ย้อนรอยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในรอบ 100 ปี
article created at icon18/09/63

|

อ่านแล้ว 1,929 ครั้ง

ย้อนรอยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในรอบ 100 ปี

 

รวม พ.ศ. น้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี

     ขึ้นชื่อว่า น้ำท่วม ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะผู้คนต้องอพยพ ขนย้ายข้าวของ แล้วมองดูบ้านที่เต็มไปด้วยน้ำ... แต่ความจริงประเทศไทยเราก็เจอกับสถานการณ์น้ำท่วมมานับไม่ถ้วน ทั้งท่วมเล็กท่วมน้อย ไปจนถึง ท่วมใหญ่

     พื้นที่เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมมาไม่น้อย ด้วยพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลจากทุกทิศทาง วันนี้พี่หมี TQM จะได้รวบรวมข้อมูลย้อนหลังดูว่า "ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่มาแล้วกี่ครั้ง ในรอบ 100 ปี" เพื่อเป็นอุทาหรณ์และแนวทางป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาขเกิดขึ้นอีก!!

ปี 2485

     ในปี 2485 ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน น้ำท่วมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า สูงถึง 1.50 ม. และท่วมนานถึง 3 เดือน รวมถึงพื้นที่สำคัญๆอีกหลายแห่งเช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถ.เยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถ.ราชดำเนิน อนุสาวรย์ชัยสมรภูมิ พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น นับเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อมากักเก็บน้ำ

ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก : Nat Ratsameejun

ปี 2518

     พายุดีเปรสชั่นได้พาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน จนเป็นเหตุให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ


ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก : sanchai pm

ปี 2521

     น้ำท่วมอุบล เกิดจากพายุ 2 ลูกคือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน และมีน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักในปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ


ขอบคุณภาพจาก : งานประชาสัมพันธ์ เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ

ปี 2526

     เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่ร้ายแรงครั้งหนึ่งในประเทศไทย เหตุเกิดเนื่องจากพายุดีเปรสชัน 2 ลูก พัดผ่านเข้ามายังในประเทศไทย คือ เฮอร์เบิร์ตและคิม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักจนเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่รองรับปริมาณน้ำฝนรับไม่ไหว จนเกิดเป็นน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ, อีสาน และตะวันออก รวมเป็นหลังคาบ้านเรือนที่พักอาศัยกว่า 5,000 หลัง จากนั้นเกิดน้ำทะเลหนุน น้ำท่วมเข้า กทม.และปริมณฑล เกิดน้ำท่วมขัง รถยนต์ไม่อาจจะสัญจรวิ่งได้ตามปกติ


ขอบคุณภาพจาก : งานประชาสัมพันธ์ เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ ประวัติศาสตร์ชาติไทยและข่าวสาร

ปี 2537

     เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล ในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเฉลี่ยทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกกันว่า “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ตั้งแต่ เขตยานนาวา ย่านสะพานควาย สวนจตุจักร อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมไปถึงถ.วิภาวดีรังสิตและรัชดาภิเษก ถ.ลาดพร้าว ถ.สุขุมวิท ถ.สาธร โดยเฉพาะซ.เซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขังมากที่สุดประมาณ 50 ซม.ส่งผลให้การจราจรเป็นอัมพาต เกิดไฟฟ้าดับหลายจุด

 

ปี 2538

     เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากมีพายุหลายลูกพัดผ่าน ทำให้เกิดฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเดือนพฤษภาคม และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง 2.27 ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) 


ขอบคุณภาพจาก : MThai

ปี 2549

     เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์


ขอบคุณภาพจาก : noknoi

ปี 2554

     น้ำท่วมปี 2554 นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย เพราะเป็นครั้งรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ท่วมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี และมีพื้นที่ประสบภัยกระจายตัวในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมหนักเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไปกว่านั้นพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสาเหตุจากธรรมชาติที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้ มาจากปรากฎการณ์ลานีญา และได้รับอิทธิพลจากพายุทั้งหมด 5 ลูก ได้แก่ พายุโซนร้อนไหหม่า นกเตน ไห่ถาง เนสาด และนาลแก ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกนักทั้งทางภาคการเกษตร อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม และส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังภาคส่วนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีร่องมรสุมและลมประจำท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่

 


ขอบคุณคลิปวิดีโอจาก : สมาคมประกันวินาศภัยไทย

     100 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนตกหนัก พายุถล่ม ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนจนเสียหาย บวกกับพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ของจังหวัดต่างๆ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม เป็นทางผ่านของน้ำ จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงอุทกภัยได้ แต่แล้วปี 2563 นี้ จะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่อีกหรือไม่ คงต้องจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ใช้เหตุการณ์ในอดีตเป็นอุทาหรณ์ หากมีการประกาศเตือน แนะนำให้เพื่อนๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเตรียมรับมือ เช่น ตรวจเช็คบ้านให้ปลอดภัยก่อนฝนกระหน่ำ เช็คระดับน้ำที่ห้ามขับรถลุย ทำประกันบ้านที่คุ้มครองน้ำท่วม เป็นต้น
 

 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

รายละเอียดที่อยู่อาศัย

เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *

บ้านเดี่ยว

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

บ้านแฝด

ทาวน์โฮม

ทาวน์โฮม

คอนโด

คอนโด

ตึกแถว

ตึกแถว

โครงสร้างบ้าน *

จำนวนชั้น *

ลักษณะการใช้งานบ้าน *

ตำแหน่งบ้านของคุณ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา