11/04/61

|

อ่านแล้ว 26 ครั้ง

เลือกฟิล์มติดรถยนต์ให้ คุ้ม คูล สู้ร้อน

เลือกฟิล์มติดรถยนต์

ให้ คุ้ม คูล สู้ร้อน

 
    อากาศร้อน แดดแรงแบบเมืองไทยบ้านเรา สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับรถยนต์เลยก็คือ “ฟิล์ม” นั่นเองครับ และแน่นอนในเมื่อฟิล์มสำคัญขนาดนี้ ทำให้มีหลายรูปแบบมาให้เราเลือกซื้อ แต่ฟิล์มแบบไหนที่จะเหมาะกับรถเรา และจะไม่ทำไม่ให้รถอบอ้าววันนี้พี่หมีมีคำตอบครับ
 
ประเภทฟิล์มติดรถยนต์แบบต่างๆ
 
1. ฟิล์มธรรมดาไม่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสี หมายถึงฟิล์มที่ไม่ผ่านการเคลือบโลหะ ซึ่งหลายคนอาจจะเรียกว่าฟิล์มดำ ฟิล์มใส หรือฟิล์มย้อมสีก็แล้วแต่ โดยฟิล์มชนิดนี้จะไม่มีการเคลือบหรือผสมโลหะเข้าไปในชั้นแผ่นฟิล์ม ทำให้สามารถกรองความร้อน และแสงได้น้อย – ปานกลาง ซึ่งถึงแม้จะเลือกฟิล์มที่ความทึบมากที่สุด แต่ถ้าหากไม่สามารถกรองรังสีความร้อนได้ เวลาติดฟิล์มไป ภายในรถก็ยังจะร้อนอยู่ดีทำให้ไม่เป็นที่นิยมครับ
2. ฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีที่มาจากแดด และกันความร้อนเพิ่มมากขึ้น สามารถแบ่งย่อยๆ ได้อีก 4 ประเภทคือ 
    - ฟิล์มปรอท มองคล้ายกระจกเงา ลดความร้อน 35-90% อายุการใช้งานราว 3-7 ปี แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนที่ต้องการติดฟิล์มประเภทนี้ต้องระมัดระวังกันด้วยนะครับ เพราะด้วยความสะท้อนแสงสามารถแยงตาผู้อื่นได้ แต่ถ้าสะท้อนแสงเพียงเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร และหากสะท้อนแสงเยอะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่รถคันอื่นและเข้าข่ายการผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ครับ
    - ฟิล์มนิรภัย (Safety Film) เป็นฟิล์มชนิดที่มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1,000 นิ้ว) ซึ่งจะทำการยึดเกาะแผ่นกระจกให้คงรูปมากที่สุด และยังจะช่วยซับแรงจากการกระแทกได้อีกด้วย
    - ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) เป็นฟิล์มตัดรังสีอินฟราเรด กันความร้อนได้ดีที่สุด 
    - ฟิล์มใสนาโน แสงแดดสามารถส่องผ่านได้มากที่สุดถึง 60% แต่ก็ช่วยลดความร้อนได้สูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต 
 
เราจะเลือกยังไงดี
    เทคนิคการเลือกง่ายๆ มีดังนี้ ลองตามพี่หมีไปดูเลยครับ 
    1. ความหนาของฟิล์ม ความหนาหรือความทึบของฟิล์มจะแล้วแต่ยี่ห้อ บางยี่ห้อจะมีให้เลือกมากมาย แต่ที่เด่นๆ และเข้าใจง่าย จะมีอยู่ 3 ระดับคือ
    - เข้ม 40% หมายความว่าฟิล์มชนิดนี้จะมีความทึบ 40% แสงส่องผ่านได้ประมาณ 60% 
    - เข้ม 60% หมายความว่าฟิล์มชนิดนี้จะมีความทึบ 60% แสงส่องผ่านได้ประมาณ 20% 
    - เข้ม 80% ฟิล์มตัวนี้จะมีความเข้มที่สุด แสงจะส่องผ่านได้ประมาณ 5% ไม่เหมาะกับการติดกระจกหน้า
    2. ค่าการลดความร้อนจากรังสีอินฟราเรด (Infrared Rejection , IRR) รังสีอินฟราเรดหรือรังสีความร้อน ซึ่งรังสีอินฟราเรดนั้นมีอยู่ 53% ของรังสีจากแสงอาทิตย์ ยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี ซึ่งฟิล์มที่กันร้อนได้ดี ควรจะกันรังสีอินฟราเรดได้มากกว่า 80% ขึ้นครับ
    3. ค่าการลดความร้อนรวม (Total Solar Energy Rejection , TSER ) เป็นค่าการลดความร้อนที่นำค่าการลดความร้อนจากรังสีUV,แสงสว่างส่องผ่าน,รังสีอินฟราเรด อย่างมารวมกัน ซึ่งค่าการลดความร้อนรวมนี้ มีวิธีคิดหลายมาตรฐาน!!! ส่วนตัวจึงไม่แนะนำให้ใช้ค่านี้จากฟิล์มหลายๆยี่ห้อมาเทียบกันครับ เพราะฟิล์มที่ลดความร้อนรวมได้ 60%บางยี่ห้อ ยังกันความร้อนได้ดีกว่าฟิล์มที่ลดความร้อนรวมได้ 80% ของบางยี่ห้อครับ
    4. ค่าแสงสะท้อน (Visible Light rejection , VLR) เป็นค่าที่บอกว่าฟิล์มกรองแสงนี้มีความเงามากน้อยเท่าไหร่ยิ่ง % การสะท้อนแสงมาก ทำให้ฟิล์มมีลักษณะมันวาวมากคล้ายๆกับกระจก จึงมีข้อห้ามไม่ให้ติดฟิล์มกรองแสงที่มีการสะท้อนมากๆ เพราะจะทำให้แสงสะท้อนไปเข้าตาคนอื่นได้ครับ
 
เทคนิคเลือกฟิล์มติดรถ
 
    นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัย เช่น งบประมาณ คุณภาพ ความจำเป็นในการเลือกความเข้มของฟิล์มส่วนยี่ห้อผู้ผลิตนั้นส่วนใหญ่มักเป็นแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศที่มี ดังนั้นควรเลือกฟิล์มที่เหมาะสม เพียงพอกับตัวรถยนต์และลักษณะการใช้งานนะครับ
    เนื่องจากฟิล์มกรองแสงเป็นวัสดุชิ้นหนึ่งที่ถือว่าสำคัญกับรถมาก แถมยังช่วยปกป้องเพื่อนๆจากแสงแดดและ UV  ดังนั้นจะติดฟิล์มทั้งทีก็ต้องเลือกมีคุณภาพ และเหมาะสมกับการใช้งานนะครับ และนอกจากเลือกฟิล์มแล้ว อย่าลืมเลือกประกันชั้น 1 เพียง 6,999 บาทช่วยดูแลทั้งคุณทั้งรถนะครับ ถึงเราจะช่วยป้องกันความร้อนไม่ได้ แต่เราช่วยให้คุณสบายใจตลอดการเดินทางได้นะครับ สนใจเพิ่มเติม สอบถามพี่หมีได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ Live Chat หรือ Call Center 1737
 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล