วิธีรับมือกับพายุปาบึก
article created at icon08/01/62

|

อ่านแล้ว 134 ครั้ง

วิธีรับมือกับพายุปาบึก

การรับมือกับพายุปาบึก และพายุอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
 
     เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2562 ที่ผ่านมาประเทศไทยทางภาคใต้ได้ประสบปัญหา “พายุปาบึก” พายุโซนร้อนที่ถูกพัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ในวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ที่เกิดจากความกดอากาศต่ำกำลังแรงและพัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนที่อยู่ชายฝั่งริมทะเล ที่หลังจากพัดผ่านไปและอ่อนกำลังลงทำให้เกิดความเสียหายรวม 18 จังหวัด 90 อำเภอ กว่า 212,784 ครัวเรือนและประชาชนอีกกว่า 696,189 คน ที่ถึงแม้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นจะจัดศูนย์อพยพกว่า 8 จุด เพื่อดูแลชาวบ้านที่มีความเสี่ยงได้รับความเสียหายจากพายุปาบึกให้ได้รับความปลอดภัย แต่ก็ยังได้รับความเสียหายจากทรัพย์สินและบ้านเรือนอยู่ดี
 
     ถึงแม้ว่าในตอนนี้พายุจะอ่อนกำลังลงแล้วก็ตามแต่ก็ยังเกิดเป็นฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นอีกทั้งยังเกิดน้ำทะเลหนุนสูง และน้ำไหลหลาก หรือ น้ำท่วมในอีกหลายๆ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีการช่วยเหลือทั้งในเรื่องของอาหาร น้ำดื่ม ถุงยังชีพ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกทั้งยังมีการกล่าวว่า หากเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้วจะเร่งพื้นฟูพื้นที่ที่เสียหายให้เสร็จโดยเร็วอีกด้วย
 
พายุปาบึก
 
ครั้งนี้พี่หมีก็มีคำแนะนำหากเกิดพายุเช่นนี้ขึ้นอีกต้องมีวิธีรับมือและเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง?
 
• ควรติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆที่เชื่อถือได้ หรือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อรับมือได้อย่างทันท่วงที
• เตรียมสเบียงให้พร้อมไม่ว่าจะเป็น น้ำสะอาดที่ใช้ดื่มกิน หรือ หุงต้ม อาบให้เพียงพอ อาหารที่ไม่บูด หรือเสียอย่างง่าย รวมถึงอาหารแห้งต่างๆ ยารักษาโรคพื้นฐาน อุปกรณ์ทำแผล
• เตรียมไฟฉาย ไฟแช็ค หรือ ไม้ขีดไฟ หรือ แบตเตอรรี่สำรอง ให้พร้อมหากเกิดไฟดับจะได้มีแสงสว่างในการใช้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
• ควรชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ ไว้ให้เต็ม และเตรียมเบอร์ฉุกเฉิน หรือ เบอร์ที่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากทางอื่นๆได้ หรือ หากมีที่ชาร์ตสำรองก็ควรชาร์จให้เต็มเช่นเดียวกัน
• ถอดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และขนขึ้นที่สูงกันการเกิดน้ำไหลหลากเฉียบพลัน
• พกเอกสารสำคัญติดตัว ใส่ถุงซิปล็อค เช่น บัตรประชาชน เอกสารสำคัญอื่นๆ ที่ต้องใช้และเป็นสิ่งจำเป็นควรเก็บติดตัว เพื่อป้องกันความเสียหายหรือชำรุด
• เตรียมเบอร์โทรหน่วยงานฉุกเฉินให้พร้อม
• หากหน้าต่างหรือประตูเป็นกระจก ควรหาไม้มาตีปิดให้แน่นหนา หรือ หากเทปกาวที่สามารถปิดได้แน่นหนามาปิดไว้ เพื่อป้องกันการที่ลมตีหน้าต่าง หรือ ประตูจนแตก
• พยายามปิดช่องทางลมที่พัดผ่านเข้ามาในบ้านที่อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
• ไม่ควรล่ามสัตว์เลี้ยงไว้ ควรนำสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูงด้วย
• ในช่วงที่พายุเข้าหากใครที่อยู่ใกล้ชายทะเล ทะเสสาบ หรือ ทางน้ำไหล
 
     สำหรับพายุปึกที่เกิดขึ้นนั้นตอนนี้ได้อ่อนกำลังลงแล้ว แต่ยังส่งผลให้หลายพื้นที่มีฝนตก และ น้ำทะเลหนุนสูง เกิดน้ำท่วม และได้ส่งผลกระทบไปอย่างจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งเหตุการณ์ภัยธรรมชาตินั้นไม่สามารถมีใครคาดเดาได้ว่าแต่ละครั้งจะเกิดความรุนแรงขนาดไหน หรือ สามารถรับมือได้หรือไม่ดังนั้นหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงควรเตรียมวางแผนตัวเองไว้ให้ดี เช่นการเลือกทำประกันบ้าน หรือ ประกันทรัพย์สิน เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริง ๆ ยังไงก็ยังมีประกันที่คอยดูแลให้อย่างแน่นอน
 
READ MORE
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา