อาการเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
article created at icon25/11/63

|

อ่านแล้ว 158 ครั้ง

อาการเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

เจ็บแน่นหน้าอกบ่อยๆ ต้องระวัง!!

     เคยไหม นั่งอยู่ดีๆ ก็เจ็บแน่นหน้าอกแป๊บๆ แว๊บเดียวแล้วก็หายไป หลังจากนั้นก็มีอาการมาเป็นระยะๆ บอกเลยว่าไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้หลายอย่างเลยหละครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 
 
     โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ว่าได้ ว่าแต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่เป็น คือโรคนี้จริงๆ วันนี้พี่หมี TQM จึงมีอาการสำคัญที่ชี้เฉพาะถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาฝากกันครับ
 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คืออะไร

     โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดภาวะแข็งตัว กลายเป็นลิ่มเลือดอุตตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย ส่งผลให้เสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งภาวะแข็งตัวของเลือดนั้นเกิดจากการสะสมของสารต่างๆ ที่มาเกาะบนผนังด้านในของหลอดเลือด โดยส่วนใหญ่จะเป็นไขมันหรือคอเลสเตอรอล ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว ช่องว่างของหลอดเลือดจึงตีบแคบหรืออุดตัน 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  1. พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  2. อายุ ในช่วง 40-60 ปี มีโกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้น 5 เท่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. เพศ จากสถิติพบว่าเพศชาย มีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
  4. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
  5. โรคประจำตัวอื่นๆ  เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
  6. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ
  7. ความเครียด เป็นคนเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  8. ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน

อาการสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บแน่นหน้าอกบริเวณกลางอก แบบเจ็บๆ หายๆ เหมือนมีอะไรมาทับ หรือบีบรัด อาจร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่
  2. เจ็บแน่นหน้าอกและรู้สึกเหนื่อยจากการออกแรง หรือออกกำลังกาย
  3. มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนั่งพัก

วิธีเช็คว่ากล้ามหัวใจกำลังขาดเลือดหรือไม่

  1. เช็คประวัติ คนในครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการรักษา
  2. เช็คอาการเจ็บหน้าอก เกิดจากการออกแรง หรือความเครียดหรือไม่ เจ็บนานแค่ไหน
  3. ตรวจความดันโลหิต เพื่อพิจารณาความรุนแรงของโรค
  4. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังบนสายพาน หากคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ อาจแสดงให้เห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจกำลังมีปัญหา
  5. ตรวจค่าสารเคมีในเลือด จะสามารถบอกได้ว่า กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือไม่
  6. ฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีที่ทางแพทย์ใช้วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

3 วิธีรักษาโรคกล้ามหัวใจขาดเลือด

  1. รักษาด้วยการใช้ยา กรณีมีอาการเจ็บหน้าอก เพื่อปกป้องหัวใจ ยาจะช่วยลดอัตราการเกิดผลแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจในอนาคต (ผู้ป่วยแต่ละรายอาจได้รับยาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค)
  2. ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง จะ รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจและการทำบอลลูน เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจหรือใช้วิธีขดลวดเพื่อเปิดให้หลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายได้สะดวกขึ้น แต่วิธีนี้ หลอดเลือดอาจพบการตีบซ้ำ แพทย์จะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดต่อไป
  3. อีกหนึ่งวิธีรักษาที่ใช้กับกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง คือ รักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำบายพาส (Bypass) เลือดจะสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจด้วยเส้นทางใหม่ ซึ่งโดยปกติจะต่อหลอดเลือดประมาณ 3 – 5 เส้น และหลังผ่าตัดต้องรับประทานยาต่อเพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือด

เมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำอย่างไร

     ผู้ป่วยควรทานยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างเคร่งครัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา งดรับประทานอาหารรสเค็มและมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือด และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เสมอ
 
     อาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นสัญญาณเตือนที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายแน่นอน ฉะนั้นการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อทำให้เรารู้ทันโรคร้าย และได้รับรักษาอย่างทันท่วงที แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนตรวจสุขภาพทุกครั้ง เพื่อรับมือกับค่ารักษาของโรคที่ยากจะคาดเดาว่าจะมาทักทายเมื่อไหร่ การมีประกันสุขภาพไว้ ช่วยแบ่งเบาภาระ ถือเป็นตัวช่วยยามป่วยได้ดีเลยหละ พี่หมีขอแนะนำ ประกันสุขภาพ ผ่อน 0% คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการการพยาบาล สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่เลย หรือปรึกษาพี่หมี โทร 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
สุขภาพ
มะเร็ง
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application