข็งในตอนเช้า
- มีความรู้สึกตึง และเหมือนมีอะไรนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
- เกิดอาการนิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อยืดนิ้วแบบกะทันหัน
- เกิดอาการนิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว และยืดกลับมาไม่ได้
 
     ทั้งนี้ทั้งนั้น นิ้วล็อคถือเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นเมื่องอนิ้ว แล้วไม่สามารถทำงานยืดนิ้วให้ตรงได้ ซึ่งเกิดจากปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้วอักเสบ ส่งผลให้เอ็นและกล้ามเนื้อภายในไม่สามารถทำการยืดหดได้ รวมถึงทำให้มีอาการนิ้วล็อคยืดตรงไม่ได้ ส่วนมากจะเกิดกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง รวมถึงสามารถเกิดพร้อมกันหลายนิ้ว และอาจเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ข้างได้เช่นกัน
 
ปัญหานิ้วล็อคสำหรับมนุษย์เงินเดือน ทำยังไงได้บ้าง
 
สำหรับบุคคลที่เสี่ยงประสบกับปัญหานิ้วล็อค ได้แก่…
ผู้หญิง : มีโอกาสเกิดอาการนิ้วล็อคมากกว่าผู้ชาย
ผู้สูงอายุ : เกิดจากการที่ใช้งานสะสมเป็นเวลานาน อีกทั้งทำให้เส้นเอ็นเสื่อมอีกด้วย
 
นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวาน ก็มีความเสี่ยงเกิดอาการนิ้วล็อคได้เช่นกัน
 
อาการนิ้วล็อคมี 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : มีอาการเจ็บบริเวณฝ่ามือ แต่นิ้วมือสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ระยะที่ 2 : ปลอกเส้นเอ็นตีบแคบลง ทำให้เคลื่อนไว้มือลำบาก อีกทั้งเวลางอนิ้วจะมีอาการสะดุด แต่สามารถงอได้
ระยะที่ 3 : เวลากำมือจะมีอาการค้าง ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือออกได้
ระยะที่ 4 : ปลอกเอ็นตีบและคบมาก ทำให้เอ็นผ่านจุดคอดไม่ได้ ส่งผลให้กำมือไม่ลง
 
เพื่อป้องกันอาการนิ้วล็อคไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณ! พี่หมีมีข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีอาการนิ้วล็อค มาบอกครับ
- การถือของ หรือแบกของที่มีน้ำหนักมากเป็นเวลานาน เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ้วล็อค รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกด หรือกิจกรรมต่างๆ ก็มีความเสี่ยงทำให้นิ้วล็อคเช่นกัน
- ผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงเกิดนิ้วล็อคได้! โดยนิ้วที่มักเกิดขึ้นคือนิ้วโป้ง เนื่องต้องใช้จุดไฟแช็ดบ่อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยช่วงอายุที่พบบ่อยคือ อายุ 40-60 ปี
- มักเกิดกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อ อาทิ โรคเบาหวาน, โรคเกาต์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ และโรคอะไมลอยด์โดซิส
 
อาการ “นิ้วล็อค” ถือเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานออฟฟิศ
 
ตามข้อมูลของโรงพยาบาลพญาไทได้บอกถึงวิธีรักษาอาการนิ้วล็อคเอาไว้ ดังนี้
 
พักการใช้มือ : ควรพักการใช้มือในการออกแรง หรือยกของหนัก รวมถึงงดกิจกรรมที่ต้องใช้มือประมาณ 3-4 สัปดาห์
ประคบร้อนหรือเย็น : สามารถทำการรักษาเบื้องต้นด้วยการประคบร้อน หรือประคบเย็น โดยจะช่วยให้อาการนิ้วล็อคดีขึ้น แนะนำให้ทำในช่วงเช้าจะได้ผลดีที่สุด
ใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว : การใส่ Splinting หรือ อุปกรณ์สำหรับดามนิ้วจะช่วยให้นิ้วตรง ไม่งอหรือเหยียดเกินไป รวมถึงช่วยให้ได้พักนิ้วอีกด้วย ในกรณีที่มีอาการนิ้วล็อคช่วงเช้า แพทย์จะให้ใส่ที่ดามนิ้วในตอนกลางคืน ป้องกันไม่ให้นิ้วเกร็ง หรืองอในระหว่างที่นอนหลับ
ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเบาๆ มีส่วนช่วยให้นิ้วเคลื่อนที่ได้ปกติ
รักษาด้วยยา : ยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่สามารถบรรเทาอาการบวมบริเวณปลอกหุ้มเอ็นนิ้วได้
รักษาด้วยการศัลยกรรม : หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อีกหนึ่งวิธีที่สามารถรักษาได้คือการรักษาด้วยการศัลยกรรม และรักษาด้วยวิธีการแพทย์แบบอื่น
 
     นอกจากมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานออฟฟิศจะเสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อคแล้ว บุคคลอื่นๆ ก็มีโอกาสประสบกันปัญหานี้ได้เช่นกัน เพราะการเล่นโทรศัพท์ หรือเล่นเกมเป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของอาหารนิ้วล็อค! หากพบอาการผิดปกติ พี่หมีแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหนักถึงขั้นรักษายาก! นอกจากนี้การทำประกันสุขภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรละเลย ให้ความคุ้มครองโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างนิ้วล็อคด้วย เนื่องจากจะช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายยามเมื่อคุณเจ็บป่วยได้อย่างครอบคลุม โดยประกันสุขภาพ TQM เป็นประกันภัยสุขภาพมนุษย์เงินเดือน ที่ให้การคุ้มครองสูงสุด 400,000 บาท ผ่อน 0% ไม่ต้องสำรองจ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
 
READ MORE : 
 
 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา