ตรวจสุขภาพประจำปี อายุเท่าไหร่ ตรวจอะไร
article created at icon15/07/64

|

อ่านแล้ว 674 ครั้ง

ตรวจสุขภาพประจำปี อายุเท่าไหร่ ตรวจอะไร

    การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน เพราะนอกจากจะได้รู้จักร่างกายตัวเองว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนแล้ว ยังสามารถหาทางรักษาหรือป้องกันได้ทันเวลา แต่หากถามว่าอายุเท่าไหร่ถึงจะเริ่มตรวจสุขภาพได้ วันนี้พี่หมี TQM มีคำตอบมาพร้อมกับ รายการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ละช่วงอายุควรตรวจอะไรบ้าง มาดูกันเลย
 

ควรเริ่มตรวจสุขภาพประจำปีตอนอายุเท่าไหร่

    โดยปกติแล้วการตรวจสุขภาพประจำปีควรเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ถ้ามีอาการน่าสงสัยก็สามารถเข้ารับการตรวจก่อนอายุ 20 ปีได้เช่นกัน 
 
ตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
 

ตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นมีอะไรบ้าง

    การตรวจสุขภาพประจำปีในทุกช่วงอายุ แพทย์จะเริ่มจากการสอบถามประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดของคนในครอบครัว ประวัติอาการต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ร่วมกับ การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย เป็นต้น เมื่อตรวจรายเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว จะมี รายการตรวจขั้นพื้นฐาน กำหนดไว้ ได้แก่ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เป็นการประเมินความเข็มข้นของเลือก ไม่ว่าจะเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จะสามารถบอกความผิดปกติและภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ การตรวจการทำงานของไต จากการดูระดับค่าครีเอตินินในเลือก เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต การตรวจการทำงานของตับ เพื่อดูความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดีที่นำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อม และภาวะดีซ่าน การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์) เพื่อประเมินความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง การตรวจปัสสาวะ เพื่อวัดระดับกรดยูริดและประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ การตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ การเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก
 
ตรวจสุขภาพประจำปีแต่ละช่วงอายุ ต้องตรวจอะไรบ้าง

ตรวจสุขภาพประจำปีแต่ละช่วงอายุ ต้องตรวจอะไรบ้าง

    นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพประจำปี ยังมีการตรวจบางรายการเพิ่มมาตามแต่ละช่วงอายุด้วย เช่น ตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น ซึ่งแต่ละช่วงอายุจะมีรายการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ความเสี่ยงและอัตราการเกิดโรคนั้นๆ ดังนี้
 
  • ผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ควรเริ่มเข้ารับ การตรวจมะเร็งปากมดลูก และตรวจทุกๆ 1 - 2 ปี
  • ผู้หญิง อายุ 30 ปีขึ้นไป และเคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับ การตรวจมะเร็งปากมดลูก ทุกปี เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV แต่หากผลตรวจปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปี ได้
  • ผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับ การตรวจมะเร็งเต้านม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ผู้ชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป ควร ตรวจมะเร็งต่อมลูก หมากปีละ 1 ครั้ง
  • ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป ควร ตรวจการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ตรวจการทำงานของตับ ไต และถุงน้ำดี
  • ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจการทำงานของหัวใจ และความแข็งแรงของกระดูก
  • ทั้งผู้ชายและผู้หญิง อายุ 55 ปีขึ้นไป ยิ่งต้องใส่ใจสุขภาพเป็นพิเศษ ควรตรวจความหนาแน่นของกระดูดสันหลังส่วนเอวและสะโพก และทดสอบการทำงานหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน เพื่อทราบความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หลังฉีดวัคซีนแล้ว ควรตรวจสุขภาพประจำปีไหม

หลังฉีดวัคซีนแล้ว ควรตรวจสุขภาพประจำปีไหม

    การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หรือแม้แต่วัคซีนโควิด-19 เป็นเพียงการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคนั้นๆ ซึ่งผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังคงมีโอกาสเป็นโรคนั้นๆ ได้อยู่ แต่ผลกระทบหรืออาการจะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ฉะนั้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็คสมรรถภาพและภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 

วิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพประจำปี

  1. นอนหลักบพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ
  2. การอดอาการก่อนตรวจสุขภาพ ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
  3. เลี่ยงการรับประทานของหวาน หรือดื่มน้ำหวาน เนื่องจากน้ำหวานและของหวานจะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลในปัจสาวะค่อนข้างสูงกว่าปกติ
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง
  5. กรณีต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต สามารถรับประทานได้ตามที่แพทย์แนะนำ
  6. กรณีมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ พร้อมนำผลการยื่นเป็นหลักฐานเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  7. สวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการตรวจ ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  8. ผู้หญิงไม่ควรอยู่ในช่วงก่อน-หลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
  9. สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
  10. ทำประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 4 เดือน ประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายๆ ใดๆ ก็ตาม สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือ ประกันเหล่านี้จะมีระยะเวลารอคอย เพื่อป้องกันโรค หรือ อาการที่อาจจะเป็นมาก่อนหน้าการทำประกันเนื่องจากบางโรคยังไม่แสดงอาการ โดยโรคทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วัน แต่ในบางโรคที่อาการแสดงนาน อาจจะมีระยะเวลารอคอยถึง 120 วัน ฉะนั้นก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ควรทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าจะดีที่สุด

ประกันสุขภาพเบาเบา

    อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล หากเราไม่สมัครใจตรวจสุขภาพประจำปี ก็สามารถทำได้เช่นกัน เพียงแต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า โรคร้ายที่พึ่งเริ่ม มักไม่เกิดสัญญาณ แต่ช่วงที่สามารถรักษาทัน คือช่วงที่โรคร้ายพึ่งเกิด ฉะนั้น การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้จักร่างกายตัวเองก่อนจะสายไปนะครับ
 
 

READ MORE : 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application