จอดรถให้ถูกกฎหมาย
article created at icon23/02/61

|

อ่านแล้ว 1,836 ครั้ง

จอดรถให้ถูกกฎหมาย

จอดรถให้ถูกกฎหมาย 

เรื่องง่ายๆที่ควรรู้ 

 
 
    เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเจอปัญหาว่ารถไม่มีที่จอด จำเป็นต้องจอดซ้อนคันหรือริมทางเท้า ซึ่งนี่ละครับอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นรถคันอื่นมาชนท้ายเรา ไปขวางทางเข้าออกโดยไม่ตั้งใจรวมไปถึงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับได้ด้วย! พี่หมีขออาสารวมมิตรทุกข้อมูลเรื่องการจอดรถเอามาไว้ให้ แบบไหนบ้างที่ผิดกฎหมาย แล้วถ้าจำเป็นต้องจอดจะทำยังไงได้บ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยครับ รับรองได้ใช้แน่นอน
 
จอดแบบนี้ไม่ดีแน่
 
  ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538) แล้วการจอดรถที่นับเป็นการกระทำผิดนั้นมีหลายแบบครับ พี่หมีจะขอยกมาเฉพาะที่เราพบกันบ่อยๆดังนี้ครับ 
 
1.หยุดหรือจอดรถเป็นการกีดขวางการจราจร
2.จอดรถไม่ขนานกับขอบทางหรือไหล่ทาง
3.จอดรถห่างจากขอบทางหรือไหล่ทางเกิน 25 เซนติเมตร
4.จอดรถบนทางเท้า
5.จอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
6. จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
7. จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด 
8. จอดรถในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
9. จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม 
10. จอดรถซ้อนคันกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
11.จอดรถตรงปากทางเข้า-ออกของอาคารหรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
12. .จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางหรือจอดรถในระยะเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร 
   ทั้งหมดที่กล่าวมานี้พบได้บ่อยครับ และถือเป็นความผิดตามมาตรา ม. 54, 55, 57 หรือ148 โทษปรับไม่เกิน 500 บาท
   
 จอดรถให้ถูกวิธีดีแน่นอน
 
การจอดรถอย่างถูกวิธี
      
        นอกจากนี้พี่หมีขอยกคำแนะนำเรื่องการจอดจาก ท่านอธิบดีฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มาบอกต่อทุกๆคน ตามนี้ครับ
          1.จอดรถในช่องจอดรถ ควรเลื่อนคันเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง P เพื่อไม่ให้รถเลื่อนและพยายามจอดขนานกับเส้นที่กำหนดและกะระยะห่างจากเส้นให้เหมาะสมครับ ระวังอย่าให้ล้ำไปด้านหน้ามากเกินไป พร้อมพับกระจกข้าง จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้รถคันอื่นสามารถขับผ่านหรือเข้าจอดได้สะดวกด้วย
         2. จอดขวางช่องจอดรถหรือซ้อนคัน ให้ปลดเกียร์ว่างหรือเลื่อนคันเกียร์ไปไว้ที่ตำแหน่ง N และห้ามดึงเบรกมือโดยเด็ดขาด เพื่อให้คนอื่นเข็นรถเราออกได้ รวมถึงไม่จอดรถบริเวณหัวมุม ทางโค้ง หรือทางแคบ เพราะมีพื้นที่จำกัดครับ รถของเราอาจกีดขวางช่องทางจราจร ทำให้รถคันอื่นขับผ่านไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้
          3. จอดรถบนช่องทางเดินรถเช่นริมทางเท้า ควรจอดรถบริเวณด้านซ้ายของทางเดินรถเสมอ โดยให้รถชิดและขนานกับขอบหรือไหล่ทางในระยะไม่เกิน 25 ไม่จอดรถในบริเวณที่ห้ามจอด เช่น บนทางเท้า บนสะพาน ในอุโมงค์ บริเวณทางร่วมทางแยก เป็นต้น
          4. กรณีรถจอดเสียบนทางเดินรถ ควรให้สัญญาณการจอดรถโดยเปิดไฟฉุกเฉิน หาวัสดุที่เด่นชัดมาวางโดยให้ห่างจากรถในระยะไม่ต่ำกว่า 50 เมตร เพื่อเตือนให้ผู้ขับรถคันอื่นทราบว่ามีรถจอดเสีย จะได้เพิ่มความระมัดระวังและเปลี่ยนช่องทางเดินรถได้ทันครับ จากนั้นให้พยายามนำรถออกให้พ้นช่องทางเดินรถโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วย
          5. จอดรถบนทางลาดชัน ควรจอดรถให้ชิดขอบทาง ฟุตบาท หรือกำแพงให้มากที่สุด โดยหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางขอบทาง เผื่อรถเคลื่อนที่จะได้ไม่ไหลไปกีดขวางช่องทางจราจร กรณีที่เป็นทางลาดชันที่ไม่มีขอบทาง ควรหมุนพวงมาลัยให้ล้อหน้าเลี้ยวไปทางด้านตรงข้ามกับถนนด้วย ดึงเบรกมือขึ้นจนสุด เลื่อนเกียร์ไปยังตำแหน่งถอยหลังสำหรับรถเกียร์ธรรมดาและตำแหน่ง P สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนตัว รวมถึงนำก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุที่แข็งแรงมารองล้อรถเพื่อเพิ่มความปลอดภัยครับ
            รู้แบบนี้แล้วต้องจอดให้ถูกวิธีให้เป็นนิสัย เพราะการจอดที่ผิดกฎจราจรไม่ใช่ผิดแค่กฎหมายแต่ยังถือเป็นมารยาททางสังคมที่เราควรใส่ใจ ก่อนจอดรถขอให้คิดสักนิดเท่านี้ก็จะลดปัญหาได้มากเลยละครับ
 
ขอขอบคุณข้อมูล

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา