โรคยอดฮิตในช่วงปลายฝนต้นหนาว
article created at icon20/10/63

|

อ่านแล้ว 110 ครั้ง

โรคยอดฮิตในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ปลายฝนต้นหนาว ระวังป่วย!

     ช่วงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี หรือที่เรียกว่าช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีสภาพอากาศแปรปรวน บางพื้นที่มีฝนตกสลับอากาศร้อน และอุณหภูมิเย็นลงในตอนเช้า อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย หากเพื่อนๆ อยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยง่าย ยิ่งควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพมากเป็นพิเศษ ซึ่งโรคที่พบบ่อยในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส วันนี้ พี่หมี TQM จะรวบรวม “โรคยอดฮิตในช่วงปลายฝนต้นหนาว” พร้อมบอกสาเหตุ อาการ วิธีป้องกันและการรักษา มาฝากเพื่อนๆ ครับ

กลุ่มเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ในช่วงปลายฝนต้นหนาว

  1. เด็กเล็ก
  2. ผู้สูงอายุ
  3. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคตับ โรคไต เบาหวาน ฯลฯ
  5. หญิงตั้งครรภ์
     
โรคไข้หวัดใหญ่

1. โรคไข้หวัดใหญ่

สาเหตุ

     โรคไข้หวัดใหญ่  เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยที่ไอ จาม หรือของใช้ที่มีเชื้อติดอยู่ เชื้อจะเข้าสู้ร่างกายทางจมูก ปากและตา

อาการ

     อาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ  จาม เจ็บคอ คล้ายกับไข้หวัดธรรมดา เพียงแต่อาการจะหนักกว่า รู้สึกอ่อนเพลียเฉียบพลัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย บางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ คออักเสบ เป็นต้น

การรักษา

  • โดยมากเป็นการรักษาตามอาการ หากมีอาการรุนแรง แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์
  • ควรนอนพักผ่อนให้มากๆ และดื่มน้ำบ่อยๆ
  • หากมีไข้ตัวร้อน ให้กินยาลดไข้ และผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว
  • หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีไข้นานเกิน 2 วัน ควรไปพบแพทย์ทันที

วิธีป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง โดยราคาขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล (อ่านเพิ่มเติม : เช็กราคาวัคซีนไข้หวัดใหญ่2563)
  • รักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยและไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
 
โรคปอดบวม ปอดอักเสบ

2. โรคปอดบวม ปอดอักเสบ

สาเหตุ

     โรคปอดบวมเป็นโรคที่มีความรุนแรง อาจเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1. มีการติดเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา 2. ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากการหายใจรับสารที่ระคายเคืองต่อปอด เช่น ฝุ่น PM2.5 สารระเหย แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เจ็บป่วยโรคนี้ในช่วงปลายฝนต้นหนาว คือ การติดเชื้อจากสภาพแวดล้อมตามชุมชนทั่วไป หรือจากภายในโรงพยาบาล เนื่องจากสภาพอากาศที่ความเย็นและชื้น ทำให้เชื้อแข็งแรงและแพร่กระจายได้ง่าย

อาการ

     อาการของโรคปอดบวมที่เกิดจากการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะไอมีเสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนสี จากสีเหลืองเป็นสีเขียวข้น เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ หายใจเร็วและลำบาก เหนื่อยและหอบง่าย อ่อนเพลีย ซึมลง คลื่นไส้ อาเจียน เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน และไม่ดูดนม ทั้งนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบในกลุ่มเสี่ยง เช่น เชื้อจากปอดกระจายเข้าสู่กระแสเลือด เกิดการติดเชื้อในอวัยวะอื่นๆ พบฝีในปอด มีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด หรือที่ร้ายแรงที่สุด เกิดภาวะหายใจล้มเหลวจนเป็นอันตรายถึงชีวิต
 

การรักษา

  • ให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่คิดว่าเป็นสาเหตุของโรค (กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย)
  • รักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ
  • ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และทำกายภาพบำบัดทรวงอก (กรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรง)
  • เจาะหรือดูดในโพรงเยื่อหุ้มปอดน้ำออก (กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน)
  • ใส่ท่อเข้าหลอดลมร่วมกับเครื่องช่วยหายใจ (กรณีเกิดภาวะหายใจล้มเหลว)

วิธีป้องกัน

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) ช่วยลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบ
  • ดูแลสุขอนามัย หมั่นล้างมือและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดดื่มสุรามากจนมึนเมา
  • งดสูบบุหรี่


3. โรคคออักเสบ

สาเหตุ

     โรคคออักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบริเวณเยื่อบุภายในคออักเสบ ซึ่งการติดเชื้อติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ ที่มาจากการไอ จาม หรือหายใจรดกัน สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะเด็กเล็ก

อาการ

     อาการของโรคคออักเสบ ได้แก่ เจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ มีไข้ อาจพบต่อมน้ำเหลืองโต หากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจะมีอาการไข้สูง เจ็บคอมาก คอแดงมาก มีจุดหนองที่คอ หรือติดเชื้อสเตรปโตคอกคัสอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว

การรักษา

  • ใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้เจ็บคอ ยาแก้ไอ ยาลดไข้จนอาการหายดีเอง (กรณีติดเชื้อไวรัส)
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อและต้องรับประทานจนครบตามแพทย์สั่ง (กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย)
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และจิบน้ำผึ้งผสมน้ำมะนาว
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่น

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือคออักเสบ
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด


โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

4. โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

สาเหตุ

     โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ มีด้วยกันหลายโรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก, โรคเดงกี, โรคไข้ปวดข้อยุงลาย, โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อซิกา ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากยุงลายเป็นตัวนำโรคและพาหะโรคไวรัสต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของคน 
 

อาการ

     อาการแต่ละโรคจะคล้ายๆ กัน คือ มีไข้เฉียบพลัน โดยจะสูงประมาณ 38.5 องศาเซลเซียส แต่ไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลายมักเป็นไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการปวดศีรษะและปวดข้อ โดยเฉพาะโรคปวดข้อยุงลายจะปวดข้อมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย โดยเฉพาะไข้เลือดออกจะอ่อนเพลียมาก และมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังทั่วร่างกายหรือมีจุดเลือดออกตามลำตัว แขนขา ขณะที่โรคติดเชื้อซิกาจะมีอาการเยื่อตาอักเสบ หรือตาแดงร่วมด้วย หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์ทันที

การรักษา

     ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ เป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคอง และการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้แก้ปวด การพักผ่อนให้เพียงพอ ให้ยาทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

วิธีป้องกัน

  • กำจัดแหล่งน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • ทาโลชั่นกันยุง (อ่านเพิ่มเติม : รวมไอเทมไล่ยุงลาย)
  • สวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก


โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

5. โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

     โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่หลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม อากาศไหลผ่านได้ไม่คล่อง ซึ่งสามารถติดต่อเชื้อผ่านน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ ที่เกิดจากการไอ จามและหายใจรดกัน และสามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ

อาการ

     เมื่อเยื่อบุหลอดลมมีการติดเชื้อทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลให้อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าปอดได้ไม่ดี จึงหายใจลำบาก มีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะ และอาจพบอาการอื่นๆคล้ายโรคหวัด เช่น มีไข้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว และหายใจหอบเหนื่อย

การรักษา

  • ใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม จนอาการหายดี(กรณีติดเชื้อไวรัส)
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อ (กรณีติดเชื้อแบคทีเรีย)

วิธีป้องกัน

  • หมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ และล้างทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ฝุ่น เขม่าควันต่างๆ
  • สวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีอาการไอหรือจาม

     จะเห็นได้ว่า โรคในช่วงปลายฝนต้นหนาว เกิดจากเชื้อที่แพร่กระจายเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอ ฉะนั้น เราควรหมั่นดูแลสุขภาพ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำร่างกายให้อบอุ่น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง แต่ขึ้นชื่อว่าเชื้อไวรัส เราไม่สามารถป้องกันได้ 100% ทางที่ดีรับมือกับโรคร้ายเหล่านั้นด้วย ประกันสุขภาพมุนษย์เงินเดือน ที่จะช่วยลดภาระค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าอาหาร ฯลฯ ให้คุณได้รับการรักษาเหมือนผู้ป่วย VIP ด้วยวงเงินสูงสุดกว่า 400,000 บาท แม้จะป่วยหนักแค่ไหน ก็ยิ้มสู้ได้ ไม่กระทบเงินเก็บ พร้อม ผ่อน0% ไม่ต้องสำรองจ่าย สนใจคลิก ประกันสุขภาพมุนษย์เงินเดือน
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา