19/02/61

|

อ่านแล้ว 763 ครั้ง

ไขข้อสงสัย เบรกหลังทำไมถึงหมดช้า

ไขข้อสงสัย

ทำไมเบรกหน้าหมดเร็วกว่าเบรกหลัง

 
 
    “เบรก” เป็นระบบที่สำคัญมากสำหรับรถยนต์ เพราะถ้าเบรกมีปัญหาขึ้นมาซะดื้อๆ อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้ร่วมทางคนอื่นๆ เราจึงต้องหมั่นเช็คระบบเบรกเป็นประจำ แต่เคยสงสัยกันไหมครับว่าตอนออกรถก็ได้เบรกมาพร้อมกัน แต่ทำไมถึงเสื่อมสภาพไม่พร้อมกัน? วันนี้พี่หมีจะพาไปไขข้อสงสัยเรื่องเบรก ใครสงสัยตามพี่หมีมาทางนี้เลยครับ 
 
“เบรก” ทำงานอย่างไร?
 
 
    ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ การเบรกก็คือการห้ามล้อเพื่อหยุดรถหรือชะลอความเร็ว ซึ่งทุกครั้งที่เราเหยียบเบรก แรงที่เหยียบจะถูกส่งไปที่หัวปั๊มน้ำมันเบรก(Master Cylinder) เพื่อส่งน้ำมันไปยังตัวเบรกที่ติดอยู่กับล้อ ซึ่งตรงตัวเบรกก็จะมีลูกปั๊มที่ทำหน้าที่ดันผ้าเบรกให้ไปเสียดสีกับชุดจานเบรกที่ติดอยู่กับดรัมเบรกหรือดิสก์เบรก ทำให้ล้อฝืดและหยุดลงในที่สุด 
 
ดรัมเบรก ดิสก์เบรก คืออะไร  ต่างกันยังไง?
 
    ระบบเบรกของรถในปัจจุบันเป็นแบบไฮดรอลิค แบ่งเป็น 2 แบบ คือ ดรัมเบรก(Drum Brake)และ ดิสก์เบรก(Disc Brake) ซึ่งทั้งสองระบบนี้มีความแตกต่างกันในการทำงาน คือ ดรัมเบรก จะใช้การถ่างก้ามเบรกไปยังตัวเบรกที่ติดอยู่กับดุมล้อ มีข้อเสียคือ ถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี  ซึ่งหากเบรกเกิดความร้อนสะสมก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกด้อยลง อย่างในหลายๆกรณี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่มักจะได้ยินข่าวขับรถลงเขาแล้วเกิดอาการ “เบรกไหม้” ทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ แต่ที่พี่หมีพูดมาทั้งหมดนี้ ใช่ว่าดรัมเบรกไม่ดีนะครับเพราะระบบนี้จะใช้แรงเหยียบน้อยและสามารถหยุดรถได้อย่างรวดเร็ว จึงนิยมมากในรถบรรทุกหรือรถที่ใช้ความเร็วสูงๆ
 
 
    ส่วนดิสก์เบรก เป็นระบบเบรกที่ค่อนข้างใหม่ ทำงานด้วยการดันผ้าเบรกไปที่จานเบรก ข้อดีคือสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี แต่ราคาค่อนข้างแพงและต้องออกแรงเหยียบมากกว่าดรัมเบรก ซึ่งพี่หมีคิดว่าถ้าเราไม่ได้ใช้รถเพื่อบรรทุกของเป็นประจำ การใช้ดิสก์เบรกก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีนะครับ  
 
 
แล้วทำไมหมดไม่พร้อมกัน?
 
    ในตอนต้นพี่หมีได้บอกไปแล้วนะครับว่าเบรกทำงานยังไง เมื่อเราเหยียบเบรก ล้อหน้าจะต้องรับแรงในการเบรกมากกว่าล้อหลัง ซึ่งเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์เพราะเป็นส่วนที่เจอกับแรงต้านทานก่อนและจะช่วยทดแรงที่จะมาถึงเบรกหลัง นอกจากนี้ถ้าเกิดข้อผิดพลาดเบรกหน้าไม่ทำงานและล้อหลังรับแรงมากกว่าที่ควร รถจะเกิดอาการ “ล้อตาย” ทำให้ท้ายรถสะบัดและควบคุมไม่ได้ ดังนั้นพี่หมีขอบอกไว้ตรงนี้ว่าเบรกหน้าจึงต้องใช้มากกว่าและต้องเปลี่ยนบ่อยกว่าเบรกหลังเป็นปกติครับ คนที่กำลังกังวลว่าเบรกหมดไม่พร้อมกันนั้นผิดปกติรึเปล่า ก็สบายใจได้แล้วนะครับ 
 
ต้องเปลี่ยนตอนไหน?
 
    โดยปกติ ผ้าเบรกจะต้องเปลี่ยนทุกๆ 25,000 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละคนด้วย หากใช้รถเพื่อบรรทุกของหนักๆหรือใช้ความเร็วมากๆเบรกก็จะสึกได้ง่ายกว่า รวมถึงชนิดผ้าเบรกที่ใช้ด้วย ซึ่งหากมีโลหะผสมอยู่มากก็จะยิ่งใช้งานได้นานขึ้น ดังนั้นเราจึงควรสังเกตความผิดปกติของเบรกว่ามีคราบน้ำมันหรือจาระบีไหลออกมามากเกินไปรึเปล่า ผ้าเบรกเหลือน้อยกว่า 4 มิลลิเมตรหรือไม่? และตอนเหยียบเบรกมีเสียงคล้ายเหล็กขูดกันไหม? ถ้ามีอาการเหล่านี้ขึ้นมาละก็ พี่หมีแนะนำว่าควรเข้าอู่เปลี่ยนผ้าเบรกเพื่อความปลอดภัยครับ
    
    มาถึงตรงนี้คงหายสงสัยกันหมดแล้วว่าทำไมเบรกถึงหมดไม่พร้อมกัน ส่วนใครที่กังวลว่ารถผิดปกติรึเปล่า ก็คงสบายใจกันได้แล้วแต่ไม่ว่ายังไงเราก็ควรหมั่นเช็คเบรกเป็นประจำและไม่ควรใช้ความเร็วมากจนเกินไป เวลามีอะไรกระชั้นชิดจะได้เบรกทันกันนะคร้าบ 
 
ขอบคุณแหล่งข้อมูล

http://www.samrongbrakepad.com/index.php/2009-09-20-04-01-06/13-brake-system

http://www.techniccar.com/braking-system/

https://goo.gl/35UzWn

https://auto.mthai.com/news/tips/50695.html

https://www.matichon.co.th/news/413792

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล