23/02/61

|

อ่านแล้ว 2,461 ครั้ง

จอดรถให้ถูกกฎหมาย

จอดรถให้ถูกกฎหมาย 

เรื่องง่ายๆที่ควรรู้ 

 
 
    เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเจอปัญหาว่ารถไม่มีที่จอด จำเป็นต้องจอดซ้อนคันหรือริมทางเท้า ซึ่งนี่ละครับอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นรถคันอื่นมาชนท้ายเรา ไปขวางทางเข้าออกโดยไม่ตั้งใจรวมไปถึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้ด้วย! พี่หมีขออาสารวมมิตรทุกข้อมูลเรื่องการจอดรถเอามาไว้ให้ แบบไหนบ้างที่ผิดกฎหมาย แล้วถ้าจำเป็นต้องจอดจะทำยังไงได้บ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยครับ รับรองได้ใช้แน่นอน
 
จอดแบบนี้ไม่ดีแน่
 
  ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538) แล้วการจอดรถที่นับเป็นการกระทำผิดนั้นมีหลายแบบครับ พี่หมีจะขอยกมาเฉพาะที่เราพบกันบ่อยๆดังนี้ครับ 
 
1.หยุดหรือจอดรถเป็นการกีดขวางการจราจร
2.จอดรถไม่ขนานกับขอบทางหรือไหล่ทาง
3.จอดรถห่างจากขอบทางหรือไหล่ทางเกิน 25 เซนติเมตร
4.จอดรถบนทางเท้า
5.จอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
6. จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
7. จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด 
8. จอดรถในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
9. จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม 
10. จอดรถซ้อนคันกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
11.จอดรถตรงปากทางเข้า-ออกของอาคารหรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
12. .จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางหรือจอดรถในระยะเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร 
   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้พบได้บ่อยครับ และถือเป็นความผิดตามมาตรา ม. 54, 55, 57 หรือ148 โทษปรับไม่เกิน 500 บาท
   
 จอดรถให้ถูกวิธีดีแน่นอน
 
การจอดรถอย่างถูกวิธี
      
        นอกจากนี้พี่หมีขอยกคำแนะนำเรื่องการจอดจาก ท่านอธิบดีฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มาบอกต่อทุกๆคน ตามนี้ครับ
          1.จอดรถในช่องจอดรถ ควรเลื่อนคันเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง P เพื่อไม่ให้รถเลื่อนและพยายามจอดขนานกับเส้นที่กำหนดและกะระยะห่างจากเส้นให้เหมาะสมครับ ระวังอย่าให้ล้ำไปด้านหน้ามากเกินไป พร้อมพับกระจกข้าง จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้รถคันอื่นสามารถขับผ่านหรือเข้าจอดได้สะดวกด้วย
         2. จอดขวางช่องจอดรถหรือซ้อนคัน ให้ปลดเกียร์ว่างหรือเลื่อนคันเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง N และห้ามดึงเบรกมือโดยเด็ดขาด เพื่อให้คนอื่นเข็นรถเราออกได้ รวมถึงไม่จอดรถบริเวณหัวมุม ทางโค้ง หรือทางแคบ เพราะมีพื้นที่จำกัดครับ รถของเราอาจกีดขวางช่องทางจราจร ทำให้รถคันอื่นขับผ่านไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
          3. จอดรถบนช่องทางเดินรถเช่นริมทางเท้า ควรจอดรถบริเวณด้านซ้ายของทางเดินรถเสมอ โดยให้รถชิดและขนานกับขอบหรือไหล่ทางในระยะไม่เกิน 25 ไม่จอดรถในบริเวณที่ห้ามจอด เช่น บนทางเท้า บนสะพาน ในอุโมงค์ บริเวณทางร่วมทางแยก เป็นต้น
          4. กรณีรถจอดเสียบนทางเดินรถ ควรให้สัญญาณการจอดรถโดยเปิดไฟฉุกเฉิน หาวัสดุที่เด่นชัดมาวางโดยให้ห่างจากรถในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เพื่อเตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นทราบว่ามีรถจอดเสีย จะได้เพิ่มความระมัดระวังและเปลี่ยนช่องทางเดินรถได้ทันครับ จากนั้นให้พยายามนำรถออกให้พ้นช่องทางเดินรถโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วย
          5. จอดรถบนทางลาดชัน ควรจอดรถให้ชิดขอบทาง ฟุตบาท หรือกำแพงให้มากที่สุด โดยหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางขอบทาง เผื่อรถเคลื่อนที่จะได้ไม่ไหลไปกีดขวางช่องทางจราจร กรณีที่เป็นทางลาดชันที่ไม่มีขอบทาง ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางด้านตรงข้ามกับถนนด้วย ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด เลื่อนเกียร์ไปยังตำแหน่งถอยหลังสำหรับรถเกียร์ธรรมดาและตำแหน่ง P สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนตัว รวมถึงนำก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุที่แข็งแรงมารองล้อรถเพื่อเพิ่มความปลอดภัยครับ
            รู้แบบนี้แล้วต้องจอดให้ถูกวิธีให้เป็นนิสัย เพราะการจอดที่ผิดกฎจราจรไม่ใช่ผิดแค่กฎหมายแต่ยังถือเป็นมารยาททางสังคมที่เราควรใส่ใจ ก่อนจอดรถขอให้คิดสักนิดเท่านี้ก็จะลดปัญหาได้มากเลยละครับ
 
ขอขอบคุณข้อมูล

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล