พ.ร.บ. และประกันรถยนต์แตกต่างกันอย่างไร?
article created at icon20/02/61

|

อ่านแล้ว 452 ครั้ง

พ.ร.บ. และประกันรถยนต์แตกต่างกันอย่างไร?

    พี่หมีเชื่อว่าหลายคนอาจกำลังสงสัยว่าในเมื่อรถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. หรือ ประกันภาคบังคับ แล้วทำไมยังต้องมาทำประกันตัวอื่นๆ อีก แล้วเจ้า พ.ร.บ. นี้มันคืออะไร? คุ้มครองอะไรบ้าง? มี พ.ร.บ. อย่างเดียวเพียงพอไหม? พี่หมีมีคำตอบมาไขข้อข้องใจให้กับทุกคน ใครอยากรู้จัก พ.ร.บ. และประกันรถยนต์ให้มากขึ้นตามมาอ่านต่อกันได้เลยครับผม

 

ประกันรถยนต์ กับ พ.ร.บ. ต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ. คืออะไร

    พ.ร.บ. คือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติการจราจรออกกฎหมายบังคับให้รถทุกคันในประเทศไทยต้องมี พ.ร.บ. คุ้มครอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี จึงจำเป็นต้องต่อใหม่ทุกปี เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยขั้นพื้นฐานของประชาชนบนท้องถนน เฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ (กรณีเป็นฝ่ายถูก) และได้รับความเสียหายทางร่างกาย โดยประกันภัย พ.ร.บ. จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ คุ้มครองการเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพอย่างถาวร คุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะ และชดเชยการรักษาตัวกรณีผู้ป่วยใน

    การขับขี่มอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ หากไม่ทำ พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถหรือต่อภาษีรถได้ และมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท นอกจากนั้นหากต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว แต่ไม่นำป้ายภาษีติดไว้หน้ารถ หรือแสดงให้เห็นชัดเจนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง

    พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยสิ่งที่ผู้ประสบภัยจะได้รับแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ ค่าเสียหายเบื้องต้น และ ค่าสินไหมทดแทนส่วนเกิน มีรายละเอียดดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) 35,000 บาท

 

ค่าสินไหมทดแทนส่วนเกิน จะได้รับก็ต่อเมื่อพิสูจน์แล้วว่า เป็นฝ่ายถูก

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

 

ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คืออะไร

    ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คือ ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งตัวรถและบุคคล เจ้าของรถสามารถเลือกได้ว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ โดยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะแบ่งเป็นทั้งสิ้น 5 ระดับ นั้นคือชั้น 1, 2+ , 2 , 3+ และ 3 ซึ่งประกันแต่ละชั้นจะให้ความคุ้มครองลดหลั่นกันไป

 

ประกันรถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

    ประกันรถยนต์ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน โดยทั่วไปจะคุ้มครองการชนของตัวรถยนต์ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องหรือได้รับความเสียหายจากเหตุการชนนั้นๆ ประกันรถยนต์จึงคุ้มครองค่าซ่อม ค่าอะไหล่ต่างๆ ที่จำเป็น แต่นอกจากการชนแล้ว ประกันรถยนต์ยังคุ้มครองกรณีรถถูกโจรกรรม และความเสี่ยงจากสภาพอากาศ การก่อกวน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นน้ำท่วมด้วย นอกจากนี้ยังอาจคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าประกันตัว และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ทางกฎหมาย

ประกันรถยนต์ กับ พ.ร.บ. ต่างกันยังไง

    สำหรับคนที่ไม่ซื้อประกันรถยนต์เพิ่มเติมอาจเป็นเพราะไม่ได้ขับรถบ่อยหรือขับรถเก่า แต่พี่หมีอยากให้ทุกคนลองคิดดูดีๆนะครับ เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนเกินครึ่งจะเสียหายที่ตัวรถยนต์มากกว่าผู้ขับขี่ ซึ่ง พ.ร.บ.ไม่รับผิดชอบความเสียหายของรถยนต์ และในปัจจุบันค่าซ่อม ค่าอะไหล่ต่างๆก็แพงไม่แพ้ค่ารักษาพยาบาล ซ่อมท่อทำสีอย่างเดียวก็ปาเข้าไปหลายหมื่นแล้ว หากต้องจ่ายราคาเต็มก็คงอ่วมกันไปข้างหนึ่งเลยครับ ฉะนั้นจึงควรซื้อประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมในส่วนที่ พ.ร.บ. ไม่รับประกันด้วยครับ

    หากสนใจ สามารถเช็คราคาประกันรถยนต์ออนไลน์ บริษัทชั้นนำ ราคาสุดคุ้ม กับ TQM ได้ หรือต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัย กรอกข้อมูลด้านล่างให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับหรือ โทร Call Center 1737 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงได้เลยครับ

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา