02/08/60

|

อ่านแล้ว 300 ครั้ง

วิธีเช็ครถเมื่อผู้หญิงขับรถคนเดียว

6 วิธีเช็ครถที่สาวๆควรหัดไว้เมื่อใช้รถคนเดียว

 
    รถเสียกลางทาง ลมยางอ่อน ไฟสัญญาณดับ สารพัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับรถได้แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย ยิ่งในเวลาที่เดินทางคนเดียวยิ่งแย่ใหญ่ แต่กรณีแบบนี้ป้องกันไว้ย่อมดีกว่าแก้ อ่านกันด่วนเลยครับ จะได้รู้ว่าควรเช็ครถยังไงบ้างไม่ให้ไปเสียกลางทาง
 
 
1.ที่ปัดน้ำฝน-น้ำยาล้างกระจก 
  เพราะกระจกคือส่วนที่สำคัญต่อทัศนวิสัยในการขับขี่เป็นอย่างมาก นอกจากควรจะดูแลกระจกของคุณให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาแล้ว ในช่วงที่ฝนตกหนักขนาดนี้สาวๆ ต้องสังเกตว่าที่ปัดน้ำฝนทำงานปกติไหม ยางของที่ปัดน้ำฝนปัดได้สะอาดดีหรือไม่ ถ้าเริ่มเช็ดกระจกได้ไม่สะอาด ก็ควรเปลี่ยนยางที่ปัดน้ำฝนทันทีที่มีโอกาสครับ
 
 
  ส่วนน้ำยาล้างกระจก (washer fluid) ต้องหมั่นเติมเป็นประจำซึ่งเป็นส่วนๆ ที่หลายๆคนจะมองข้าม แต่มีประโยชน์มากเลยล่ะครับ เพราะถ้ามีคราบสกปรกจากฝุ่นละออง ขี้นก หรือโคลนมาติด ลำพังแค่ที่เช็คกระจกไม่สามารถทำให้สะอาดได้แน่นอน   
 
ส่วนน้ำยาล้างกระจก
 
 
2. เช็คลมยาง-เติมลมยาง
    เหตุผล 2 ข้อ ที่สาวๆ ควรจะเช็คยางลมคือ 1. ลมยางที่อ่อนหรือแข็งเกินไปอันตรายต่อการขับขี่ 2. การขับขี่ด้วยลมยางที่อ่อนหรือแข็งเกินไป จะเพิ่มค่าใช้จ่ายเรื่องรถ เพราะลมยางที่แข็งจะทำให้ช่วงล่างของรถทำงานหนักกว่าปกติ ลมยางที่อ่อนเกินไปจะทำให้ยางเสื่อมและเสี่ยงต่อการระเบิดหากขอบล้อสีกับถนนเป็นเวลานาน น่ากลัวใช่ไหมละครับ พี่หมีถึงแนะนำว่าสาวๆ ควรจะเช็คลมยางให้เป็นนิสัย จะด้วยเกจ์เช็คลมยางอันเล็กๆ แล้วพกติดรถไว้เช็คเรื่อยๆ หรือเช็คตรงจุดเติมลมยางตามปั๊มน้ำมันก็ได้ครับ 
   ทั้งที่ลมยางที่เหมาะสม ก็จะแตกต่างกันไปตามรถในแต่ละรุ่นครับ  เช่นรถเก๋งขนาดเล็ก ความดันลมยางที่เหมาะสมอยู่ที่  25 - 30 PSI รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่  ประมาณ 30 - 35 PSI และ รถกระบะ ความดันลมยางไม่ควรเกิน 65 PSI เป็นต้น
 
 
 

ลมยาง

 
 
3. แบตเตอรี่ 
    คุณอาจจะได้ยินบ่อยๆ ว่าต้องเช็คแบตเตอรี่ แต่ไม่รู้ว่าสำคัญยังไง พี่หมีบอกเลยว่าแบตเตอรี่นี่ละครับชี้เป็นชี้ตายรถคุณได้  จะสตาร์ทติดหรือไม่ ไฟสัญญาณต่างๆ จะทำงานได้ไหม เพราะเป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้ระบบไฟทั้งหมดบนรถ เราจึงควรดูแลด้วยการเติมน้ำกลั่นอย่างสม่ำเสมอในกรณีที่เป็นแบตเตอรี่แบบน้ำ และถ้าหากเมื่อไหร่รู้สึกว่ารถสตาร์ทยากขึ้นทั้งที่ใช้อยู่ทุกวัน ควรเอารถไปเข้าอู่เพื่อเช็คแบตทันทีนะครับ
 
 
4. เปิดฝากระโปรงเช็คน้ำมันเครื่อง
   ถึงจะฟังดูยาก แต่บอกเลยครับว่าสาวๆ แบบคุณก็ทำได้เชื่อพี่หมีเถอะ! แค่เปิดฝากระโปรงรถค้างไว้ ถือทิชชู่หรือผ้าสะอาดเช็คก้านเหล็กไว้บนมือ ดึงก้านเหล็กวัดระดับน้ำมันขึ้นมาเช็ดทำความสะอาด แล้วเสียบก้านเหล็กลงไปใหม่ จากนั้นจึงดึงขึ้นมาดูอีกที ตัวอักษร F กับขีดที่ปรากฎจะบอกระดับที่เหมาะสม น้ำมันเครื่องของคุณจะต้องอยู่พอดีหรือต่ำกว่า F เล็กน้อยครับ
 
 

เช็คหม้อน้ำป้องกันเครื่องร้อน

 
 
5. เช็คหม้อน้ำป้องกันเครื่องร้อน
     หม้อน้ำเป็นระบบระบายความร้อนที่จำเป็นกับรถ ต้องหมั่นตรวจสอบระดับน้ำอยู่เสมอ ถ้าลดต่ำผิดปกติให้สงสัยว่าอาจจะเกิดการรั่วซึม ควรจะขับไปให้ช่างช่วยดูครับ นอกจากนี้คุณสามารถเติมน้ำในหม้อพักได้เท่าที่เห็นว่าเหมาะสม แต่น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำกลั่น หรือผสมน้ำยาหล่อเย็น ไม่ควรใช้น้ำประปาตลอดเพราะจะเกิดตะกรันได้ นอกจากนี้ จำไว้ว่าต้องปิดฝาให้สนิทและอย่าเปิดฝาหม้อน้ำตอนที่ยังร้อนเด็ดขาด ไม่งั้นละก็แย่แน่ อย่าหาว่าพี่หมีไม่เตือนนะคร้าบบ
 
เช็คหม้อน้ำป้องกันเครื่องร้อน
 
6. ใส่ใจกับความผิดปกติ
    หมั่นสังเกตว่ารถของเราทำงานปกติหรือไม่ สัญญาณไฟติดสว่างดีครบทุกดวงหรือเปล่า สังเกตจากหน้าปัดรถว่ามีสัญลักษณ์ไหนบ้างที่ผิดไปจากปกติ รวมถึงเมื่อมีเสียงแปลกๆ ดังเวลาขับรถ ก็ควรจะสังเกตว่าเสียงเป็นยังไง ดังมาจากส่วนไหนของรถ แล้วดังตอนที่รถวิ่งหรือดังตลอดเวลา เ เมื่อไปพบช่างจะได้อธิบายได้ตรงกับความจริง ซึ่งช่างก็จะช่วยซ่อมได้ตรงจุดขึ้นนั่นเองครับ
        
    เป็นยังไงกันบ้างครับสาวๆ พอจะจับต้นชนปลายถูกกันบ้างไหมครับ ค่อยๆ ฝึกดูไปก็จะเชี่ยวชาญขึ้นเองนะครับ พี่หมีเป็นกำลังใจให้! และถ้าจะให้ดี สาวๆที่ใช้รถคนเดียวควรจะมีประกันที่เหมาะสม อย่างประกันรถยนต์ Motor for lady ตัวนี้เลย คุ้มครองอุ่นใจ แถมราคาสบายด้วย ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ Call Center 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงเลยครับ
     
    
ขอบคุณข้อมูลจาก
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล