ระวัง! 4 โรคร้ายจาก PM 2.5
article created at icon14/01/62

|

อ่านแล้ว 388 ครั้ง

ระวัง! 4 โรคร้ายจาก PM 2.5

4 โรคที่คนไทยเสี่ยงเป็น
เมื่อ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน

 
     หลายวันมานี้ดูเหมือนท้องฟ้าบ้านเราจะถูกปกคลุมไปด้วยหมอกหนา แต่อย่าเผลอดีใจ เพราะนั่นกลับไม่ใช่หมอก มันคือ ฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งถ้าใครได้ติดตามรับฟังข่าวมาตลอด คงได้ยินสถานการณ์อากาศในพื้นที่กทม.และปริมณฑลที่ว่าพบค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานอยู่ไม่น้อย
 
     และที่ยิ่งกว่าความหนาแน่นของฝุ่นในอากาศ คือความรุนแรงของ PM 2.5 ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและมะเร็ง วันนี้ TQM จึงนำข้อมูลมาฝากกันว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีชื่อว่า PM 2.5  สามารถก่อให้เกิดโรคอะไรบ้าง
 

ยิ่งเม็ดฝุ่นมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความอันตรายมากเท่านั้น

 

 PM 2.5

 
     PM 2.5 คือฝุ่นละอองประเภทละเอียดที่ขนจมูกของมนุษย์ ไม่สามารถกรองได้ เพราะมีขนาดเล็กมากๆ ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในขณะที่ขนจมูกสามารถกรองได้แค่ฝุ่นขนาด 10 ไมครอนเท่านั้น ดังนั้นร่างกายจึงสูดนำฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ปอด กระแสเลือด รบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ
 

PM 2.5 มาจากไหน

 
- การเผาไหม้ จากบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วปล่อย PM 2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี
 
- เผาไม้ของเชื้อเพลิง ทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์จากเครื่องยนต์ โดยเฉลี่ยแล้วปล่อย PM 2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี
 
- การผลิตไฟฟ้า ทำให้มีการปล่อย PM 2.5 สู่อากาศ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 31,793 ตันต่อปี
 
- สารเคมีและอุตสาหกรรมการผลิต พบมากในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยปล่อย PM 2.5 ราวๆ 65,140 ตันต่อปี
 
     นอกจากฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ถูกปล่อยมา ยังรวมไปถึงการรวมตัวของก๊าซต่างๆ ก็สามารถทำลายระบบโอโซนในอากาศและระบบร่างกายของมนุษย์ได้เช่นกัน เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจน (NOx) สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) เป็นต้น
 
PM 2.5 มาจากไหน
 

4 โรคร้ายจาก PM 2.5 

 
1. โรคระบบทางเดินหายใจ PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (ถ้าเทียบให้เห็นภาพคือเล็กกว่าขนาดเม็ดน้ำตาลทราย 1,000 เท่า) และมีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จึงสามารถเข้าไปถึงถุงลมปอด ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ระคายเคือง และเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้
 
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด การสูดฝุ่นแบบนี้เข้าไปทำให้เลือดข้นได้ และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
 
โรคหัวใจและหลอดเลือด
 
3. โรคผิวหนัง ด้วยอนุภาคของละอองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กมากๆ มักเป็นสารประกอบพวกคาร์บอนที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถผ่านเข้าไปยังเซลล์ผิวหนังได้ ทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำและส่งผลต่อการทำงานของเซลล์­ผิวในระดับยีน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค ผิวหนังอักเสบ และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
 
4. โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือมลพิษในอากาศ เช่น ฝุ่นควันจาก PM 2.5 เมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่เยื่อบุตาจนเกิดการอักเสบ ดาแดง แสบตา คันตา ถ้าไม่รุนแรงมาก อาการจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่การพบแพทย์เพื่อใช้ยาก็จะช่วยให้หายเร็วขึ้น
 
โรคเยื่อบุตาอักเสบ
 
     ทั้งนี้ทางสำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ International Agencey for Research on Cancer (IARC) ยังบอกอีกว่า การสูดหายใจนำฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และก๊าซต่างๆ เข้าไป จะยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด และยังมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งทางเดินปัสสาวะ และโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย
 
     อย่างไรก็ตาม คนไทยมักไม่ตะหนักถึงปัญหาของฝุ่น PM 2.5 อาจเพราะฝุ่นละอองนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่รู้โทษของฝุ่น รวมถึงวิธีป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วนี้ หรือจำเป็นต้องทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายอย่างที่เลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการมีประกันสุขภาพไว้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามป่วยหนักจึงดีกว่าเป็นไหนๆ สงสัยเรื่องประกันสุขภาพ โทรเลย 1737 พี่หมียินดีให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา