08/05/68

|

อ่านแล้ว 120 ครั้ง

เกิดอุบัติเหตุแต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม เช็กสิทธิ์และเงื่อนไขที่ต้องรู้

     หากสถานการณ์บังคับให้เราต้องขับรถที่ไม่ใช่ของตัวเอง เช่น ขอยืมรถเพื่อน ขับรถของญาติ หรือแม้กระทั่งขับรถของบริษัท แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ เกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม วันนี้พี่หมี TQM จะมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ไม่ใช่เจ้าของรถ สามารถเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม และมีเงื่อนไข และ ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับความคุ้มครองอย่างถูกต้อง 

รถเกิดอุบัติเหตุแต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

พ.ร.บ. คืออะไร และครอบคลุมใครบ้าง

     พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภาคบังคับที่เจ้าของรถทุกคนต้องมีตามกฎหมาย จุดประสงค์หลักคือให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก เพื่อให้ความช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบเหตุจากรถ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก

 

เกิดอุบัติเหตุแต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

     การเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม คำตอบคือ "ได้" อย่างแน่นอน หากคุณเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อุบัติเหตุนั้น ไม่ว่าจะขับรถให้ หรือโดยสารอยู่ในรถ ก็สามารถยื่นขอ เบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ได้ทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด ซึ่งการเบิกค่าชดเชยจาก พ.ร.บ. จะแบ่งได้ 2 กรณี ดังนี้

 

กรณีเกิดอุบัติเหตุ แล้วเราเป็นฝ่ายถูก

     หากเราได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเรียกรับค่าเสียหายได้ 2 ส่วน ได้แก่ ค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งสามารถเบิกได้ทันทีโดยไม่ต้องรอผลการพิสูจน์ความผิด และค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ที่จะได้รับจากฝ่ายผิดภายหลังจากที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเราเป็นฝ่ายถูก ตามเงื่อนไขที่กำหนด

 

กรณีเกิดอุบัติเหตุ แล้วเราเป็นฝ่ายผิด

     หากเราเป็นฝ่ายที่กระทำผิด จะมีสิทธิ์ได้รับเพียงค่าชดเชยเบื้องต้นเท่านั้น และจะไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีได้ ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ พ.ร.บ.

เกิดอุบัติเหตุแต่เราไม่ใช่เจ้าของรถ จะเบิก พ.ร.บ. ได้ไหม

เงื่อนไขและเอกสารที่ใช้ในการเบิก พ.ร.บ.

เงื่อนไขสำคัญในการเบิก พ.ร.บ. มีอะไรบ้า

    • รถที่เกิดอุบัติเหตุต้องมี พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุ
    • ผู้ขอเบิกต้องมีเอกสารยืนยันว่าตนได้รับบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกาย ชีวิต จากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถคันดังกล่าว
    • ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าใครผิด ใครถูก สำหรับค่าชดเชยเบื้องต้น

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการเบิก พ.ร.บ. มีอะไรบ้าง

    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้บาดเจ็บ
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาทะเบียนรถ
    • สำเนาใบขับขี (กรณีเป็นผู้ขับรถ)
    • ใบแจ้งความ หรือรายงานบันทึกประจำวันจากตำรวจ
    • สำเนากรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์
    • ใบรับรองแพทย์ หรือ ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
    • ใบมรณบัตร (กรณีเสียชีวิต)
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท (กรณีเสียชีวิต)

เงื่อนไขและเอกสารที่ใช้ในการเบิก พ.ร.บ.

ขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องทำยังไง 

     หลังจากที่เราเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว โดยการยื่นเรื่องเบิก พ.ร.บ. ควรดำเนินการภายใน 180 วันนับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนนี้

 

  1. ติดต่อบริษัทประกันภัยที่รถคันนั้นทำ พ.ร.บ. ไว้ เพื่อแจ้งเคลม พ.ร.บ. บอกรายละเอียดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่ได้ทราบ หรือติดต่อผ่านโรงพยาบาลที่รับรักษา (บางแห่งสามารถเบิกตรงได้ทันที)
  2. แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน และนำใบบันทึกประจำวันมาแนบในเอกสารในการยื่นเคลม พ.ร.บ.
  3. นำเอกสารทั้งหมดยื่นให้กับเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยที่ทำ พ.ร.บ. หากไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  4. รอการพิจารณาและอนุมัติเงินชดเชย ภายในวันที่กำหนด

 

ขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ ต้องทำยังไง

     ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่คนเดินถนนที่โดนรถชน คุณสามารถเบิก พ.ร.บ. ได้แม้จะไม่ใช่เจ้าของรถ หากมีเอกสารที่จำเป็นครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะกฎหมายเน้นความคุ้มครองต่อ "ผู้ประสบภัย" มากกว่าตัวเจ้าของกรรมสิทธิ์ของรถ สิ่งสำคัญคือการตรวจสอบวันหมดอายุของพ.ร.บ. ไม่ควรปล่อยให้ พ.ร.บ. หมดอายุอย่างเด็ดขาด

 

     และสำหรับใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) สามารถซื้อได้ที่ TQM สะดวก รวดเร็ว ซื้อง่ายผ่านอนไลน์ สนใจคลิกที่นี่ พ.ร.บ. หรือสามารถเข้ามาเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ จากบริษัทประกันชั้นนำ เพียงกรอกข้อมูลที่กล่องด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันตรงใจ หรือแชทกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือโทร Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ TQM

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง