15/12/64

|

อ่านแล้ว 1,011 ครั้ง

เปลี่ยนเกียร์DมาN ทำให้เกียร์พังจริงไหม

     ปัญหาของรถยนต์นั่นเรียกได้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของรถยนต์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคล  โดยอย่างยิ่งปัญหาจากระบบเกียร์รถยนต์ หลายคนมักมีข้อสงสัยว่าหากขับรถไปเจอการจราจรติดขัด หรือติดไฟแดงเป็นระยะเวลนาน การเปลี่ยนเกียร์ D มา N บ่อยครั้งแทนการเหยียบเบรกค้าง จะทำให้เกียร์รถยนต์นั้นพังจริงไหม วันนี้ พี่หมี TQM มีคำตอบมาฝากครับ

เปลี่ยนเกียร์DมาN ทำให้เกียร์พังจริงไหม

เปลี่ยนเกียร์ D มา N จะทำให้เกียร์พังเร็วจริงหรือไม่

     เกียร์รถยนต์ออโต้ทางผู้ผลิตได้ทำการทดสอบชิ้นส่วนต่างเป็นระยะเวลานานหลายแสนครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า เกียร์รถยนต์ จะไม่มีปัญหาเมื่อใช้งานจริง ดังนั้นการที่สลับ เกียร์จาก เกียร์ D มาเป็น เกียร์ N บ่อยๆนั้น จะไม่ทำให้เกียร์ออโต้นั้นพังได้ 

     กรณีที่ค้างเกียร์ D แล้วเหยียบเบรกไว้ คอมเพลสเซอร์แอร์จะตัดต่อการทำงานรอบเครื่องยนต์จะสวิงไปมาจากการชดเชยรอบเดินเบา ส่งผลให้รถมีกำลังแรงบิดมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล จังหวะนี้ถ้าเหยียบเบรกที่น้ำหนักไม่มากพอ รถมีสิทธิที่จะไหลไปชนรถคันข้างหน้าได้ กรณีนี้ เพื่อความปลอดภัยถ้าเจอรถติดไฟแดงเราสามารถเลื่อนจากเกียร์ D มาเป็น เกียร์ N และสลับกลับมา เป็น เกียร์ D ได้ตลอดเวลา ขณะที่อยู่ตำแหน่งเกียร์ N ดึงเบรกมือค้างไว้ เพื่อความปลอดภัย แถมยังช่วยประหยัดน้ำมันได้อีกด้วย (ข้อมูล : auto.mthai)

เปลี่ยนเกียร์DมาN ทำให้เกียร์พังจริงไหม

วิธีดูแลระบบเกียร์ออโต้

  • เหยียบเบรกก่อนเปลี่ยนเกียร์เสมอ เพื่อให้ระบบส่งกำลังไม่เกิดการกระชาก
  • เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์เป็นประจำ โดยทำการถ่ายเมื่อระยะ 30,000-40,000 กิโลเมตร
  • ไม่ขับลากรอบ เพราะจะทำให้เกียร์รถเสื่อมได้ง่าย
  • ไม่คิกดาวน์บ่อย จะทำให้เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์

     เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับข้อมูลที่พี่หมีนำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนเกียร์ D มา N บ่อยๆ นั้นไม่สามารถทำให้ระบบเกียร์รถยนต์นั้นพังลงได้ แต่การใช้งานอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสมกับเกียร์นั้นจะทำให้เกียร์รถยนต์นั้นพังง่ายมากกว่า เพิ่มความอุ่นใจในการดูแลรถคุณด้วย ประกันรถยนต์  โดยที่ TQM สามารถให้คุณ เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าตรงใจคุณ คลิกเลยที่นี่  หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง