03/05/62

|

อ่านแล้ว 3,916 ครั้ง

รถหลุดจำนำ ราคาถูกซื้อต่อมีความผิดไหม

รถหลุดจำนำ ราคาถูกๆ ซื้อมาใช้ต่อจากเขา จะมีความผิดตามกฏหมายหรือไม่

     หลายต่อหลายครั้งที่เราเคยได้ยินข่าวหลอกขายรถหลุดจำนำแล้วไฟแนนซ์ตามมายึด หากใครเคยเปิดเจอคนขายรถมือสอง ขึ้นโพสต์ว่า “รถหลุดจำนำ” ราคาถูกกว่ารถเต็นท์ แต่ก็กลัวว่าซื้อมาแล้วจะเป็นรถไม่ถูกกฎหมาย กลัวว่าขับอยู่ดี ๆ แล้วจะถูกตำรวจจับ รถแบบนี้ถูกกฎหมายไหมนะ วันนี้พี่หมีมีคำตอบมาฝากกันครับ
 

รถหลุดจำนำ คือรถแบบไหน?

รถหลุดจำนำ ราคาถูกซื้อต่อมีความผิดไหม
 
 
      รถหลุดจำนำมีตั้งแต่รถราคากลาง ๆ จนถึงรถราคาสูงอย่างรถสปอร์ต เหตุผลที่เจ้าของรถเอามาขายแบบจำนำ (คือจอดแล้วก็รับเงินไป) อาจจะมีหรือไม่มีสัญญากระดาษอย่างเป็นทางการ และบางคนก็ยังผ่อนไม่หมดด้วย ส่วนใหญ่จะราคาถูกกว่าราคาตามเต็นท์รถยนต์มือสองที่มีทะเบียนเล่มอย่างถูกกฎหมาย เพราะว่าทางเจ้าของรถต้องการเงินด่วนโอนไวจึงยอมเสียค่าส่วนต่างนี้ให้กับนายหน้า รถหลุดจำนำประเภทนี้มีทั้งแบบถูกกฎหมายและผิดกฎหมายครับ
 
ทำไมเจ้าของรถถึงเอารถมาปล่อยขายในราคาถูก
     เนื่องจากบางท่านมีความประสงค์จะต้องใช้เงินสดด่วน ๆ ก็อยากจะเอารถไปเปลี่ยนเป็นเงินสดมา แต่หากเอาเข้าสินเชื่อลิสซิ่งจะใช้เวลาหลายวัน และลิสซิ่งก็ไม่รับรถที่ยังผ่อนไม่หมดด้วย ดังนั้นจึงกลายเป็นทางเลือกสีเทาให้กับเจ้าของรถที่ต้องการเงินด่วนครับ เหตุผลส่วนใหญ่ที่เจ้าของรถปล่อยรถในราคาถูก มีดังนี้
 
1) ไม่อยากทำสัญญากับบริษัทลิสซิ่ง เพราะใช้เอกสารเยอะ
2) ขาดความรู้ว่าถ้าเอารถยนต์ที่ยังผ่อนไฟแนนซ์ไม่หมดไปจำนำต่อกับบุคคลอื่น แล้วไม่ผ่อนต่อจะทำให้เสียประวัติชำระหนี้
3) รถยังมีสัญญาผ่อนกับธนาคารอยู่หลายปี และเจ้าของอยากได้เงินด่วน
 
รถหลุดจำนำเอาออกมาขับได้หรือเปล่า?
รถหลุดจำนำเอาออกมาขับบนถนนทั่วไปได้ครับ ตราบใดที่ยังมีทะเบียน และ ต่ออายุ พ.ร.บ. อย่างถูกต้องได้ แต่ปัญหาก็คือ ผู้ที่ไปซื้อรถหลุดจำนำมาแล้วไม่มีทะเบียนเล่ม เมื่อ พ.ร.บ. หมดอายุก็จะไปต่อภาษีไม่ได้ ก็เหมือนกับว่าซื้อมาใช้ได้ปีเดียว แล้วหากเอาออกไปขับขณะ พ.ร.บ.หน้ารถหมดอายุก็จะถูกจับปรับได้ หรือหากไปทำป้าย พ.ร.บ. ปลอมมาติด ก็จะยิ่งมีความผิดหนักไปกันใหญ่ ส่วนใหญ่จึงค่อยข้างไม่ถูกกฎหมายครับ
 
สรุปแล้ว..รถหลุดจำนำผิดกฎหมายไหม?
รถหลุดจำนำที่ถูกกฎหมาย ก็เหมือนกับบ้านหลุดจำนำแล้วถูกเอามาประมูลขายทอดตลาด จะถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อเจ้าของผ่อนหมดแล้ว ไม่ได้เป็นรถที่มีชื่ออยู่กับธนาคาร และมีการส่งมอบเล่มทะเบียนรถที่ถูกต้อง แต่จะเป็นรถที่ผิดกฎหมายหากเข้าเงื่อนไขดังนี้ครับ
 
1) เป็นรถที่ขโมยมาและมีการปลอมทะเบียนเล่ม, ปลอม พ.ร.บ. ซึ่งผู้ซื้อจะมีความผิดฐานซื้อของโจร โทษก็หนักเหมือนกันครับ
2) เป็นรถที่ยังผ่อนกับไฟแนนซ์ไม่หมด เจ้าของที่ถูกต้องคือธนาคารก็ไม่สามารถโอนสิทธิ์ใด ๆ ให้ผู้ซื้อได้
3) เป็นรถที่ทะเบียนเล่มยังอยู่กับเจ้าของรถ เอาไปต่อทะเบียนไม่ได้
 
     ดังนั้นทางออกของการขายรถในราคาถูกและถูกกฎหมาย ก็คือขายให้กับญาติพี่น้อง แล้วโอนทะเบียนเล่มกันอย่างถูกต้องที่ขนส่งจังหวัดที่รถอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีทั้งวิธีที่เรียกว่าโอนลอย โดยทำหนังสือจะซื้อจะขายกันไว้ก่อนแล้วค่อยไปแจ้งชื่อเปลี่ยนผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยดูว่าต้องไปทำเรื่องที่ขนส่งจังหวัดใดจากคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบนั้น ๆ
 
     รถหลุดจำนำ แม้แจ้งว่ามีเล่มแต่ราคาถูก แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นรถผิดกฎหมาย ไม่แนะนำให้ซื้อรถหลุดจำนำจากผู้ขายที่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน รถประเภทนี้หากไม่ได้มาจากเจ้าของที่ร้อนเงิน หรืออาจจะเป็นรถยนต์ที่เคยผ่านการก่อเหตุ ผู้ซื้อต้องคิดให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนะครับ
 
 
READ MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล