โรคหลอดเลือดหัวใจกับการฉีดวัคซีนโควิด
article created at icon22/06/64

|

อ่านแล้ว 53 ครั้ง

โรคหลอดเลือดหัวใจกับการฉีดวัคซีนโควิด

     การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 ถือว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคนอย่างมาก หลายคนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งสองเข็มเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังกังวลผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจวิตกกังวลบ้าง วันนี้พี่หมี TQM ได้นำข้อมูลจากทางแพทย์เกี่ยวกับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มาฝากครับ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร

     นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ หัวหน้าศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในคนที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังหากติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาเป็นโรคที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว โดยทีมแพทย์ได้ให้คำแนะนำก่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมาดังนี้

1. ตรวจสอบอาการของโรคที่เป็นอยู่ว่ามีอาการหรือไม่

     ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต้องพิจารณาว่ามีอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ เช่น มีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดเฉียบพลันจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกแรงหรือออกกำลังกายบริเวณกลางหน้าอกหรือร้าวไปแขนซ้าย และโรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลันร่วมด้วย เช่น เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหมอนสูง หรือมีภาวะน้ำท่วมปอดร่วมด้วย

2. ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง

     ถ้าความดันโลหิตตัวบนสูงมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท จำเป็นจะต้องควบคุมความดันโลหิตก่อน ต้องควบคุมความดันโลหิตตัวบนให้ต่ำกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทในวันก่อนมารับวัคซีน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร

3. กรณีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิด Warfarin

     ถ้าระดับ INR คงที่มาตลอดและ INR ต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีผลระดับ INR ก่อนหน้านี้อยูในระดับต่ำกว่า 3.0 มาโดยตลอด (ไม่จําเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาและไม่จําเป็นต้องตรวจ INR ก่อนรับวัคซีน) สามารถรับการฉีดวัคซีน COVID-19 ได้โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก 25G หรือ 27G ฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขน แล้วกดตําแหน่งที่ฉีดไว้นานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบเย็นต่อด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็น 

4. ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) และยาต้านเกล็ดเลือด

     เช่น Aspirin, Clopidogrel, Ticagrelor หรือ Prasugrel สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่ต้องงดยาก่อนฉีด ควรใช้เข็มขนาดเล็ก 25G หรือเล็กกว่า และไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 5 นาทีและแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ แต่หากมีการนัดเพื่อทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจหรือผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจในกรณีที่โรคค่อนข้างสงบหรือไม่ได้แสดงอาการควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเพื่อประเมินโดยละเอียดว่าโอกาสที่จะติดเชื้อสูงหรือไม่ หากประเมินแล้วผลดีของการฉีดวัคซีนมีมากกว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และสถานการณ์ในขณะนั้นด้วย

ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19

     ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตามที่กล่าวมาถ้าได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้ร่างกายสามารถฆ่าเชื้อได้เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่สูงพอ สำหรับการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และหากได้รับวัคซีนแล้วควรสังเกตอาการ 30 นาที หากมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ควรแจ้งแพทย์ทันที และอีกสิ่งที่สำคัญก่อนการฉีดวัคซีนคือการมี ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองทันใจ ไม่มีระยะเวลารอคอย เบี้ยเริ่มต้นเพียง 40 บาท/ปี คุ้มครองสูงสุดถึงหลักล้าน สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา