การมีบ้านสักหลัง ต้องดูอะไรบ้าง? ความสวยงาม เดินทางสะดวก ใกล้สถานที่สำคัญและจำเป็น ทั้งตลาด โรงพยาบาล สถานศึกษา นี่คงเป็นเรื่องแรกๆ ที่นำมาพิจารณา แต่หลายคนอาจลืมไปว่า ถ้า
บ้านใกล้โรงงาน หรือปั๊มน้ำมัน จะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และต้องรับมือกับเหตุไม่คาดฝันอย่างไร วันนี้พี่หมี
TQM มี
วิธีรับมือเมื่อบ้านอยู่ใกล้โรงงาน มาฝากกันครับ
เมื่อเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ทำให้ชุมชนและบ้านระแวกใกล้ๆ ต่างตกอกตกใจ และถ้าหาสาเหตุแล้วจะพบว่า ไม่ได้เป็นเพราะโรงงานทำผิดกฎหมายการจัดตั้ง แต่เป็นหมู่บ้านเองต่างหากที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากมีโรงงานแล้ว ทำให้ผู้ที่เลือกซื้อบ้านในบริเวณที่มีโรงงานได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และที่หนักที่สุดคงจะเป็น เหตุระเบิด เพราะสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ผลกระทบเมื่อบ้านอยู่ใกล้โรงงาน
เมื่อบ้านของเราอยู่ใกล้โรงงาน มักมีผลกระทบตามมาเสมอ นั่นก็คือ เสียงดังรบกวน เพราะโรงงานมีกระบวนการทำงานด้วยเครื่องจักรเสียส่วนใหญ่ จึงทำให้มีเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของคนระแวกใกล้เคียง ไม่เพียงเท่านั้น การมีบ้านอยู่ใกล้โรงงานยังเสี่ยงต่อการได้รับมลพิษทางอากาศและสารปนเปื้อนในน้ำที่ใช้อุปโภค เพราะกระบวนการทำงานของโรงงานเต็มไปด้วยสารเคมี และมีการเผาไหม้ก่อให้เกิดกลิ่นและควัน หากโรงงานเหล่านั้นมีระบบจัดการที่ไม่ดี แน่นอนว่าปัญหาด้านมลภาวะจะตามมา ฉะนั้นการดูทำเลที่ตั้งของบ้าน สภาพแวดล้อมโดยรอบ ความเสี่ยงที่จะเกิดภัย รวมถึงการปฏิบัติตามหลักข้อกฎหมายพระราชบัญญัติของโรงงาน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกสร้างหรือซื้อบ้าน
กฎหมายพระราชบัญญัติของโรงงาน
ประกาศจากกฎกระทรวงมีกำหนดให้โรงงานสามารถประกอบกิจการตามความประสงค์เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 โดยโรงงานจะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อดังนี้
- มีอาคาร สถานที่
- ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
- ทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษาหรือทำลายสิ่งใดๆ ตามประเภทหรือชนิดกิจการ 104 ประเภทที่ระบุในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535)
เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างแล้ว โรงบางประเภทจำเป็นต้องขออนุญาตในการจัดตั้งโรงงาน แต่บางแห่งก็สามารถประกอบกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งแบ่งประเภทโรงงานออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
- โรงงานประเภท 1 โรงงานที่สามารถประกอบกิจการได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง และประกาศกระทรวง
- โรงงานประเภท 2 เป็นโรงงานที่ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเช่นกัน และเมื่อจะเริ่มประกอบกิจการให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
- โรงงานประเภท 3 เป็นโรงงานที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะตั้งโรงงานได้

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ยังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 8 (1)(2) (3) (4) (5) (6) และ (8) โดยกำหนดเรื่องการจัดตั้งโรงงานไว้ดังนี้
- ห้ามตั้งโรงงานประเภท 1 และโรงงานประเภท 2 ในบริเวณดังต่อไปนี้
- บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
- ภายในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียนหรือสถาบันการ ศึกษาวัดหรือศาสนาสถานโรงพยาบาล โบราณสถาน และสถานที่ทำการงานของหน่วย งานของรัฐ และให้หมายความรวมถึงแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
- ห้ามตั้งโรงงานประเภท 3 ในบริเวณดังต่อไปนี้
- บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัยอาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย
- ภายในระยะ 100 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถานได้แก่ โรงเรียนหรือสถาบันการ ศึกษาวัดหรือศาสนาสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน และสถานที่ทำการงานของหน่วย งานของรัฐและให้หมายความรวมถึงแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
- โรงงานประเภท 3 จะต้องตั้งอยู่ในทำเลและสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมมีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการอุตสาหกรรมตามขนาดและ ประเภทหรือชนิดของโรงงานโดยไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายเหตุรำคาญหรือความเสียหาย ต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
ทำไมยังมีบ้านถูกสร้างใกล้โรงงาน?
ขออ้างอิงจาก “สุรเชษฐ กองชีพ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟินิกซ์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ได้อธิบายเรื่องแผนผังเมืองไว้ว่า เมื่อ 30-40 ปีก่อนหน้า พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมถึงโกดังเก็บสินค้ากระจายอยู่โดยทั่วไป ทั้งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม หลายโรงงานเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผังเมืองเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
พื้นที่สองฝั่งของถนนกิ่งแก้วในอดีตเป็นที่ดิน “สีม่วง” หรือ พื้นที่สำหรับการใช้ประโยชน์เพื่อการอุตสาหกรรมตามข้อกำหนดผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2537 เพราะมีโรงงานอุตสาหกรรม โกดังสินค้าอยู่หลายแห่งในพื้นที่ รวมไปถึงมีหลายโรงงาน และหลายโกดังสินค้าที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ตามข้อกำหนดผังเมืองรวมซึ่งเป็นโรงงานและโกดังสินค้าที่มีมาก่อนที่จะมีผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2537 (โรงงานบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ก่อตั้งปี 2532) แต่ผังเมืองจะมีข้อยกเว้นว่า สามารถพัฒนาหรือดำเนินกิจการอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุในผังเมืองได้ 10% ของที่ดินในพื้นที่
ก่อนหน้านี้พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ดินโล่งๆ โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากจึงนิยมมาตั้งโรงงาน เพราะการเดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมซึ่งอาจมีโรงงานที่ทำธุรกิจด้วยกันอยู่นั้นสะดวกกว่า แต่ด้วยการขยายตัวของเมือง ความต้องการที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัยมีมากขึ้น ขณะที่พื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรือโกดังสินค้าถูกควบคุมมากขึ้น และพยายามผลักดันให้โรงงานตั้งใหม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่ผังเมืองกำหนด แต่โรงงานหรือโกดังสินค้าที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้วยังคงดำเนินกิจการได้อยู่เช่นเดิม แต่จะขยายหรือเปลี่ยนแปลงอะไรมากกว่าที่มีมาไม่ได้ และไม่สามารถสร้างโรงงานและโกดังสินค้าใหม่ได้อีก
ผังเมืองรวมสมุทรปราการเองก็มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ “สีผังเมือง” ในหลายพื้นที่รวมถึงพื้นที่ทั้งสองฝั่งของถนนกิ่งแก้วที่เห็นได้ชัดเจนในผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2544 ที่เปลี่ยนเป็น “สีแดง” หรือ ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์เพื่อพาณิชยกรรมและต่อเนื่องมาถึงผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2556 ดังนั้น จึงมีโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมากเข้ามาในพื้นที่เดียวกับโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ที่ผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ.2544 มีผลบังคับใช้ ประกอบกับความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีมากขึ้นในพื้นที่ปริมณฑล และการเปิดให้บริการของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ จึงมีผลต่อเนื่องให้พื้นที่ตามแนวถนนกิ่งแก้วกลายเป็นพื้นที่ที่มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมากมายในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา และผู้ซื้อหรือผู้ที่เลือกซื้อที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้ก็ไม่ได้คิดอะไร! ในการที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในพื้นที่
ซึ่งจริงๆ แล้วพื้นที่ในลักษณะนี้ที่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือโกดังสินค้าอยู่ในพื้นที่แล้ว เริ่มมีโครงการที่อยู่อาศัยเข้าไปในพื้นที่ยังมีอีกหลายแห่งทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล เช่น พื้นที่ตามแนวถนนพระรามที่ 3 ที่มีโกดังสินค้าหลายแห่งริมถนนด้านที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา รวมไปถึงพื้นที่ริมถนนสุขสวัสดิ์ และถนนราษฎร์บูรณะ เป็นต้น
มีบ้านใกล้โรงงานไปแล้ว ทำอย่างไร
เหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ พี่หมีเชื่อว่าทำให้คนที่มีบ้านตะหนักเรื่องสภาพแวดล้อมโดยรอบมากขึ้น แต่ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีบ้านใกล้โรงงานเป็นที่เรียนร้อยแล้ว จะให้ย้ายทำเลที่อยู่อาศัยก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย ฉะนั้นสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ ผลกระทบจากโรงงาน ทั้งเรื่องมลพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพ และเรื่องเหตุระเบิดที่อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้บ้าน สิ่งที่ควรมีไว้ภายในบ้านเพื่อเตรียมรับมือ ได้แก่
- อุปกรณ์เตือนภัย บ้านที่เสี่ยงไฟไหม้ควรติดตั้ง เครื่องจับสัญญาณควัน เพื่อให้เราสามารถรับรู้ถึงภัยในบริเวณรอบข้างก่อนไฟจะลุกลาม
- กล้องวงจรปิด ควรติดตั้งกล้องวงงจรปิดภายในและภายนอกบ้าน เพื่อเก็บภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐานในการยื่นฟ้องโรงงานได้
- ประกันบ้าน เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้น หลายคนกังวลเรื่องทรัพย์สินเสียหาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการเอาตัวรอด นำตัวเองออกจากพื้นที่เสี่ยงโดยเร็ว ส่วนเรื่องตัวบ้านและทรัพย์สิน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประกันบ้านหรือประกันอัคคีภัยจะดีกว่า อย่างน้อยเมื่อไฟดับลง ประกันจะเข้ามาช่วยชดเชยค่าเสียหาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดจะมีบ้านสักหลัง ควรคิดรอบคอบและตรวจสอบให้ดีก่อน แต่ถ้าบ้านอยู่ดันใกล้โรงงานไปแล้ว แน่นอนว่าคงยากที่จะย้ายถิ่นฐาน ทางที่ดีรับมือกับเหตุกาณ์ไม่คาดฝันด้วย ประกันบ้าน คุ้มครองอัคคีภัย ระเบิด ไฟไหม้ รวมถึงภัยธรรมชาติ น้ำท่วม สนใจ
เช็คความเสี่ยงพื้นที่บ้าน คลิก หรือ
มองหาประกันบ้าน กับ
TQM เบี้ยเริ่มหลักพัน คุ้มครองสูงสุดหลักล้าน
คลิกที่นี่เลย