22/07/68

|

อ่านแล้ว 3,865 ครั้ง

พายุวิภา คืออะไร เช็กเส้นทางพายุและพื้นที่เสี่ยงภัยล่าสุด

     พายุวิภา กลายเป็นชื่อที่หลายคนเริ่มได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนภัยว่าพายุลูกนี้มีโอกาสส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน หรือดินถล่ม วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปทำความเข้าใจว่า พายุวิภาคืออะไร มีที่มาอย่างไร พร้อมเช็กเส้นทางพายุวิภา และพื้นที่เสี่ยงภัยล่าสุดที่ควรเฝ้าระวัง กันครับ

พายุวิภา คืออะไร

พายุวิภา คืออะไร 

     พายุวิภา (WIPHA) เป็นชื่อที่ประเทศไทยตั้งขึ้น โดยเป็นชื่อผู้หญิงที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต "วิภา" หมายถึง แสงสว่าง ความงาม หรือ ความรุ่งเรือง มีการนำชื่อนี้มาใช้กับพายุ 5 ครั้งแล้ว (พ.ศ. 2544, 2550, 2556, 2562 และ 2568) พายุวิภาครั้งล่าสุดนี้เป็นลูกที่ 6 ของฤดูพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

เส้นทางพายุวิภาและประเทศที่ได้รับผลกระทบ

เช็กเส้นทางพายุวิภาและประเทศที่ได้รับผลกระทบ

     พายุวิภาเริ่มมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ (เกาะลูซอน) ในวันที่ 18 ก.ค. 2568  จากนั้นเคลื่อนตัวไปทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 19–20 ก.ค. 2568 มีศูนย์กลางอยู่บริเวณเหนือเกาะไหหลำ พายุขึ้นฝั่งที่จีนมณฑลกวางตุ้ง (เมืองไถซาน) และเคลื่อนผ่านฮ่องกง–มาเก๊า ในวันที่ 20 ก.ค. 2568 หลังจากนั้นวันที่ 21 ก.ค. 2568 พายุเคลื่อนต่อไปยังเวียดนามตอนบน (กว๋างนิงห์–นิงบิ่ญ) และล่าสุดพายุวิภาอ่อนกำลังลงกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนเข้าสู่สปป.ลาว และอิทธิพลกระทบไทยช่วง 22–24 ก.ค. 2568

 

จังหวัดเฝ้าระวังได้รับผลกระทบจากพายุวิภา

     แม้พายุวิภา จะไม่เคลื่อนเข้าสู่ไทยโดยตรง แต่เมื่อมันอ่อนกำลังลงหลังขึ้นฝั่ง จะก่อให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ จะทำให้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยได้รับผลกระทบฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ในช่วงระหว่างวันที่ 22-24 ก.ค. 2568 โดยจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากพายุวิภา มีดังนี้

 

วันที่ 22 กรกฎาคม 2568

    • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย  ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
    • ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
    • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
    • ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

 

วันที่ 23 กรกฎาคม 2568 

    • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร นครราชสีมา และอุบลราชธานี
    • ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี 
    • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด
    • ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

 

วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 

    • ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย  ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
    • ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
    • ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
    • ภาคใต้ : จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 

ข้อมูลจาก : อุตุนิยมวิทยา

พื้นที่เฝ้าระวังได้รับผลกระทบจากพายุวิภา

     ถึงแม้ว่าพายุวิภาจะอ่อนกำลังลงแต่ก็ส่งผลทำให้ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยได้รับผลกระทบฝนตกหนัก สิ่งสำคัญคือการเฝ้าระวังและเตรียมรับมือให้พร้อม ติดตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการขับรถผ่านน้ำท่วม และหลีกเลี่ยงเดินทางในพื้นที่เสี่ยงพายุ 

 

     นอกจากนี้แล้วการมีประกันภัยที่ช่วยคุ้มครองเรื่องน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็น ประกันบ้าน ที่คุ้มครองน้ำท่วม ภัยลมพายุ หรือ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองรถจมน้ำ ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา หรือสนใจกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันภัย หรือหากต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัยกับ TQM สามารถแชทกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง