โควิดลงปอด คืออะไร ใครมีโอกาสเชื้อลงปอด
article created at icon10/08/65

|

อ่านแล้ว 4,452 ครั้ง

โควิดลงปอด คืออะไร ใครมีโอกาสเชื้อลงปอด

     เราจะรู้ได้อย่างไรว่า โควิดลงปอด เนื่องจากอาการป่วยบางรายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันและความอันตรายแต่ละสายพันธุ์โควิด หากใครที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงพอก็จะสามารถต่อสู้กับไวรัส และหายป่วยเป็นปกติได้ แต่ใครที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตก ก็มีโอกาสติดเชื้อลงปอดได้ง่าย และควรได้รับการรักษาโดยเร็ว วันนี้พี่หมี TQM จะพาเพื่อนๆ ไปทำความเข้ากับ เชื้อโควิดลงปอด ใครมีโอกาสเชื้อลงปอด อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ไปดูกันครับ

โควิดลงปอดคืออะไร

     โควิดลงปอด หมายถึง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ตั้งแต่หลอดลมไปถึงปอด มีจะอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (บริเวณจมูก ปาก คอ) เชื้อไวรัสที่ลงปอดจะทำให้เนื้อปอดและถุงลมบางส่วนได้รับความเสียหาย เกิดอาการหายใจลำบาก และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
 
โควิดลงปอด
 

ใครเสี่ยงติดโควิดลงปอด

     ย้อนไปปี 2563 มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดลงปอด ประมาณ 20% ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ในปี 2564 เป็นการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา มีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าปอดง่ายกว่าเดิม โดยผู้ติดเชื้อบางรายที่สุขภาพแข็งแรงแทบจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อทำการเอกซเรย์ปอด กลับเจอฝ้าที่แสดงถึงภาวะปอดอักเสบ และเมื่อสายพันธุ์เดลต้าหมดไป กลายเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 แทน มีการแบ่งตัวเร็วและเกาะเซลล์ปอดได้มากกว่า ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับการติดเชื้อในระหว่างวันที่ 2-22 กรกฎาคม 2565 โดยพบว่า ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง คือ ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จึงอนุมานได้ว่าถ้าติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 น่าจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ BA.2

อาการของโควิดลงปอด

     เชื้อโควิดจะลงปอดและมีอาการอักเสบระยะที่ 1 ภายใน 5 วันหลังจากได้รับเชื้อ และในระยะที่ 2 ปอดเกิดการอักเสบในช่วง 10-15 วัน โดยแสดงสัญญาณหรืออาการดังต่อไปนี้
  • อาการหอบ เหนื่อยง่าย เหนื่อยเร็วกว่าเดิม แม้ทำกิจกรรมที่ไม่ได้ออกแรง
  • รู้สึกเจ็บ แน่นหน้าอก
  • อาการไอแห้งๆ มีอาการไอมากขึ้น หรือไอมีเสมหะ
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด
  • พูดติดๆ ขัดๆ เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณถุงลมปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและลำเลียงออกซิเจน 
  • มีไข้มากกว่า 37.5 องศาขึ้นไป
     

วิธีวัดระดับออกซิเจนในเลือด
 

วิธีวัดระดับออกซิเจนในเลือด

ทดสอบด้วยวิธี ลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที แล้ววัดออกซิเจนในเลือด หากต่ำกว่า 94% ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน และรีบพบแพทย์ทันที

โควิดลงปอดอันตรายไหม

     ความรุนแรงของเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กัน ปริมาณเชื้อที่ได้รับ ภูมิต้านทารของผู้ติดเชื้อ และระยะเวลาที่ได้รับการรักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • ปริมาณเชื้อที่ได้รับ ในแต่ละคนได้รับเชื้อในปริมาณไม่เท่ากัน บางคนได้รับเชื้อปริมารน้อย มีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ หายเองได้ แต่บางคนได้รับเชื้อปริมาณมาก เชื่อจะลงไปอยู่ในถุงลม ทำให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ หายใจไม่ทัน และบางรายอาจต้องรับเครื่องช่วยหายใจ
  • ภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ หากคนที่มีภูมิต้านทางสูง ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าเชื้อลงปอดจะมีโอกาสรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่สำหรับผู้ที่ภูมิต้านทางต่ำ มีแนวโน้วแสดงอาการรุนแรงกว่า จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต เช่น ผู้สูงอายุ คนอ้วน คนที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยโรคปอด และคนที่สูบบุหรี่
  • ระยะเวลาที่ได้รับการรักษา หากได้รับการตรวจวินิจฉัยเร็ว จะมีโอกาสหายได้มากกว่า แต่หากได้รับรักษาล่าช้า เชื้อจะลุกลามและทำให้ปอดเสียหายอย่างหนัก ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และการทำงานของอวัยวะอื่นๆ จนเกิดภาวะโคม่า และมีโอกาสเสียชีวิตได้
 
     อาการโควิดลงปอด ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ติดเชื้อ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาการจะค่อนข้างหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ วัดออกซิเจนในเลือดอย่างถูกวิธี หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์ทันที และอีกหนึ่งสำคัญคือการมีหลักประกันสุขภาพ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมายามเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าห้อง ค่าอาหาร หรือค่ายา พี่หมีขอแนะนำ ประกันสุขภาพ เบี้ยเริ่มวันละ 20.- คุ้มครองโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ อุ่นใจไม่กระทบเงินเก็บ สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทร 1737
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา