07/11/62

|

อ่านแล้ว 118 ครั้ง

ดูแลรถกระบะให้ใหม่เสมอ

ทริคดูแลรถกระบะให้เหมือนใหม่อยู่เสมอ

     ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถกระบะถือเป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากบรรทุกของได้เยอะ อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่แพงมาก ที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย ที่มักเกิดเหตุฝนตกน้ำท่วมบ่อย รวมถึงถนนหนทางที่ค่อนข้างยากต่อการขับขี่ กระบะจึงเป็นรถยนต์ที่ตอบโจทย์อย่างมาก นอกจากนี้รถกระบะยังมีคุณสมบัติเด่นที่เหมาะใช้ในประเทศไทย ดังนี้
 
- รถกระบะในประเทศไทยเครื่องยนต์เป็นดีเซลทั้งหมดจึงทำให้ประหยัดน้ำมัน
- รถกระบะมีสมรรถนะที่ดีเนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลมีวิทยาการดีขึ้น อีกทั้งช่วงล่างของกระบะรุ่นปัจจุบันไม่แข็งกระด่างดีดเป็นม้า จึงทำให้ขับสบายมาก
- สามารถใช้ขับทางไกลได้ดีและส่วนท้ายของกระบะยังสามารถใช้บรรทุกของได้เยอะอีกด้วย
- รถกระบะมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากมีขนาดใหญ่ ทำให้ทรงตัวได้ดี หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จะเสียหายน้อยกว่า
 
เมื่อใช้รถแทบทุกวันสิ่งที่ตามมาคือคราบสกปรก และหากไม่หมั่นตรวจเช็คเครื่องยนต์ ยังส่งผลให้รถเสื่อมสภาพการใช้งานเร็วขึ้น! เพื่อให้รถยนต์คู่ใจสวยเหมือนใหม่ และใช้งานได้ยาวนาน พี่หมีมีทริคดูแลรถกระบะ มาแชร์ครับ
 
การดูแลรถกระบะแบบไหน ให้ดูใหม่เสมอ
 
ทำความสะอาดรถสม่ำเสมอ
เพื่อให้รถกระบะเงางามเหมือนใหม่ ควรหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดคราบสกปรกที่ฝังแน่น และยากต่อการทำความสะอาด โดยสามารถทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำ ตามด้วยแวกซ์ และเช็คถูให้แห้งด้วยผ้าสะอาด รวมถึงใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดสิ่งสกปรกภายในรถให้สะอาด
ตรวจเช็คของเหลวในรถยนต์
ตรวจเช็คของเหลวภายในรถกระบะ ที่ทำหน้าที่ล่อเครื่องยนต์รักษาอุณหภูมิ และควรเปลี่ยนของเหลวแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม
เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศ จะได้ไม่เกิดปัญหาอุดตันตามมาภายหลัง
ตรวจเช็คเครื่องยนต์
เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ควรหมั่นตรวจเช็คเครื่องยนต์ ไดชาร์จ และแบตเตอรี่ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
ตรวจเช็คลมยาง
เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ใช้รถเป็นประจำไม่ควรละเลยเป็นอันขาด โดยควรเติมลมยางให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะหากลมยางอ่อนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงหากบรรทุกของหนักเยอะๆ ก็มีส่วนทำให้ศูนย์ล้อมีอาการแปลกๆ ส่งผลให้ยางเสื่อมสภาพเร็วเช่นกัน
ตรวจเช็คระบบไฟ
ไฟรถถือเป็นสิ่งที่ควรตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เพราะหากระบบไฟมีปัญหาอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ร้ายแรงได้
 
รถกระบะ ใช้งานหนักต้องดูแลใหเหมือนใหม่เสมอ พร้อมใช้งาน
 
และเพื่อให้รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน พี่หมีมีวิธีดูแลรถที่ถูกต้องมาบอก ดังนี้
 
- จำกัดความเร็วให้อยู่ต่ำกว่า 88 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือทำความเร็วตามที่คำแนะนำในรถแต่ละรุ่น
- หลีกเลี่ยงการจอดรถในที่ที่มีของมากระทบกับรถทำให้เกิดรอย
- ไม่ควรเร่งเครื่องเวลาสตาร์ทรถควรรอประมาณ 10-20 นาที
- ไม่ขับรถเร็วจนเกินไปโดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อน หรือเย็นจัด
- ไม่ควรหยุดรถแบบกะทันหันเพราะจะทำให้ล้อสึกเร็ว
- ไม่ควรหมุนพวงมาลัยไปทิศทางใดจนสุด
- ในกรณีที่รถติดหลุมโคลนขนาดใหญ่ให้โทรเรียกช่างที่มีความเชี่ยวมาช่วยยก
- ไม่ควรจอดรถทิ้งไว้เฉยๆ นานเกินไป เพราะทำให้การล่อลื่นภายในแห้ง และเมื่อสตาร์ทรถทำให้เครื่องยนต์สึกกร่อนง่าย รวมถึงทำให้แบตเสื่อมอีกด้วย
- ห้ามจอดรถจากแดด ควรใช้ผ้าคลุมรถเพื่อป้องปกให้สีดูใหม่เสมอ
- ไม่ควรบรรทุกของหนักเกิน 1,100 กิโลกรัม
- เคลือบแวกซ์เพื่อถนอมสีรถยนต์และป้องกันรอยขูดขีด
- ระหว่างที่เติมยางรถให้สังเกตว่ามีความชื้นที่บริเวณตัวปั๊มลมหรือไม่ เพราะหากมีความชื้นเข้าไปจะทำให้ล้อเสียหายได้
- ตรวจเช็คระบบเบรกทุก ๆ 3 ปี
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้คราบตะกอนฝังอยู่ภายใน
- ตรวจเช็คแบตเตอรี่เป็นประจำ
- เมื่อขับรถไปได้ 48,000 - 64,000 กิโลเมตรควรเปลี่ยนหัวเทียน
- เติมน้ำสะอาดในหม้อน้ำรถยนต์เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปสะสมข้างใน
 
     และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาดคือ การทำประกันภัยรถยนต์เพื่อคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน โดยที่ TQM มีประกันภัยรถกระบะที่พร้อมให้การคุ้มครองอย่างครอบคลุม และคุ้มครองสิ่งของที่บรรทุก เบี้ยเริ่มต้นเพียง 4 บาท ผ่อน 0% ได้กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ สอบถามรายะละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
 
READ MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล