29/03/68

|

อ่านแล้ว 625 ครั้ง

โรคสมองเมาแผ่นดินไหวเกิดได้จริงไหม? สังเกตอาการ สาเหตุ วิธีป้องกัน

    แผ่นดินไหวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อโครงสร้างอาคารหรือชีวิตผู้คนในพื้นที่ประสบภัยเท่านั้น แต่ยังทิ้งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและร่างกายของผู้ที่เผชิญเหตุอย่างไม่ทันตั้งตัว หนึ่งในอาการที่หลายคนประสบหลังเหตุการณ์คือ “เวียนหัว มึนงง เดินเซ เหมือนยังรู้สึกว่าโลกยังสั่นอยู่” ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับภาวะที่เรียกว่า โรคสมองเมาแผ่นดินไหว หรือที่รู้จักในชื่อทางการแพทย์ว่า Earthquake Drunk Syndrome วันนี้พี่หมี  TQM จะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักโรคนี้แบบเจาะลึก พร้อมคำแนะนำในการป้องกันและดูแลสุขภาพหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อให้คุณสามารถฟื้นตัวอย่างปลอดภัยและใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ

 

โรคสมองเมาแผ่นดินไหวคืออะไร?

โรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk Syndrome) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทการทรงตัว (Vestibular System) โดยผู้ป่วยจะยังคงรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนแม้ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะสิ้นสุดลงแล้ว ความรู้สึกนี้อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งการรับรู้ของสมองที่ยังคงตกค้างหรือจากการเปลี่ยนแปลงของแรงโน้มถ่วงในระบบหูชั้นใน ซึ่งควบคุมการทรงตัวและความสมดุลของร่างกาย อาการนี้มีลักษณะคล้ายการเมาเครื่องเล่นหรือเมาทะเล แต่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวโดยตรง

โรคสมองเมาแผ่นดินไหวคืออะไร?

อาการของโรคสมองเมาแผ่นดินไหว

อาการของโรคสมองเมาแผ่นดินไหวมีหลายระดับ ตั้งแต่อ่อนจนถึงรุนแรง ได้แก่

  • รู้สึกว่าโลกยังสั่นไหวอยู่แม้เหตุการณ์จบไปแล้ว: ความรู้สึกนี้อาจเกิดขณะนั่ง ยืน หรือแม้แต่นอน

  • เวียนศีรษะ คล้ายเมารถหรือเมาเรือ: อาการนี้มักมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้หรือปวดหัว

  • เดินไม่ตรงทาง รู้สึกตัวโคลงเคลง: โดยเฉพาะเมื่อหลับตาหรือยืนนิ่งเป็นเวลานาน

  • เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ: บางรายมีอาการล้าแบบไม่มีสาเหตุ

  • มีอาการวิตกกังวล หรือหวาดระแวงว่าแผ่นดินไหวจะเกิดซ้ำ: ส่งผลต่อสุขภาพจิตและการนอนหลับ

 

สาเหตุของโรคสมองเมาแผ่นดินไหว

    ระบบประสาทการทรงตัวจะรับข้อมูลจากหูชั้นใน กล้ามเนื้อ และดวงตา เพื่อประมวลผลความรู้สึกถึงตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อเกิดแผ่นดินไหว สมองอาจยังคงจดจำแรงสั่นสะเทือนที่ได้รับ ส่งผลให้เกิดการรับรู้ผิดว่าโลกยังสั่นไหว แม้ร่างกายจะอยู่นิ่งแล้ว นอกจากนี้ยังมีภาวะที่เรียกว่า Earthquake Illusion ซึ่งสมองยังคงหลอกให้รู้สึกว่ากำลังเกิดการเคลื่อนไหวอยู่ต่อเนื่อง

 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการสมองเมาแผ่นดินไหว

  • แรงสั่นสะเทือนที่ยาวนานและต่อเนื่อง: ยิ่งแผ่นดินไหวนานเท่าไร สมองจะยิ่งจดจำแรงสั่นได้นานขึ้น

  • การอยู่ในอาคารสูงหรือพื้นที่ที่สั่นสะเทือนแรงกว่าพื้นดิน: ผู้ที่อยู่ในคอนโดหรือสำนักงานอาคารสูงมักได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ที่อยู่ชั้นล่าง

  • ความเครียด วิตกกังวล หรือประสบการณ์ใกล้ตายจากแผ่นดินไหว: ส่งผลให้ระบบประสาทไวต่อการกระตุ้น

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองจากอาการสมองเมาแผ่นดินไหว

วิธีป้องกันและดูแลตัวเองจากอาการสมองเมาแผ่นดินไหว

ถ้าเริ่มมีอาการ ควรทำอย่างไร

  • นั่งพักหรือเอนตัวในที่ปลอดภัย: หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวหรือเดิน เพราะอาจล้มได้

  • หายใจลึก ๆ และช้า: เทคนิคนี้ช่วยลดการตื่นตระหนก และช่วยให้สมองผ่อนคลาย

  • หลีกเลี่ยงการใช้จอมือถือหรือจอมอนิเตอร์: การใช้สายตามากเกินไปจะกระตุ้นอาการเวียนหัวให้หนักขึ้น

  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ: เพื่อหล่อเลี้ยงสมองและลดการเหนื่อยล้า

 

อาการแบบไหน ควรไปหาหมอ

  • หากอาการเวียนหัว ไม่หายภายใน 1-3 วัน ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและประเมินอาการ

  • อาการรุนแรง เช่น อาเจียนบ่อย ทรงตัวไม่ได้ เดินไม่ได้ ถือเป็นสัญญาณอันตราย

  • หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคเกี่ยวกับหูชั้นใน หรือระบบประสาทส่วนกลาง ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

โรคนี้อันตรายหรือไม่?

    แม้อาการของโรคสมองเบาแผ่นดินไหวจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่หากละเลยและไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจกระทบต่อการทำงาน การขับขี่ หรือชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการเรื้อรังหรือกระทบต่อสุขภาพจิต เช่น ภาวะเครียดเรื้อรัง หรือ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ดังนั้นควรเฝ้าระวังสัญญาณ และไม่ควรมองข้ามอาการเริ่มต้นเล็ก ๆ

 

    โรคสมองเมาแผ่นดินไหว เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ควรใส่ใจ โดยเฉพาะในยุคที่ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว การรู้ทันอาการและแนวทางการป้องกันจะช่วยให้สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก และเพื่อความอุ่นใจในระยะยาว การมี ประกันสุขภาพ ที่ครอบคลุมเรื่องค่ารักษา จะช่วยให้คุณสามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหรือรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะอุบัติภัยไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่เราสามารถวางแผนรับมือได้เสมอเพื่อชีวิตที่มั่นคงและปลอดภัย สนใจเช็คราคาประกันสุขภาพได้ที่ www.tqm.co.th หรือปรึกษาเรื่องประกันภัยโทร 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง