Office Syndromeโรคร้ายของมนุษย์เงินเดือน
article created at icon11/04/59

|

อ่านแล้ว 91 ครั้ง

Office Syndromeโรคร้ายของมนุษย์เงินเดือน

ทำงานมาหลายปี...รู้ตัวอีกทีก็ป่วยโทรม ทั้งๆ ที่ทำงานอยู่ในห้องแอร์ทั้งวัน แถมเป็นงานเอกสารทั้งนั้น แต่ทำไมถึงได้เมื่อยขบไปทั้งสรรพางค์เหมือนทำงานเยี่ยงกรรมกร?
 
คำตอบไม่ใช่อื่นใด...หากคุณมีอาการปวดเมื่อย เมื่อยหลัง เมื่อยคอ บ่า ไหล่ หรือแม้กระทั่งปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนขั้นแรกของอาการ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) ที่มนุษย์เงินเดือนและผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หลายคนต้องเผชิญ!
 
โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกลักษณะเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การเดิน หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง บิด เกิดอาการปวดเมื่อยตามมา หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาการปวดเมื่อยธรรมดาดังกล่าว ก็สามารถกลายเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ที่สร้างความเจ็บปวดทรมานให้แก่ร่างกายได้ หรือบางรายอาจเกิดปัญหาร้ายแรง เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือกระดูกทับเส้นประสาท
 
 
Quick Check! :
 
สำรวจอย่างเร็วๆ คุณเข้าข่ายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่?
 
1. รู้สึกปวดตึงที่บ่า ไหล่ เหมือนมีของหนักมาทับไว้ขณะนั่งทำงาน
 
2. หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นแต่ยังนั่งทนทำงานต่อไป อาการปวดจะลุกลามไปที่ท้ายทอย และเกิดการปวดศีรษะตามมา
 
3. มีอาการชาบริเวณท่อนแขน (เพราะใช้เมาส์และคีย์บอร์ดเป็นเวลานานโดยไม่มีหมอนรองข้อมือ)
 
4. รู้สึกปวดเมื่อยร่างกายส่วนล่าง (เพราะนั่งนานเกินไป จนน้ำหนักร่างกายกดทับร่างกายส่วนล่าง)
 
5. นิ้วล็อก (เพราะใช้คีย์บอร์ดนานเกินไป)
 
 
หากคุณมีอาการข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น คุณเข้าข่ายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว!
 
ตกใจแล้วอย่าปล่อยเลยตามเลย เพราะวิธีการรักษาโรคจะได้ผลดีก็ต้องรีบรักษาตั้งแต่อาการยังไม่มาก!
 
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเป็น...รู้ตัวว่ากำลังเป็น...หรือยังไม่เป็นแต่ไม่อยากเป็น แนะนำให้ทำดังนี้
 
DOs:
 
1. ตั้งตำแหน่งคอมพิวเตอร์ให้ตรง อย่าเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวขณะทำงาน
 
2. นั่งหลังตรง หลังพิงพนัก ไม่นั่งหลังคร่อมหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันหมอนรองกระดูกเคลื่อน
 
3. จัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา เพื่อช่วยลดอาการปวดตา
 
4. พักสายตาอย่างน้อยทุกๆ 20 นาที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการตาพร่าหรือล้า
 
5. กะพริบตาบ่อยๆ ป้องกันตาแห้ง
 
6. เลือกโต๊ะทำงานที่มีระดับความสูงพอดีกับข้อศอก
 
7. ควรมีหมอนรองมือสำหรับเมาส์และคีย์บอร์ดเพื่อลดอาการปวดเมื่อยข้อมือ
 
8. ลุกเดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง อย่านั่งแช่หน้าจออย่างเดียว
 
9. ทำกายบริหารระหว่างพัก เช่น บริหารสายตา บริหารข้อมือ การยืดเหยียดแขน ขา ต้นคอ ฯลฯ
 
10. ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น
 
 
ส่วนสำหรับใครที่รู้ตัวว่าอาการหนักแล้ว แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์โดยด่วน โดยการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมจะใช้ 2 วิธีหลักๆ คือแบบรักษาที่สาเหตุ (มีทั้งแบบผ่าตัดหรือไม่ต้องผ่าตัด) และวิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ (เช่น การกินยา หรือฉีดยา) ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการสิ้นเปลืองทั้งกำลังใจ กำลังกาย เวลา และทุนทรัพย์ทั้งสิ้น
 
ดังนั้น ถ้าใครไม่อยากเสียอะไรเลย แถมยังได้สุขภาพดีๆ กลับมาเป็นของแถม แนะนำว่าให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นได้เลยครับ
ขอให้ทุกท่านสุขภาพดี.
 
เรียบเรียงข้อมูลจากบทความ “ออฟฟิศซินโดรม โรคร้ายของคนทำงาน”
เขียนโดย พ.ต.ท.สุรศักดิ์ จิระพรชัย ตำแหน่ง  นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลตำรวจ
 
อ่านบทความของ ทีคิวเอ็ม เกี่ยวกับ สุขกายสบายใจ ทั้งหมด
 
คลิกดูข่าวสารของ TQM ประกันมนุษย์เงินเดือน

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
แชทกับเรา