29/08/61

|

อ่านแล้ว 100 ครั้ง

10 อันตรายจากฝน กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์

10 อันตรายจากฝน สำหรับผู้ขับขี่จักรยานยนต์

 
ในแต่ละวัน เรากำหนดสภาพอากาศเองไม่ได้ แม้ว่าจะพกร่มกันฝน หรือ เตรียมรองเท้าลุยน้ำ แต่ระหว่างวันฝนก็อาจจะเทลงมาอย่างผิดฤดูกาลบ่อย ๆ หากคุณเป็น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์  ก็คงเคยเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้บนท้องถนน มาดูกันว่า มี 10 อันตรายแบบใด ที่เกิดขึ้นกับท่านที่ขับรถลุยฝนบ้าง
 
อันตรายจากฝน กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์
 
 

1 เฉี่ยวชน

แม้ว่าคุณจะขับรถมาอย่างระมัดระวังแล้ว แต่อาจจะเกิดเหตุเฉี่ยวชนจากคันอื่น ๆ เบียดมาชนได้  เนื่องจากฝนตกทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่ดี แม้ว่าจะไปจอดใต้สะพานในที่คิดว่าปลอดภัยแล้วก็ตาม ก็อาจจะถูกรถยนต์คันใหญ่ที่ควบคุมการทรงตัวไม่อยู่พุ่งมาชนได้
 

2 รถดับ

ท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์บางรุ่นก็ไม่ได้ออกแบบมาให้ลุยน้ำได้ ทั้งรถจักรยานยนต์ทั่วไป และบิ๊กไบค์ เหตุน้ำเข้าท่อไอเสียก็สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้จนต้องซ่อมเครื่องรถทั้งคันเช่นเดียวกับรถยนต์ ดังนั้นหากคุณมีโอกาสขับรถลุยน้ำหน้าฝนบ่อย ๆ ก็ควรทำประกันรถจักรยายนต์คุ้มครองรถโดนน้ำท่วมไว้ด้วย
 

3 ยางแตก

ด้วยความรีบ ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่กีดขวางอยู่บนถนน และฝนที่ตกหนัก ๆ ก็สาดเอาเศษหิน เม็ดกรวด รวมถึงพวกโลหะแหลมคม มักถูกพัดมาตามริมขอบถนน ซึ่งเป็นเลนของรถจักรยานยนต์ ทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับยางได้ง่ายกว่าช่วงที่ถนนแห้ง หลังจากฝนหยุดแล้วอาจจะต้องรีบหาร้านปะยางด่วน (ถ้าเกิดยางแตกตอนกลางคืนก็คงลำบากแน่ ๆ)
 

4 ตกหลุมถนน

แน่นอนว่า หากคุณเป็นคนที่ขับรถลุยฝนบ่อย ๆ ก็จะมีโอกาสตกหลุมถนนมาบ้าง ทั้งหลุมเล็ก หลุมใหญ่ เพราะมันมองไม่เห็นจริง ๆ ปริมาณน้ำขังจะมาบดบัง และยิ่งน้ำท่วมขังสูง ยิ่งทำให้มองไม่เห็นสัญญาณบอกว่าเป็นหลุมเลย อันตรายของการขับรถจักรยานยนต์ตกหลุมถนนมีตั้งแต่ฟกช้ำ บาดเจ็บ ไปจนถึงรถไถล ซึ่งหากเป็นถนนที่คุณไม่คุ้นเคย ก็ไม่ควรจะเสี่ยง
 

5 ลื่น

อย่าชะล่าใจแม้ว่าฝนจะตกเบา ๆ เพราะว่าเมื่อถนนชุ่มน้ำแล้ว คุณขับรถมาด้วยความเร็วไม่มากก็อาจจะลื่นได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดอกยากหรือ ความประมาท แต่มันอาจจะเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ มักจะมีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการขับขี่
 

6 สีรถเสียหาย

น้ำฝน ไม่ได้เป็นน้ำบริสุทธิ์เสมอ บางพื้นที่น้ำฝนชะล้างเอาสารพิษจากอากาศ เมื่อมาสัมผัสกับสีรถที่คุณรักแล้วไม่ได้รีบจัดการเช็ดออกล่ะก็ อาจจะทำให้เกิดคราบรอยด่าง ไม่แพ้กับรถที่โดนแป้งสีประหลาดช่วงสงกรานต์ ทำให้เป็นคราบขัดไม่ออกทีเดียว
 

7 รองเท้าหลุด

ฝนตกทีไร จะเจอรองเท้าหลุดบนถนนบ่อยมาก ทั้งคนขับ คนซ้อน เพราะจะมีจังหวะที่ต้องยันเท้าไว้กับถนน (แล้วถนนก็ลื่นด้วย) เกิดเป็นแรงเสียดทานมากขึ้น ดึงให้รองเท้าที่สวมอยู่ ค่อย ๆ หลวมหลุดตามกันไป บางทีก็เก็บไม่ทันจริง ๆ เพราะรถคันหลังก็จี้มา
 
 

8 ของตก

ช่วงก่อนฝนตกลมจะพัดแรงกว่าปกติ อะไรที่แขวนมากับรถ ถ้าไม่ได้ผูกเชือกค้ำมาอย่างแน่นหนา ก็อาจจะปลิวหล่นกระเด็นไปได้ การจอดเพื่อเก็บก็เพิ่มความเสี่ยงอันตรายให้รถคันหลังมองไม่เห็นไปอีก
 

9 ไฟดูด

 
ข้อนี้น่ากลัวมาก ๆ ถ้าไปจอดรถตามเสาไฟ หรือ ใต้ต้นไม้ หรือแม้กระทั่งป้อมยามเก่า ๆ ก็ระวังไฟดูดเอาไว้ด้วย เมื่อตัวคุณเปียก แล้วใช้มือเท้าที่เสาไฟ ก็อาจทำให้เกิดเป็นสะพานเชื่อมกระแสไฟฟ้าจากสายไฟที่รั่ว เข้าสู่ตัวคุณ หากไม่มีใครอยู่ใกล้ ๆ คอยช่วยเหลือ ก็อาจจะกลายเป็นเหตุที่น่าสลดขึ้น
 

10 ป่วย เป็นไข้หวัด หรือ อื่น ๆ

 
โรคไข้หวัด ไม่ค่อยน่ากลัว เท่าโรคฉี่หนู ที่หากขับรถจักรยานยนต์ลุยน้ำ ตามเขตพื้นที่ท่อน้ำ อันตรายที่ดูมีความเสี่ยงเป็นที่แพร่พันธุ์ของพวกหนูท่อ ต้องระวังพวกโรคฉี่หนูเอาไว้ให้ดี  ต้องรีบล้างเท้าด้วยน้ำสะอาด ได้เข้าบ้านก็รีบอาบน้ำ เช็ดตัวให้แห้ง เพื่อป้องกันทุกโรคที่มาจากความชื้น
 
สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าฝนนี้สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์  ทั้งสุขภาพร่างกายที่เกิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ อุปกรณ์เกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ อย่างหมวกกันน็อค ที่มักมีความชื้น เพราะฉะนั้น การขับขี่รถจักรยานยนต์หน้าฝน ก็ต้องทำความสะอาดร่างกายและรถให้ดี ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณและรถนะครับ!
 
 
READ MORE :
 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล