28/03/63

|

อ่านแล้ว 88 ครั้ง

นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?

นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย พบยอดผู้ป่วยจากหลักสิบสู่หลักพันภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ซึ่งยอดผู้ป่วยสะสม 1,524 คน  รักษาอยู่ 1,406 รักษาหายแล้ว 111 คน เสียชีวิต 7 คน (อัพเดตข้อมูลวันที่ 30/03/63)หลายบริษัทมีมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้าน (work from home) หรือหยุดโดยไม่ได้รับเงินเดือน (leave without pay) แต่สำหรับบางคนเชื่อว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นจะต้องเดินทางไปทำงาน อยู่ในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ จนกลายเป็นความรู้สึกกังวลและเกิดคำถามในใจว่า นี่เราติดโควิด-19หรือยัง?
 
     แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า เราติดโควิดหรือยัง ต้องเริ่มต้นจากการ เช็คอาการด้วยตัวเองก่อน หากมีความสุ่มเสี่ยงสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรเดินทางตรวจหาเชื้อโควิด-19 อย่างละเอียดที่โรงพยาบาล และถ้าผลตรวจออกมาว่า เราคือผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้นมาจริงๆ เราจะเข้ารับรักษาที่ไหน มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการรักษาอะไรบ้าง วันนี้พี่หมี TQM มีคำตอบครับ

ขั้นตอนที่ 1 เช็คอาการ เราเสี่ยงโควิด-19 หรือเปล่า

     อาการโควิด-19 สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยจะมีอาการหลักๆ ดังนี้ (อ่าน เช็กอาการติดไวรัสโคโรนาหรือแค่ป่วย)
กรณีที่ 1 ไม่มีอาการ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 ไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 2 ไม่มีอาการ แต่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 3 มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 ไม่ได้กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ไม่ต้องไปตรวจ
กรณีที่ 4 มีอาการเล็กน้อย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ แต่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย Covid-19 หรือกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ควรไปตรวจ
กรณีที่ 5 มีไข้สูง ไอ หอบเหนื่อย ควรไปตรวจ
กรณีที่ 6 มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย + อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เจ็บหน้าอกฉับพลัน วูบหมดสติ ควรไปตรวจ
     ทั้งนี้หากมีอาการเข้าข่าย กรณีที่ 4-5 ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ถ้าอาการหนักมากอาจทำให้อวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลวได้
 
เช็คอาการ เราเสี่ยงโควิด-19 หรือเปล่า

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาล 

     ในขั้นตอนนี้จะเป็นการเพิ่มความชัวร์ว่า เราติดโควิด19 จริงๆ หรือเปล่า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลนั้นๆ แต่สำหรับผู้เข้าตรวจมีอาการหรือประวัติตรงตามเกณฑ์จะสามารถเข้าตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี
 
     ตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้
1. เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
2. มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
3. มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
4. มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุ
5. มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ (อ่าน 37สถานที่เสี่ยงใครไปต้องกักตัว)
6. ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
 

รายชื่อโรงพยาบาลที่รับตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมค่าตรวจ

     ค่าตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ตรวจหาเชื้อในทางเดินหายใจ) 
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราคา 3,000 – 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ราคา 3,000 – 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคา 5,000 บาทขึ้นไป
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ราคา 7,500 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ราคา 6,100 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 3 ราคา 6,100 บาท
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ราคา 8,000 บาท
  • สถาบันบำราศนราดูร ราคา 2,500 - 14,000 บาท
  • โรงพยาบาลพระราม 9 ราคา 8,000 – 10,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ราคา 5,000 - 13,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลโชคชัย 4 ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป
  • โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียลเกษตร ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ราคา 9,900 บาท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ราคา 5,000 - 10,000 บาท
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ราคา 10,500 บาท

ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ณ โรงพยาบาล
ภาพจาก https://www.mcot.net/

ขั้นตอนการตรวจร่างกายหาเชื้อไวรัสโควิด-19

1. ควรอยู่ในพื้นที่รองรับผู้ป่วยที่มาตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ที่ทางโรงพยาบาลจัดไว้เท่านั้น
2. เมื่อเข้าพบแพทย์แล้ว ให้บอกอาการและประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงประวัติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลก่อนหน้า 14 วัน (ผู้ป่วยควรตอบตามความเป็นจริง)
3. หากประเมินอาการแล้วเสี่ยงติดเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจหาเชื้อด้วย 2 วิธี
- ใช้สำลีพันก้านยาวๆ สอดเข้าไปในจมูก
- ใช้สำลีพันก้านยาวๆ ป้ายลึกเข้าไปในปากตรงต่อมทอนซิล และคอด้านหลัง
4. แพทย์จะนำสำลีก้านนั้นไปตรวจหาเชื้อโควิด 19 ห้องแล็ป ใช้เวลากว่าจะรู้ผล 8-12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากมีผู้เข้าตรวจจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาหลายวัน
5. ระหว่างที่รอผล หากผู้ป่วยมีอาการหนัก แพทย์จะให้พักรักษาตัวตามอาการอยู่ที่โรงพยาบาลพร้อมรอฟังผลตรวจ แต่หากผู้ป่วยคนไหน มีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถกลับบ้านได้โดยจะต้องกักตัวเอง ไม่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้อื่น ใส่หน้ากากอนามัยและดูแลตัวเองอย่างดีที่สุด และเมื่อรู้ผลจะมีเจ้าหน้าที่โทรไปแจ้ง
6. หากผลตรวจออกมาเป็น negative หรือผลลบ แสดงว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ถ้าผลตรวจออกมาเป็น positive หรือผลบวก คือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลทันที

ขั้นตอนที่ 3 เข้ารับรักษาโควิด-19 กับโรงพยาบาล

     นาทีที่รู้ว่าป่วยโควิด-19 จริงๆ คุณจะกลายเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน และมีเจ้าหน้าที่ขับรถมารับผู้ป่วยที่บ้านเพื่อนำผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะมีทั้งโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน หากเลือกเข้ารักษากับโรงพยาบาลรัฐ เราจะถูกส่งตัวไปรักษาตามที่ทางรัฐกำหนดให้ แต่ถ้าโรงพยาบาลรัฐมีเตียงรองรับไม่เพียงพอ การเข้ารับรักษากับทางโรงพยาบาลเอกชนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
     การเลือกเข้ารักษาในโรงพยาบาลนั้น ควรเลือกโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิการรักษาของตนเองก่อน เช่น มีประกันสุขภาพเอกชนส่วนตัว ให้ใช้สิทธิประกันสุขภาพส่วนตัว แต่ถ้าไม่มีประกันสุขภาพจะต้องใช้โรงพยาบาลที่อยู่ในเครือประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมเช็คจำนวนเตียงที่รองรับกับทางโรงพยาบาลก่อนเสมอนะครับ
 
เข้ารับรักษาโควิด-19 กับโรงพยาบาล
ภาพจาก https://www.matichon.co.th/

รักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างไร

     เมื่อผู้ป่วยถึงมือหมอแล้ว ทางการแพทย์จะมีวิธีการรักษาดังนี้
1. สิ่งแรกที่แพทย์จะทำคือ ส่งตัวผู้ป่วยไปพักในห้องแยกโรคเดี่ยวหรือห้องเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 พร้อมประเมินอาการ และรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดทั่วไป
2. ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านไวรัสในปริมาณที่เหมาะสมกับของแต่ละคน 
3. ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้น จะถูกย้ายไปที่ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (AIIR) และมีแพทย์คอยดูแล เฝ้าระวัง ติดตามอาการ และรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น
4. หากผู้ป่วยอาการดีขึ้น จะมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง ถ้าผลออกมาไม่พบเชื้อ จะมีการตรวจซ้ำครั้งที่สอง เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่พบเชื้อจริง โดยจะต้องเว้นระยะห่างจากการตรวจแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

     เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าค่ารักษาพยาบาลที่ต้องใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลเอกชนเมื่อเราเจ็บป่วย และแพทย์ลงความเห็นว่าควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนนั้น ค่ารักษาพยาบาลซึ่งเฉพาะเพียงค่าห้องพักผู้ป่วยของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเรานั้น เฉลี่ยเริ่มต้นที่ 2,400 – 10,600 บาท / คืน 
 
     แต่หากท่านต้องเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อโควิค-19 ซึ่งกำลังเป็นโรคติดต่ออันตรายในปัจจุบัน แผนการรักษาที่เราจะได้รับนั้นต้องแตกต่างไปจากผู้ป่วยปกติ และต้องได้รับการรักษาที่เฉพาะทางเป็นกรณีพิเศษมากกว่าโรคทั่วไป เราต้องนอนห้องแยกที่จัดเตรียมไว้เฉพาะสำหรับผู้ป่วยโควิค-19 ซึ่งเป็นห้องแยก Negative pressure ที่ต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์พิเศษ และต้องมีแพทย์ พยาบาลเฉพาะทางเป็นผู้ดูแลเรียกได้ว่าการดูแลนั้น เทียบเท่าห้อง ICU เลยทีเดียว หรือหากอาการหนักอาจต้องนอน ICU นั่นหมายถึงเราต้องเสียค่าห้องเฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่เฉลี่ย 7,000-80,000/ คืน หากนอน 7 คืนค่าห้อง เฉลี่ย 49,000-560,000 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าบริการ อื่นๆ อีกมากมาย  เช่น ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด  ค่าเวชภัณฑ์ ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสี ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ ค่าบริการพยาบาล ค่าบริการโรงพยาบาล/วัน  ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางแพทย์ ค่าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน กรณีไปรับตัวที่บ้าน ค่าบริการอื่นๆ...
 
     ดังนั้นหากประมาณการค่ารักษาพยาบาล เมื่อเราเจ็บป่วยด้วยโรคโควิค-19 และต้องนอนโรงพยาบาลเอกชนรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องเตรียมไว้ คาดว่าเกิน 1 แสนแน่นอน (แต่ละโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอาการ โรคแทรกซ้อนของผู้ป่วย และอัตราค่ารักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ)
 
     พี่หมีขอแนะนำ ประกันภัยที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยโควิด-19 เบี้ยหลักร้อนคุ้มครองหลักล้าน คลิก ประกันภัยโควิด-19
 
     การรักษามักมาพร้อมค่าใช้จ่าย ซึ่งการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษา (แบบคร่าวๆ) ดังนี้
1. ค่าห้องและค่าอาหาร (ราคาตามประกาศของแต่ละโรงพยาบาล)
2. ค่าห้องผู้ป่วยหนัก กรณีต้องนอน ICU ค่าห้องปกติ ค่าห้องICU (ราคาตามประกาศของแต่ละโรงพยาบาล)
3. ค่ารักษาพยาบาล  ได้แก่ 
ค่ายาและสารอาหารทางหลอดเลือด 
ค่ายากลับบ้าน 
ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสี 
ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีพิเศษ ตรวจวินิจฉัยโดยวิธีพิเศษอื่นๆ เช่น  CT 
ค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ 
ค่าบริการพยาบาล/วัน (ราคาห้องปกติกับห้องICU ห้องแยกราคาต่างกัน) ราคาขึ้นอยุ่กับประกาศของโรงพยาบาลนั้น ๆ
ค่าบริการโรงพยาบาล/วัน  
4. ค่าธรรมเนียมบุคลากรทางแพทย์ ได้แก่ 
ค่าแพทย์ตรวจผู้ป่วยนอกครั้งแรก 
ค่าแพทย์ตรวจรักษากรณีผู้ป่วยในครั้งแรก 
ค่าตรวจรักษากรณีผู้ป่วยในครั้งต่อไป (ค่าแพทย์ตรวจทุกวัน) 
ค่าสรุปเวชระเบียนเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน 
ค่าแพทย์ที่ปรึกษาเฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อ
5. ค่าบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน กรณีไปรับตัวที่บ้าน
6. ค่าบริการอื่นๆ
 
     ไขข้อสงสัยกันไปแล้วกับคำถามในใจที่ว่า นี่เราติดโควิด-19หรือยัง แล้วถ้าติดเชื้อจะทำอย่างไร แต่จะดีกว่าถ้าเราระมัดวังตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ใช้เจลแอลกอฮอล์ยามจำเป็น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุกแล้ว กินร้อนช้อนกลาง งดไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือแออัด เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเราเองได้รับเชื้อไวรัส และสุดท้ายนี้พี่หมี TQM ขอส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงคนไทยทุกคนผ่านวิกฤติหนีไปด้วยกันนะครับ
 
 
 
READ MORE : 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล