นั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง โรครุมเร้า
article created at icon13/12/64

|

อ่านแล้ว 223 ครั้ง

นั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง โรครุมเร้า

    มนุษย์ออฟฟิศ หรือใครก็ตามที่ต้องนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ไม่มีกิจกรรมลุกเดินให้เผาผลาญพลังงานในร่างกาย หรืออย่างมากแค่พักกินข้าวกลางวันกับเข้าห้องน้ำ ฟังแล้วอาจดูเป็นงานสบาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่านั่นเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตรายหลายโรคเลยทีเดียว ว่าแต่ การนั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง เสี่ยงต่อโรคอะไร และทำลายสุขภาพมากแค่ไหน เกี่ยวโยงกันอย่างไร วันนี้พี่หมี TQM รวบรวมมาให้ไว้ที่นี่ รับรองอ่านจบเพื่อนๆ ต้องลุกขึ้นไปเดินบ้างแน่
 
 
นั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง เกี่ยวโยงกับสุขภาพแย่อย่างไร
 

นั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง เสี่ยงต่อโรคอะไร

1. โรคหัวใจ

    คนที่นั่งทำงานเป็นเวลานาน มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ทำงานกลางแจ้งหรืองานที่ต้องขยับร่างกายอยู่บ่อยๆ ซึ่งมีผลงานทดลองกับ คน 2 กลุ่ม คนกลุ่มแรกนั่งทำงานตลอดทั้งวัน กับคอนดักเตอร์ หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยคนกลุ่มสองที่ไม่ได้นั่งทำงาน มีการรับประทานอาหารใกล้เคียงกัน ผลปรากฎว่า คนที่นั่งทำงานตลอดทั้งวันมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติมากถึง 2 เท่า เนื่องจากคนที่นั่งนาน ทำให้ไม่มีการใช้กล้ามเนื้อ หัวใจไม่ได้ทำการสูบฉีดเลือด กรดไขมันจึงจับตัวเป็นก้อนและอุตตันได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
 

2. โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

    การนั่งเฉยๆ เป็นเวลานาน จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายทุกส่วนช้าลง โดยเฉพาะส่วนของสมอง เพราะกล้ามเนื้อหัวใจจะสูบฉีดเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงสองน้อยลง แต่หากเราขยับร่างกายหรือออกกำลังกาย สมองจะรู้สึกปลอดโปร่งเพราะได้รับเลือดและออกซิเจนที่สดใหม่ ป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเอร์ได้
 

3. โรคเบาหวาน

    สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเบาหวานเกิดการอาหารการกินที่มีน้ำตาลสูงจริง แต่การนั่งเป็นเวลานาน ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากร่างกายตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน ทำให้การนำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆ น้อยลง ร่างกายเผาผลาญแป้งและน้ำตาลน้อยลง เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
 

4. โรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตัน

    โรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตัน เป็นอาการของลิ่มเลือดเข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือดดำที่ขา มีสาเหตุสำคัญมาจากการนั่งนานเกินไป ซึ่งจะเพิ่มความอันตรายมากยิ่งขึ้นหากลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอด อาการของโรคอาจทำให้รู้สึกเจ็บที่ขาเจ็บ หรือมีอาการบวม ในบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ ซึ่งอันตรายมากกว่าเดิมเมื่อมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลัง จนยากจะรักษา
 

5. โรคมะเร็ง

    มีบทความหนึ่งของ American Journal of Epidemiology รายงานว่า คนที่ต้องทำงานนานๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวันเป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าตัว แล้วยังมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นอีก 30% รู้แบบนี้แล้วลุกขึ้นมายืน เดิน ออกไปเข้าห้องน้ำ สูดอากาศบริสุทธิ์บ้างน่าจะดีกว่า
 
ประกันสุขภาพ
 

นั่งทำงานนานเกิน 2 ชั่วโมง ทำลายสุขภาพมากแค่ไหน

1. อายุสั้นลง

    การนั่งนานๆ แม้ว่าจะออกกำลังกายทุกวัน ทำให้อายุขัยลดลงเป็นเรื่องจริง ซึ่งมีผลวิจัยรับรองแล้วว่า การนั่งเฉยๆ ขาดการเปลี่ยนอิริยาบถในระหว่างวัน แม้ว่าจะออกกำลังกายทุกวัน ก็สามารถเกิดโรครุมเร้าที่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลต่ออายุขัยสั้นลง
 

2. ออกกำลังกายทุกวัน แต่เปล่าประโยชน์

    การออกกำลังกายเพียงช่วงเวลาเดียวของวัน ให้ผลดีกับร่างกายได้น้อยกว่าการขยับเขยื้อนร่างกายระหว่างวัน แม้ว่าคุณจะออกกำลังกายทุกวัน สัปดาห์ละ 7 ชั่วโมง แต่นั่นอาจสูญเปล่าหากในระหว่างวันคุณนั่งทำงานติดต่อกัน 7 ชั่วโมง
 

3. น้ำหนักขึ้น

    นอกจากการนั่งทำงานนานๆ ทั้งวันแล้ว ยังรวมไปถึงการนั่งดูทีวี หรือนั่งเล่นอินเตอร์เน็ตในวันหยุด ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักขึ้น เนื่องจากพลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับไม่สามารถเผาผลาญออกไปจนหมด น้ำหนักจึงเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อโรคอ้วน
 

4. อาการนอนไม่หลับ กลัว วิตกกังวล

    การนั่งนาน ๆ นอกจากจะส่งผลต่อร่างกายแล้ว ยังส่งกระทบต่อจิตใจอีกด้วย เพราะการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมือถือนาน ๆ เป็นการรบกวนคุณภาพในการนอนของคุณโดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว จึงเกิดอาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก นอกจากนี้การใช้เวลาอยู่กับตัวเองนาน ๆ อาจทำให้คุณขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งเพื่อน คนรัก คนในครอบครัว ซึ่งนำไปสู่อาการของโรคกลัวการเข้าสังคมได้เช่นกัน
 

6. ปวดหลัง

    เมื่อนั่งนานๆ ในท่าเดิมๆ ทุกวัน วันละหลายชั่วโมงอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ลามไปถึงคอ ไหล่ กระดูกสันหลัง และอาจแย่ลงจนหลังโก่งงอ ไหล่งุ้ม หรือนั่งห่อไหล่ ทำให้เสียบุคลิกภาพ แบบนี้เก้าอี้ราคาแพงก็อาจช่วยได้ไม่มาก กล้ามเนื้อหลังยังคงต้องการการผ่อนคลาย จำเป็นที่ต้องลุกจากเก้าอี้ บิดตัวไปมาเบา ๆ เพื่อขยับกล้ามเนื้อส่วนหลังระหว่างวันบ้างอยู่ดี แนะนำให้ลุกทุกๆ 2 ชั่วโมง
 

7. เส้นเลือดขอด

    ไม่ใช่แค่การยืนนานๆ จะทำให้ขาเกิดเส้นเลือดขอด แต่การนั่งท่าเดิมนานๆ จะเกิดการกดทับเป็นเส้นเลือดขอดที่ขาได้เช่นกัน ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบเส้นเลือดโป่งและคด หลายคนอาจคิดว่า คงไม่ได้อันตรายมาก แต่จริงๆ แล้วในบางรายอาจมีอาการเจ็บ ปวด หรือเส้นเลือดขอดอาจมีขนาดใหญ่ เห็นชัดมากจนต้องเข้ารับการรักษาอย่างจริงจัง
 
วิธีลดความเสี่ยงโรคและอาการต่างๆ จากการนั่งนานๆ
 

วิธีลดความเสี่ยงโรคและอาการต่างๆ จากการนั่งนานๆ

     ลุกขึ้นจากเก้าอี้ทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง อาจจะไปเข้าห้องน้ำ ล้างหน้าล้างมือ หาน้ำดื่ม และคอยเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานที่แปลกไปจากเดิม เช่น ยกคอมพิวเตอร์ไปยืนทำบนโต๊ะสูงแทนการนั่งทำงาน เดินเปลี่ยนโต๊ะทำงาน ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ บิดซ้ายบิดขวา และยืดเส้นยืดสายที่ขาบ้างระหว่างวัน
 
    ไม่คิดเลยใช่ไหมหละครับว่าการนั่งทำงานนานๆ จะส่งผลแย่ต่อสุขภาพได้ขนาดนี้ ฉะนั้นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในเวลาหรือนอกเวลางาน ไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน มาขยับร่างกายให้บ่อยขึ้น เดินไปมา ทำท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ แน่นอนว่าช่วยลดพุง ลดอาการ ลดโรคต่างๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องสุขภาพนั้นยากจะคาดเดา พี่หมีขอแนะนำรับมือกับความเสี่ยงด้วย ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เบี้ยเริ่มวันละ 20 บาท ผ่อน 0% คุ้มครองสูงสุกว่า 400,000 บาท ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย แถมลดหย่อนภาษีได้ ไม่กระทบเงินเก็บ สนใจคลิกที่นี่เลย
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application