14/01/62

|

อ่านแล้ว 441 ครั้ง

ระวัง! 4 โรคร้ายจาก PM 2.5

4 โรคที่คนไทยเสี่ยงเป็น
เมื่อ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน

 
     หลายวันมานี้ดูเหมือนท้องฟ้าบ้านเราจะถูกปกคลุมไปด้วยหมอกหนา แต่อย่าเผลอดีใจ เพราะนั่นกลับไม่ใช่หมอก มันคือ ฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งถ้าใครได้ติดตามรับฟังข่าวมาตลอด คงได้ยินสถานการณ์อากาศในพื้นที่กทม.และปริมณฑลที่ว่าพบค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานอยู่ไม่น้อย
 
     และที่ยิ่งกว่าความหนาแน่นของฝุ่นในอากาศ คือความรุนแรงของ PM 2.5 ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและมะเร็ง วันนี้ TQM จึงนำข้อมูลมาฝากกันว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีชื่อว่า PM 2.5  สามารถก่อให้เกิดโรคอะไรบ้าง
 

ยิ่งเม็ดฝุ่นมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มความอันตรายมากเท่านั้น

 

 PM 2.5

 
     PM 2.5 คือฝุ่นละอองประเภทละเอียดที่ขนจมูกของมนุษย์ ไม่สามารถกรองได้ เพราะมีขนาดเล็กมากๆ ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในขณะที่ขนจมูกสามารถกรองได้แค่ฝุ่นขนาด 10 ไมครอนเท่านั้น ดังนั้นร่างกายจึงสูดนำฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ปอด กระแสเลือด รบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ
 

PM 2.5 มาจากไหน

 
- การเผาไหม้ จากบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้วปล่อย PM 2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี
 
- เผาไม้ของเชื้อเพลิง ทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์จากเครื่องยนต์ โดยเฉลี่ยแล้วปล่อย PM 2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี
 
- การผลิตไฟฟ้า ทำให้มีการปล่อย PM 2.5 สู่อากาศ โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 31,793 ตันต่อปี
 
- สารเคมีและอุตสาหกรรมการผลิต พบมากในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยปล่อย PM 2.5 ราวๆ 65,140 ตันต่อปี
 
     นอกจากฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ถูกปล่อยมา ยังรวมไปถึงการรวมตัวของก๊าซต่างๆ ก็สามารถทำลายระบบโอโซนในอากาศและระบบร่างกายของมนุษย์ได้เช่นกัน เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจน (NOx) สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) เป็นต้น
 
PM 2.5 มาจากไหน
 

4 โรคร้ายจาก PM 2.5 

 
1. โรคระบบทางเดินหายใจ PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (ถ้าเทียบให้เห็นภาพคือเล็กกว่าขนาดเม็ดน้ำตาลทราย 1,000 เท่า) และมีค่าความเข้มข้นสูงเกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จึงสามารถเข้าไปถึงถุงลมปอด ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ระคายเคือง และเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้
 
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด การสูดฝุ่นแบบนี้เข้าไปทำให้เลือดข้นได้ และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
 
โรคหัวใจและหลอดเลือด
 
3. โรคผิวหนัง ด้วยอนุภาคของละอองฝุ่น PM 2.5 ที่เล็กมากๆ มักเป็นสารประกอบพวกคาร์บอนที่มีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำมัน จึงสามารถผ่านเข้าไปยังเซลล์ผิวหนังได้ ทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำและส่งผลต่อการทำงานของเซลล์­ผิวในระดับยีน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค ผิวหนังอักเสบ และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
 
4. โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรืออาการตาแดง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือมลพิษในอากาศ เช่น ฝุ่นควันจาก PM 2.5 เมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่เยื่อบุตาจนเกิดการอักเสบ ดาแดง แสบตา คันตา ถ้าไม่รุนแรงมาก อาการจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่การพบแพทย์เพื่อใช้ยาก็จะช่วยให้หายเร็วขึ้น
 
โรคเยื่อบุตาอักเสบ
 
     ทั้งนี้ทางสำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ International Agencey for Research on Cancer (IARC) ยังบอกอีกว่า การสูดหายใจนำฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และก๊าซต่างๆ เข้าไป จะยิ่งเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด และยังมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งทางเดินปัสสาวะ และโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย
 
     อย่างไรก็ตาม คนไทยมักไม่ตะหนักถึงปัญหาของฝุ่น PM 2.5 อาจเพราะฝุ่นละอองนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่รู้โทษของฝุ่น รวมถึงวิธีป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วนี้ หรือจำเป็นต้องทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายอย่างที่เลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นการมีประกันสุขภาพไว้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายยามป่วยหนักจึงดีกว่าเป็นไหนๆ สงสัยเรื่องประกันสุขภาพ โทรเลย 1737 พี่หมียินดีให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล