07/03/68

|

อ่านแล้ว 123 ครั้ง

มะเร็งรังไข่ อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

     มะเร็งรังไข่ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง โดยเกิดขึ้นจากเซลล์ที่ผิดปกติในรังไข่และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยไม่สามารถควบคุมได้ โรคนี้เป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก ทำให้หลายคนตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว วันนี้พี่หมี TQM ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง และเช็คสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่กันครับ

มะเร็งรังไข่ อาการแบบไหนที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่

     แม้ว่ามะเร็งรังไข่ในผู้หญิงจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนี้

    • พันธุกรรม : หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็จะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
    • การมีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้า : ผู้ที่มีรอบเดือนเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี) หรือหมดประจำเดือนช้า (หลังอายุ 50 ปี) มีความเสี่ยงสูงขึ้น
    • ประวัติการตั้งครรภ์ : ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร อาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้น
    • ฮอร์โมน : การใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานาน อาจเพิ่มโอกาสเกิดโรค
    • โรคอ้วน : ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนเกินเกณฑ์ BMI สามารถเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่

 

สัญญาณเตือน อาการของมะเร็งรังไข่ที่ผู้หญิงต้องระวัง

     หลายคนอาจสงสัยว่า มะเร็งรังไข่อาการเป็นอย่างไร และสามารถสังเกตสัญญาณเตือนได้อย่างไร แม้ว่ามะเร็งรังไข่ในระยะแรกมักไม่มีอาการชัดเจน แต่มีอาการบางอย่างที่ผู้หญิงควรสังเกต ดังนี้

 

อาการเบื้องต้นของมะเร็งรังไข่

    • ท้องอืด แน่นท้อง หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณท้อง
    • ปวดท้องน้อยเป็นระยะ
    • เบื่ออาหารหรือรู้สึกอิ่มเร็วผิดปกติ
    • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

 

อาการระยะลุกลามของมะเร็งรังไข่

    • คลำพบก้อนเนื้อในบริเวณท้องน้อย
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
    • ท้องบวมโตขยายใหญ่ขึ้น
    • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ปวดหลังหรือปวดบริเวณเชิงกราน

สัญญาณเตือน อาการของมะเร็งรังไข่ที่ควรระวัง

วิธีการรักษามะเร็งรังไข่ในปัจจุบัน

     วิธีการรักษามะเร็งรังไข่จะขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสุขภาพของผู้ป่วย โดยแพทย์อาจเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่

    • การผ่าตัด : เป็นวิธีการรักษาหลัก โดยแพทย์อาจต้องตัดรังไข่ มดลูก หรือเนื้อเยื่อรอบข้างที่ได้รับผลกระทบ แต่หากเชื้อมะเร็งกระจายตัวไปมาก หลังจากที่ผ่าตัดหลังไข่ ทางแพทย์อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย
    • เคมีบำบัด : ใช้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่หลังการผ่าตัด
    • การฉายรังสี : ใช้รังสีเอกซ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง (ใช้ในบางกรณี)
    • การรักษาด้วยยามุ่งเป้า : เป็นวิธีใหม่ที่ใช้ยาเฉพาะเจาะจงเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของมะเร็ง

 

วิธีการป้องกันมะเร็งรังไข่ในผู้หญิง

     ถึงแม้ว่า มะเร็งรังไข่ในผู้หญิง จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่สาวๆ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดของโรคนี้ได้ด้วยวิธีเหล่านี้

    • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ : การตรวจภายในและอัลตราซาวนด์สามารถช่วยตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว
    • ควบคุมน้ำหนัก : หลีกเลี่ยงภาวะอ้วนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : เน้นผัก ผลไม้ และธัญพืช ลดอาหารไขมันสูง
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    • หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ ควรปรึกษาแพทย์ : เพื่อประเมินความเสี่ยงและอาจพิจารณาการตรวจทางพันธุกรรม

วิธีการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งรังไข่

     มะเร็งรังไข่เป็นโรคร้ายที่อาจไม่มีสัญญาณเตือนชัดเจนในระยะแรก ดังนั้น สาวๆ ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและการรักษาที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงได้

 

     เพิ่มความอุ่นใจให้สาวๆ ด้วย ประกันโรคมะเร็งแคนเซอร์แคร์พลัส คุ้มครองมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ผ่อนสบาย 0% ไม่ต้องสำรองจ่าย พร้อมรับเงินช่วยเหลือรายเดือน สนใจคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ หรือกรอกข้อมูลที่กล่องด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันตรงใจ หรือทักแชทหาพี่หมี TQM ได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านทาง Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ประกันมะเร็ง TQM

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง