โรคชิคุนกุนยา อาการเป็นอย่างไร
article created at icon07/07/63

|

อ่านแล้ว 399 ครั้ง

โรคชิคุนกุนยา อาการเป็นอย่างไร

ชิคุนกุนยา อันตรายไม่แพ้ไข้เลือดออก

     ยุงลาย นอกจากเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังเป็นพาหะของโรคชิคุนกุนยาด้วย ซึ่งอาการจะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก และอันตรายไม่แพ้กัน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาโรคชิคุนกุนยา มักระบาดช่วงหน้าฝนในพื้นที่ภาคใต้ แต่พอมาปี 63 โรคนี้กลับระบาดหนักทั่วทุกภาคของประเทศไทย และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 25-34 ปี แต่หากเกิดขึ้นกับเด็ก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้พี่หมี TQM จึงจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ "โรคชิคุนกุนยา ว่าคืออะไร อาการเป็นยังไง ทำไมถึงมีอาการปวดข้อ" กันครับ

โรคชิคุนกุนยา คืออะไร

     โรคชิคุนกุนยา  หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นภาษามากอนดี แปลว่า ตัวโค้งงอ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละกลุ่มกับไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่น ปวดข้อมากจนตัวโค้งงอ จึงตั้งชื่อโรคนี้ตามลักษณะอาการของผู้ป่วย โดยพาหะของโรคเกิดจาก ยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นยุงที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น

ชิคุนกุนยา อันตรายไม่แพ้ไข้เลือดออก

สถิติผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ปี 2563

     อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 3,258 ราย ใน 56 จังหวัด ยังไม่มีผู้เสียชีวิต 

กลุ่มอายุที่ป่วยโรคชิคุนกุนยา

     กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี (18.17%) 35-44 ปี (17.46%) และ 45-54 ปี (16.02%)

พื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา

     ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรกคือ จันทบุรี อุทัยธานี ลำพูน ระยอง ตราด ตามลำดับ โดยจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ และลำปาง

อาการของโรคชิคุนกุนยา

  • โรคชิคุนกุนยา จะมีอาการค่อนข้างเฉียบพลัน โดยมีระยะฟักตัวของโรค 3 - 7 วัน (หลังจากโดนยุงกัด)
  • ผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 39 - 40 องศาเซลเซียส โดยจะมีไข้อยู่ประมาณ 3 - 7 วัน ลักษณะคือจะเป็นไข้แบบ biphasic คือเป็นไข้ 2 ช่วง (เป็นแล้วหายไป 2 - 3 วัน จากนั้นเป็นไข้ต่ำๆ (38 - 39°C ) อีก 2 - 3 วัน ระหว่างนั้นไวรัสจะสะสมในกระแสเลือด แล้วแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
  • เจ็บปวดตามข้อ โดยข้อที่ปวดจะเป็นข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ บางรายอาจปวดข้อใหญ่ได้ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น ทำให้ลงน้ำหนัก หรือเดินลำบาก
  • มีผื่นขึ้นทั่วตัว คล้ายหัดในเด็ก
  • ตาแดง
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว

โรคชิคุนกุนยา ทำไมถึงมีอาการปวดข้อ

     ส่วนอาการปวดข้อ มักจะพบได้ เนื่องจากเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ และอาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ค่ะ ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี

วิธีการรักษา

  1. รักษาตามอาการของผู้ป่วย โดยการวินิจฉัยของแพทย์
  2. อาจให้ยาแก้ปวด และยาในกลุ่มต้านอักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ

วิธีรักษาโรคชิคุนกุนยา

วิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยา

   ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายพันธุ์ของยุง และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ดังนี้

  • ไม่ปล่อยให้มีน้ำขังตามจุดต่างๆ รอบบ้าน
  • หากมีอ่างน้ำประดับบริเวณบ้าน ควรเลี้ยงปลาหางนกยูง เพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย
  • ตัดหญ้าให้เตี้ย
  • ติดตั้งมุ้งลวด หรือใช้มุ้งเวลานอน
  • ใช้ยาทากันยุงที่มีส่วนผสมของ DEET ที่ร่างกาย (ข้อห้ามเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี) รวมถึงควรฉีดสเปรย์ยากันยุงที่ใช้กลิ่นไล่ยุงใส่เสื้อผ้าที่เราสวมใส่เพื่อป้องกันอีกชั้นหนึ่งด้วย
  • สวมเสื้อแขนยาวและกางกงขายาวสีขาว หรือสีจาง เมื่อจำเป็นต้องออกไปบริเวณที่มียุงชุม ไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีเข้มหรือดำที่ยุงชอบ

     หลายคนอาจมองข้ามโรคชิคุณกุนยาไป หากไม่ระมัดระวังแล้วได้ป่วยครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมส่งผลเสียกับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีความต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ  อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการและการรักษา ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายให้หมด เพียงเท่านี้ก็สบายใจห่างไกลจากโรค แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดมีประกันภัยเพื่อรับมือด้วย "ประกันไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก *และโรคร้ายจากยุง" คุ้มครองโรคชิคุนกุนยาด้วย สนใจคลิกที่นี่เลย
 

 

READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา