7 โรคที่เด็กป่วยบ่อยที่สุดของปี 61
article created at icon09/01/62

|

อ่านแล้ว 138 ครั้ง

7 โรคที่เด็กป่วยบ่อยที่สุดของปี 61

โรคเด็กยอดฮิตปีที่ผ่านมา
พ่อแม่ต้องระวัง!

 
     เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ หรือโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กทุกๆ ปี หรือโรคที่พ่อแม่หลายคนมักมองข้าม อย่าง 4S ซึ่งอาการน่ากลัวมาก และมักมาพร้อมกับ ค่ารักษาที่แสนแพง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนทำประกันอุบัติเหตุและสุขภาพเด็กไว้ ให้ช่วยจ่ายค่ารักษาก็สบายใจได้
 
     วันนี้พี่หมี TQM จึงรวบรวม 7 โรคที่เด็กป่วยบ่อยที่สุด ประจำปี 2561 พร้อมสถิติผู้ป่วยจากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 ธันวาคม 2561 มาฝากกันครับ
 

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease)

     โรคมือเท้าปากมักพบในทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้เด็กมีอาการ ไม่สบายเนื้อสบายตัว มีไข้ เบื่ออาหาร เจ็บคอ มีเม็ดใสๆ หรือผื่นแดงขึ้นบริเวณ ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ-เท้า
 
โรคมือเท้าปาก
     
     โดยวิธีการรักษาจะรักษาตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้แก้ปวด หยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บ แต่หากมีอาการเพลียมาก ควรนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด
 
     ในปี 2561 พบเด็กอายุ 1-3 ปี ป่วยเป็นโรคมือเท้าปากทั้งหมด 67,122 คน เสียชีวิต 1 คน โดยพบมากในกลุ่มอายุ 1 ปี ถึง 6,255 คน
 

โรคปอดบวมในเด็ก (ปอดอักเสบ) (Pneumonia or Pneumonitis)

     โรคปอดบวมในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักเป็นโรคแทรกซ้อนหลังป่วยเป็นโรคไข้หวัดประมาณ 2-3 วัน เด็กที่ป่วยจะมีอาการ ได้แก่ มีไข้สูง น้ำมูกเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีเขียวข้น ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก หายใจเร็ว เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย แต่หากรุนแรงถึงขั้นปลุกตื่นยาก หายใจมีเสียงดัง ร่างกายขาดน้ำ ถือเป็นภาวะป่วยหนัก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาลทันที
 
โรคปอดบวมในเด็ก
 
 
     โดยวิธีการรักษาจะเป็นการประคับประคองตามอาการ เช่น ให้น้ำเกลือ ทานยาขยายหลอดลม ยาละลายเสมหะ ยาลดไข้ บางรายอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บางรายต้องใช้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
 
     ในปี 2561 พบเด็กป่วยเป็นโรคปวดบวมหรือปวดอักเสบ ทั้งหมด 30,025 คน แบ่งเป็น 1 ปี 27,207 คน 2 ปี 2,818 คน
 
ประกันอุบัติเหตุ-สุขภาพเด็ก

โรคไข้เลือดออก (Dengue)

     ไข้เลือดออกมักพบในวัยเด็ก และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยให้หายได้ ซึ่งอาการของโรคได้แก่ ไข้ขึ้นสูง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง พบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หากพบเด็กมีอาการไข้สูงหลายวัน ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
 
     ในปี 2561 พบเด็กป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ทั้งหมด 13,266 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ 7-9 ปี จำนวน 2,056 คน และอายุ 10-14 ปี จำนวน 11,210 คน
 
โรคไข้เลือดออก
 

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)

     โรคอีสุกอีใส เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายๆ ผ่านการจาม ไอ และสัมผัสตุ่มแผลโดยตรง โดยอาการของเด็กที่เป็นอีสุกอีใสจะมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น และกลายเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนอง ตามตัว แขนขา และหลัง ซึ่งโรคนี้จะไม่มียารักษา ตุ่มจะแห้งตกสะเก็ดและหายไปเอง แต่ถ้าอาการรุนแรง หอ ชัก ควรส่งตัวเด็กให้แพทย์ทันที
 
     ในปี 2561 พบเด็กป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส ทั้งหมด 15,429 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ 7-9 ปี จำนวน 6,434 คน และอายุ 10-14 ปี จำนวน 8,995 คน
 
ประกันอุบัติเหตุ-สุขภาพเด็ก

โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

     ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการจะรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป จึงต้องระวังอาการเป็นพิเศษ เช่น มีไข้สูง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง เจ็บคอและน้ำมูกไหล คลื่นไส้ อาเจียนและท้องเสีย นอกจากนี้ไข้หวัดใหญ่ยังทำให้เกิดโรคหลอดลมฝอยอักเสบ และโรคปอดบวม ส่วนการรักษาจะใช้ยา Tamiflu และฉีดวัคซีน จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดอาการเจ็บป่วยได้
 
     ในปี 2561 พบเด็กป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งหมด 12,104 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ 7-9 ปี จำนวน 8,518 คน และอายุ 10-14 ปี จำนวน 3,586 คน
 
โรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

โรคหัด (Measles)

     โรคหัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ติดต่อกันได้ง่ายผ่านการจาม ไอ หรือพูดในระยะใกล้ๆ เพราะเชื้อไวรัสสามารถอยู่ในอากาศ เมื่อเด็กหายใจเข้าไปก็ทำให้เกิดโรคหัด โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้สูง ไอแห้ง เป็นหวัด ตาแดง เบื่ออาหาร และมีผื่นตุ่มแดงเล็กๆ ทั้งตัว
 
โรคหัด
 
     วิธีรักษาโรคหัด จะเน้นรักษาตามอาการเหมือน โรคไข้หวัด เช่น ทานยาลดไข้ ยาแก้ไอ ดื่มน้ำเยอะ พักผ่อนให้เพียงพอ แต่เด็กบางคนอาจมีอาการไอมาก เสมหะสีเหลืองเขียว หรือหายใจหอบ ให้รีบพาไปหาหมอทันที
 
     ในปี 2561 พบเด็กป่วยเป็นโรคหัด ทั้งหมด 638 คน แบ่งเป็นช่วงอายุ 1-2 ปี จำนวน 551 คน และอายุ 10-14 ปี จำนวน 87 คน
 
     เห็นแบบนี้ ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเด็กให้ห่างไกลจากเชื้อโรคและแบคทีเรีย เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าผู้ใหญ่ หรือทางที่ดี ทำประกันที่คุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรคภัยสำหรับเด็กไว้ อย่าง ประกันอุบัติเหตุ-สุขภาพเด็ก เบี้ยเริ่ม 3 บาท/วัน ช่วยจ่ายรักษาให้ และที่สำคัญแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้คุณพ่อคุณแม่ได้อีกด้วย

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา