25/09/62

|

อ่านแล้ว 2,250 ครั้ง

สาวปาร์ตี้ต้องรู้ GHB ยาเสียสาวคืออะไร

นอกจากมอมเหล้าแล้วก็ควรระวังถูกมอมยา

     มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เราจะเห็นฉากในละครเวลาตัวร้ายฝ่ายชายต้องการล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง ไม่ว่าจะนางเอก หรือเพื่อนนางเอกด้วยวิธีการหยอดยา ก็จะหยดอะไรบางอย่างใส่ไปในแก้วน้ำของผู้หญิงแล้วหลอกในเธอดื่ม ซึ่งปัจจุบันนี้การใช้ยาลักษณะนี้ก็ยังมีอยู่ หากคุณเป็นหนึ่งในสาวสายปาร์ตี้ หรือมีเหตุการณ์ที่ต้องเที่ยวกับเพื่อน ๆ แม้แต่น้ำเปล่าเองก็ต้องระวัง ด้วยความปรารถนาดีต่อสาว ๆ พี่หมีจึงขอนำเรื่องราวของยานี้มาฝากกันครับ
ยาเสียสาวคืออะไร?
ภาพการใช้ยาในการรักษาพยาบาล
ภาพการใช้ยาในการรักษาพยาบาล
 
     เซ็กส์ เป็นสิ่งที่ต้องยินยอมทั้งสองฝ่าย และบางครั้งก็มีคนที่อยากได้มา เพราะว่าอีกฝ่ายหน้าตาดี หรือเพื่อแค่ความสนุก (วาทกรรมนี้พี่หมีเอามาจากละครหลังข่าว) การใช้เทคนิคแพรวพราวของคนที่ไม่หวังดีจึงเกิดขึ้น ซึ่งยานี้ไม่ได้ใช่แค่กับผู้หญิงเท่านั้น ยังออกฤทธิ์กับผู้ชายด้วย โดยผู้ใช้หวังผลที่จะต้องการให้อีกฝ่ายสลบไม่รู้สึกตัว หรือ ต้องการให้มีอารมณ์ร่วม ซึ่งยา 1 หลอดอาจผสมมาจากสารเคมีหลายชนิด ได้แก่
 
• Midazolam (ชื่อทางการค้า Dormicum)
• Alprazolam
• Flunitrazepam (ชื่อทางการค้า Rohypnol)
• GHB (Gamma- Hydroxybutyric)
• Ketamin
 
โดยวิธีการใช้ยาต่าง ๆ นั้น มีตั้งแต่สูดดม, ป้ายยาให้สัมผัสที่ผิวหนัง หรือหยอดลงไปผสมกับเครื่องดื่มให้เหยื่อรับประทานเข้าไปโดยตรง
 
GSB (Gamma- Hydroxybutyric) คืออะไร ?
     เหตุผลที่ยาหยอดนั้นเป็นที่นิยม ก็เพราะใช้รสชาติของเครื่องดื่มกลบได้ โดยเฉพาะตัวยาที่ชื่อว่า GSB ที่มีชื่อเรียกกันไม่เป็นทางการว่า “น้ำปลา” เพราะวิธีใช้คือการหยอดหยด แล้วรสชาติต้นฉบับจะเค็ม ๆ ดังนั้นจึงมีการหยอดไปในเครื่องดื่มเหลว ๆ เพื่อให้ผลออกฤทธิ์เร็วเพียงแค่ 5 – 10 นาทีเท่านั้น ยาตัวนี้กลายเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาดมืดกัน เพราะว่า GHB เป็นยาควบคุมที่ใช้เฉพาะการผ่าตัด วางยาสลบ ผลจากการใช้ยา GSB นั้นมีดังนี้
 
1) ยาจะออกฤทธิ์ 5 – 10 นาที โดยผู้รับยาจะมีอาการมึนงง
2) อาจจะมีอาการคลื่นไส้ อยากจะอาเจียน
3) เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก ประคองตัวเองไม่ได้
4) รู้สึกง่วงจนหลับสลบ หรือหมดสติไปเลย
5) หากได้รับยาในปริมาณมากเกินไปมีโอกาสระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
โดยทางแพทย์รามา เคยนำเสนอวิธีการดูแลตัวเองผ่านรายการพบหมอรามา เมื่อปี พ.ศ. 2559 ไว้ดังนี้
1) เพื่อป้องกันการถูกหยอดยา จะต้องหลีกเลี่ยงการรับเครื่องดื่ม (โดยเฉพาะแอลกอฮอล์) จากคนแปลกหน้า
2) ไม่ดื่มเครื่องดื่มหมดแก้วทีเดียวในรวดเดียว เพื่อจะได้สังเกตความผิดปกติของตัวเองด้วย
3) ควรรู้ตัวว่าตัวเองดื่มเท่าไหร่ถึงจะเมา จะได้ป้องกันตัวเองให้มีสติได้ถูก
4) ไม่ไปเที่ยวสถานบันเทิงคนเดียว ควรมีเพื่อนไปด้วย
5) ไม่ควรละสายตาจากแก้วของตัวเอง 
 
ด้วยรูปแบบของการใช้ยาที่สามารถใช้แบบน้ำ หรือ แบบผงก็ได้ จึงยังคงมีข่าวการใช้ยาป้ายที่ผิวหนังหรือผสมกับเครื่องดื่มให้กับเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับยาอีกตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาสลบ ที่ชื่อว่า “เคตามีน (Ketamin)” ซึ่งให้ความรู้สึกง่วงซึม มึนงง เคลิบเคลิ้ม และถูกขึ้นบัญชีเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2
 
โดน GSB บ้วนใส่แก้วได้ไหม?
ภาพการสังเคราะห์ยาในห้องปฏิบัติการ
ภาพการสังเคราะห์ยาในห้องปฏิบัติการ
 
     เทคนิคการอมไว้ในปากแล้วเอาไปบ้วนใส่แก้วอื่นนั้น ใช้ไม่ได้กับ GSB เพราะตัวยาที่หยอดนั้นมีโอกาสซึมเข้าทางเซลล์เยื่อบุผิวในช่องปากแล้ว เนื่องจากยา GSB ที่มีปริมาณเข้มข้นมากก็มีฤทธิ์สูง ออกฤทธิ์เร็ว ไม่เหมือนกับแอลกอฮอล์ที่ยังสามารถบ้วนทิ้งได้อย่างไม่เมา
 
     นอกจากการหยอดแล้ว ยังเคยมีข่าวพบการฉีดเข้าไปที่ขวดเครื่องดื่มที่เป็นพลาสติกสามารถใช้เข็มฉีดยาเจาะทะลุขวดได้ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้าให้มาไม่ว่าจะเป็นน้ำจากขวดที่ปิดปากสนิทแล้วก็ตามก็มีโอกาสพลาดจากการโดนยาได้เหมือนกัน
 
 

 
 READ MORE  : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลการเดินทาง

เส้นทางการเดินทาง *

ในประเทศ
ต่างประเทศ

รูปแบบการเดินทาง *

รายเที่ยว
รายปี

จำนวนคนเดินทางทริปนี้

ประเภทการเดินทาง *

ออกจากจังหวัด *

ไปยังจังหวัด *

วันเดินทางไป *

วันเดินทางกลับ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล