28/06/65

|

อ่านแล้ว 234 ครั้ง

น้ำท่วมไทยปี 65 มีเกณฑ์เกิดขึ้นมากแค่ไหน

     ปฎิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ฝนตกหนักก่อนถึงฤดูในปี 65 นี้ ทำให้หลายคนกังวลจะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยมหาอุทกภัยปี 54 ผู้เชี่ยวชาญหลายด้านต่างออกมาประเมินความเสี่ยง จะจับตาดูแนวโน้มเพื่อรับมือกับผลกระทบ เช่นเดียวกับทาง งานวิจัยกรุงศรี เผยแพร่บทความเรื่อง ความเสี่ยงอุทกภัยในปี 2565 ไว้ วันนี้พี่หมี TQM จึงขออนุญาตหยิบยกมาให้เพื่อนๆ ได้ทราบถึง สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65 จะเผชิญน้ำท่วมใหญ่หรือไม่ มาฝากกันครับ

สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65

     สัญญาณความเสี่ยงที่ประเทศไทยปี 65 จะเผชิญอุทกภัย มีดังนี้

ค่าดัชนีชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทร ONI

     ค่าดัชนีชี้วัดอุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแนวเส้นศูนย์สูตร ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เริ่มบ่งชี้ภาวะลานีญา มาต่อเนื่อง ซึ่งมีความหมายว่า อุณหภูมิผิวน้ำมหาสมุทรมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณฝนเกิดขึ้นมากกว่าปกติ ทั้งนี้ ข้อมูลดัชนีฯ ล่าสุด ณ เดือนเมษายน 2565 อยู่ที่ -1.1 แสดงถึง ภาวะลานีญาในระดับปานกลาง
 

คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในประเทศ

     ใน ปี 2565 มีแนวโน้มปริมาณน้ำฝนมากกว่าระดับปกติ 3% โดยอยู่ที่ประมาณ 1,635 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าปี 2564 แต่ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติจะเติมปริมาณน้ำในเขื่อนให้สูงขึ้น

ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง

     ช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 ปริมาณน้ำทั้งหมดในเขื่อนขนาดใหญ่อยู่ที่ 40,045 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 56.5% ของปริมาตรความจุน้ำในอ่างเก็บกัก ซึ่งเป็นระดับน้ำที่สูงสุดในรอบ 3 ปี และสูงกว่าปี 2554 (ปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่) ที่มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 38,132 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 55% ของปริมาตรความจุฯ เช่นเดียวกับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำใกล้เคียงกับปี 2554 ที่ 63.9% ของปริมาตรความจุฯ
 

 

ปริมาณพายุ

     กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าประเทศไทย ในปี 2565 จะเผชิญพายุหมุนเขตร้อนจำนวน 2 ลูก โดยเคลื่อนที่ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม สถิติปริมาณพายุที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยย้อนหลังพบว่ามาตรฐานเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ลูกต่อปี และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยที่ 2.6 ลูก

อิทธิพลของพายุ 

     นอกจากปริมาณพายุแล้ว ยังเผชิญความเสี่ยงจากอิทธิพลของพายุ ที่ถึงแม้จะไม่ได้เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่อาจจะสลายตัวในบริเวณประเทศเพื่อนบ้านหรือเปลี่ยนทิศทางเข้าสู่ประเทศไทยได้ สะท้อนจากค่าดัชนีสมุทรศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ PDO และ IOD มีค่าเป็นลบที่ -2.1 เมื่อเดือนเมษายน 2565 และ -0.4 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มจะมีค่าเป็นลบต่อเนื่องถึงสิ้นปี สะท้อนถึงปริมาณฝนที่จะตกในประเทศเพื่อนบ้านและเข้าสู่ไทยมากขึ้น
 

 

สถานการณ์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวัง

ประเทศจีนน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี

     สำนักข่าวรอยเตอร์นำเสนอรายงานของสำนักข่าวซินหัว ซึ่งระบุว่า 2 มณฑลของจีนได้ยกระดับการเตือนภัย ได้แก่ เมืองเฉากวน มณฑลกวางตุ้ง ประกาศเหตุฉุกเฉินจากอุทกภัยขึ้นเป็นระดับ 1 ซึ่งเป็นระดับที่มีความรุนแรงสูงสุด หลังจากปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนับตั้งแต่ปลายเดือนพ.ค. แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน หน่วยงานท้องถิ่นประจำมณฑลเจียงซีของจีนได้ออกประกาศฉุกเฉินในระดับสูงสุด เนื่องจากน้ำท่วมถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์และแม่น้ำล้นตลิ่งหลังจากฝนตกหนักมาหลายสัปดาห์
 
     อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสัญญาณความเสี่ยงที่ควรจับตามอง เช่น ภาวะน้ำทะเลหนุน หรือปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงที่สูงขึ้น ฉะนั้นเราควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดการเตือนภัย และมีหลักประกันอย่าง ประกันบ้าน ประกันรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม ช่วยผ่อนหนักกลายเป็นเบาได้ ในวันที่ภัยมา
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

รายละเอียดที่อยู่อาศัย

เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

ทาวน์โฮม

คอนโด

ตึกแถว

โครงสร้างบ้าน *

จำนวนชั้น *

ลักษณะการใช้งานบ้าน *

ตำแหน่งบ้านของคุณ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล